การจัดการข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ
DOI:
https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2021.21คำสำคัญ:
การวิจัยเชิงคุณภาพ, การจัดการข้อมูลเชิงคุณภาพ, องค์ประกอบระบบการจัดการข้อมูลเชิงคุณภาพบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงคุณภาพได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางมากขึ้นในชุมชนนักวิจัยไทยในปัจจุบัน จึงมีนักวิจัยจำนวนมากหันมาทำงานการวิจัยเชิงคุณภาพมากขึ้น อย่างไรก็ตามนักวิจัยต้องใช้ข้อมูลที่มีความหลากหลายรูปแบบและหลายประเภทอีกทั้งปริมาณของข้อมูลในแต่ละโครงการจะมีจำนวนมากแตกต่างกันออกไปในแต่ละโครงการ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของโครงการวิจัยรวมทั้งการออกแบบการวิจัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของยุทธศาสตร์การวิจัยที่นักวิจัยเลือกใช้ในการดำเนินการวิจัยที่นำไปสู่การใช้ข้อมูลประเภทต่าง ๆ ที่แตกต่างกันไป ในบางโครงการอาจมีข้อมูลเอกสารจำนวนถึง 1,000 หน้ากระดาษหรือมากกว่า อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติมักพบว่านักวิจัยใหม่ทางด้านการวิจัยเชิงคุณภาพมักจะประสบปัญหาในการจัดการข้อมูลในโครงการวิจัยของตนหลายประการ เช่น ข้อมูลสูญหายไม่สามารถกลับไปหาข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาก่อนหน้านี้ได้ หรือมีความยากลำบากในการนำข้อมูลที่เก็บไว้กลับมาใช้ใหม่ หรือนำกับมาใช้อีกไม่ได้ เป็นต้น ปัญหาเห่านี้นำไปสู่ความล่าช้าในการดำเนินการวิจัย ไม่สามารถนำส่งรายงานวิจัยได้ทันตามเวลาที่กำหนด หรือเกิดข้อผิดพลาดในการวิเคราะห์ข้อมูลและการนำเสนอข้อมูลในโครงการวิจัยของตน นอกจากจะเป็นการเสียเวลาในการดำเนินการไปแล้วยังเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นในการดำเนินโครงการทำให้ต้นทุนในการดำเนินโครงการสูงขึ้นโดยไม่จำเป็น ดังนั้นการจัดการข้อมูลที่เป็นระบบระเบียบและสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการดำเนินโครงการโดยเฉพาะอย่างยิ่งการวิจัยเชิงคุณภาพที่ต้องใช้ข้อมูลที่หลากหลายมีจำนวนข้อมูลที่ต้องใช้เป็นจำนวนมาก บทความนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะเสนอแนวคิดเกี่ยวกับการจัดการข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพตลอดจนกระบวนการขั้นตอนที่สำคัญในการจัดการข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ สาระสำคัญของบทความนี้จะประกอบด้วย แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพสำหรับนักวิจัยใหม่ทางด้านการวิจัยเชิงคุณภาพหรือผู้สนใจนำไปพิจารณาประกอบการดำเนินการโครงการวิจัยเชิงคุณภาพของตนตามความเหมาะสมต่อไป
References
Creswell, J. W. (1999). Qualitative Inquiry and Research Design: Choosing Among Five Traditions. Thousand Oaks: SAGE Publications, Inc.
Creswell, J. W. (2013). Qualitative Inquiry and Research Design: Choosing Among Five Traditions. Thousand Oaks: SAGE Publications, Inc.
ESRC-DFID Example Data Management Plan. (n.d.). Home. Retrieved 25 April 2020, from https:// bit.ly/2y4x5G8
India, S. (2015). How to Manage Qualitative Data: A Step-by-Step Guide. Retrieved 26 April 2020, from https://bit.ly/2W2Q9fY
Joungtrakul, J. (2010). Qualitative Research: A Tool for Knowledge Creation for National Development. Bangkok: Business Law Center International Company Limited. (In Thai)
Joungtrakul, J., Sheehan, B., & Allen, B. M. (2011). Research Ethics in Practice: A Comparative Study of Qualitative Doctoral Dissertations Submitted to Universities in the USA and Thailand 2001-2010. AFBE Journal, 4(3), 437-454.
Joungtrakul, J., Sheehan, B., Choi, B. M., Klinhom, V., & Lakhanapipat, C. (2012). Rigor in Qualitative Research: A Comparative Study of Qualitative Doctoral Dissertations Submitted to Universities in the USA and Thailand 2001-2010. AFBE Journal, 5(2), 113-128.
Korstjens, I., & Moser, A. (2018). Practical guidance to qualitative research. Part 4: Trustworthiness and publishing. European Journal of General Practice, 24(1), 120-124.
Lin, L-C. (2009). Data Management and Security in Qualitative Research. Dimensions of Critical Care Nursing, 28(3), 132-137.
McKenna, McMartin, Terada, Sirivedhin, & Agogino. (2001). A Framework for Interpreting Students’ Perceptions of an Integrated Curriculum. Proceedings of the 2001 American Society for Engineering Education Annual Conference & Exposition. Retrieved 27 April 2020, from https://bit.ly/3eVZZZv
Miles, M. B., & Huberman, A. M. (1994). Qualitative Data Analysis: An Expanded Sourcebook (2nd ed.) Thousand Oaks: SAGE Publicatios, Inc.
Punch, M. (1998). Politics and Ethics in Qualitative Research. In N. K. Denzin & Y. S. Lincoln (Eds.), The Landscape of Qualitative Research: Theories and Issues. Thousand Oaks : Sage.
The Johns Hopkins University, & Fritz, K. (2016). Managing Your Qualitative Data: 5 Easy Steps. Retrieved 26 April 2020, from https://bit.ly/2yK2NbH
University of Leicester (n.d.). Research Data: What is Research Data Management. Retrieved 26 April 2020, from https://bit.ly/3cUExm4
Wilkinson, M., Dumontier, M., Aalbersberg, I., …., & Mons, B. (2016). The FAIR Guiding Principles for scientific data management and stewardship. Sci. Data. 3:160018 doi: 10.1038/sdata. 2016.18 (2016). Retrieved 26 April 2020, from https://go.nature.com/3eW0yT7