ศักยภาพทุนชุมชนในการแก้ไขปัญหาเพื่อพัฒนาหมู่บ้านล้าหลัง อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา

ศักยภาพทุนชุมชนในการแก้ไขปัญหาเพื่อพัฒนาหมู่บ้านล้าหลัง อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • สกุล วงษ์กาฬสินธุ์

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2018.38

คำสำคัญ:

ศักยภาพทุนชุมชน, พัฒนาหมู่บ้านล้าหลัง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิเคราะห์บริบท สถานการณ์และระดับศักยภาพทุนชุมชนของหมู่บ้านล้าหลัง 2) ค้นหาปัญหาและอุปสรรคในการนำทุนชุมชนมาแก้ไขปัญหาการพัฒนาหมู่บ้านล้าหลัง และ 3) กำหนดยุทธศาสตร์การเสริมสร้างศักยภาพทุนชุมชนในการยกระดับการพัฒนาหมู่บ้านล้าหลังให้มีความเข้มแข็งก้าวหน้า เป็นการศึกษาแบบผสม โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยแบบสัมภาษณ์เชิงลึก และการจัดเวทีจัดทำยุทธศาสตร์การเสริมสร้างศักยภาพทุนชุมชนในการยกระดับการพัฒนาหมู่บ้านล้าหลัง และการวิจัยเชิงปริมาณ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจด้วยแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้แทนครัวเรือน ผู้นำชุมชน คณะกรรมการกลุ่ม องค์กรทุนชุมชน ในหมู่บ้านล้าหลัง อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา 7 หมู่บ้าน จำนวน 330 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเนื้อหา และวิเคราะห์ข้อมูลสถิติค่าเฉลี่ย

            ผลการศึกษา พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{X} =2.12) จำแนกรายประเด็น พบว่า ทุนทางกายภาพและโภคทรัพย์มีศักยภาพอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X} =2.33) และทุนเศรษฐกิจและการเงิน อยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{X} =1.68) ซึ่งภาพรวมของปัญหาและอุปสรรคในการนำทุนชุมชนมาแก้ไขปัญหาการพัฒนาหมู่บ้านล้าหลังอยู่ในปานกลาง ( gif.latex?\bar{X}=2.04) โดยมีคะแนนสูงสุดด้านการบริหารจัดการอยู่ในระดับปานกลาง ( gif.latex?\bar{X}=2.17) และมีคะแนนต่ำสุดด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนอยู่ในระดับปานกลาง ( gif.latex?\bar{X}=1.74) สำหรับ การจัดทำยุทธศาสตร์ เพื่อให้ผ่านเกณฑ์ชี้วัดตามข้อมูล กชช2 ค. ประกอบด้วย ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านสภาพพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ด้านสุขภาวะอนามัยและกีฬา ด้านความรู้และการศึกษา ด้านการมีส่วนร่วมและความเข้มแข็งของชุมชน ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านภัยพิบัติและความเสี่ยงของชุมชน

References

กรมการพัฒนาชุมชน .(2559) . คู่มือการจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน (กชช. 2ค) ปี 2560-2564. กรุงเทพมหานคร : ศิริวัฒนา อินเตอร์พริ้นท์.

กระทรวงมหาดไทย. (2551). แนวทางการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพมหานคร : สุภัชนิญค์พริ้นติ้ง กรุ๊ป.

ขนิฏฐา กาญจนรังษีนนท์. (2542). การสร้างเครือข่ายเพื่อการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร : กลุ่มงานวิจัยและพัฒนา กรมการพัฒนาชุมชน.

จินางค์ กูรโรจนนันต์. (2560). แผนแม่บทยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579). สืบค้นเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2560, จาก http://www.nakhonpathom.go.th/

ชัยวิชญ์ ภณตังกิจ. (2554). การพัฒนาเศรษฐกิจและทุนชุมชนภาคตะวันออก “ชุมชนท้องถิ่นมีระบบเศรษฐกิจและทุนที่มั่นคงสามารถนาไปสู่ชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง. สืบค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2560, จาก http://www.fpo.go.th/

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน. (2558). คู่มือสนับสนุนการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและทุนชุมชน. กรุงเทพมหานคร : สำนักสนับสนุนขบวนองค์กรชุมชน สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน.

สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2543). ทฤษฎีและกลยุทธ์การพัฒนาสังคม (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพมหานคร : สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนครราชสีมา. (2559). รายงานคุณภาพชีวิตประชาชน จังหวัดนครราชสีมา จากข้อมูลพื้นฐานการพัฒนาชนบท ประจำปี 2559. นครราชสีมา : สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนครราชสีมา กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of Psychology Testing (5th ed.). New York : Harper Collins.

Yamane, T. (1976). Statistics : An introductory analysis (2nd ed.). New York : Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-07-08

How to Cite

วงษ์กาฬสินธุ์ ส. (2018). ศักยภาพทุนชุมชนในการแก้ไขปัญหาเพื่อพัฒนาหมู่บ้านล้าหลัง อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา: ศักยภาพทุนชุมชนในการแก้ไขปัญหาเพื่อพัฒนาหมู่บ้านล้าหลัง อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 12((Special), 258–267. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2018.38