รูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ผู้แต่ง

  • สุจินดา เอี่ยมศิริ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • เผ่าพงษ์พัฒน์ บุญกะนันท์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • กิติวัชร ถ้วยงาม มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2021.76

คำสำคัญ:

รูปแบบการบริหารจัดการ, โรงเรียนมาตรฐานสากล, ความเหมาะสมและความเป็นไปได้

บทคัดย่อ

     การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานถือได้ว่าเป็นหน่วยงานหลักที่สำคัญต่อการอำนวยประโยชน์ต่อการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ซึ่งเป็นการนำมาสู่การวิจัยครั้งนี้ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิผลและกระบวนการการบริหารจัดการ 2) สร้างและประเมินรูปแบบการบริหารจัดการ 3) ประเมินผลก่อนและหลังการนำรูปแบบไปใช้ และ 4) ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ ของรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กำหนดกลุ่มตัวอย่างด้วยการเปิดตาราง Krejcie and Morgan เท่ากับ 615 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง และขนาดกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 30 ของประชากร 99 คน คือ 33 คน ใช้การสุ่มอย่างง่าย และกลุ่มเป้าหมาย ใช้วิธีเลือกแบบเจาะจงเป็นกลุ่มโรงเรียนมาตรฐานสากล 17 คน กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ 17 คน โรงเรียนอาสาสมัคร 1 แห่ง โดยใช้แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.994 (ร่าง) รูปแบบการบริหารจัดการ แบบประเมินรูปแบบ 2 ชุด และแบบประเมินการบริหารจัดการ 1 ชุด ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงประจักษ์จากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการรับส่งทางไปรษณีย์ การสัมภาษณ์ และการทดลองใช้รูปแบบ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาเพื่อหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิแคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า โดยรวมของประสิทธิผลและกระบวนการบริหารจัดการ อยู่ในระดับมาก ซึ่งรูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบ 5 ส่วน คือ 1) หลักการและเหตุผล 2) วัตถุประสงค์ 3) โครงสร้างและสาระสำคัญ 4) แนวทางการดำเนินงาน และ 5) เงื่อนไขความสำเร็จ โดยหลังนำรูปแบบไปใช้มีประสิทธิผลอยู่ในระดับมากที่สุด และมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้มากที่สุด เช่นกัน จึงยืนยันได้ว่า รูปแบบที่ได้มีกระบวนการและการปฏิบัติอย่างแท้จริง

References

Buosonte, R. (2008). Qualitative research in education. Bangkok : Kamsamai. (In Thai)

Choochom, O., Sukharom, A., & Intarakamhang, A. (2010). Cause and Effect Index Analysis of Marital Quality in Thai Families (Issue no. 82). Bangkok : Chulalongkorn University Press. (In Thai)

Cronbach, L. J. (1974). Essentials of Psychology Test (3rd ed.). New York : Row Publishers.

Kotwong, S. (2015). Management of Quality System of World-Class Standard Schools under the Office of the Basic Education Commission. Thesis, Master of Education Program in Educational Administration, Graduate School Valai Alongkorn Rajabhat University, Pathumthani. (In Thai)

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Education and Psychology Measurement, 3(30), pp. 607-610.

Nakawech, N. (2011). Development of a Dream School Administration Model. Thesis, Doctoral of Education Program in Educational Administration and Change Leadership, Graduate School, Eastern Asia University, Pathum Thani. (In Thai)

Office of the Basic Education Commission. (2010). Quality management system manual. Bangkok : The Agricultural Cooperative Federation of Thailand. (In Thai)

Office of the Education Council. (2017). National Education Plan 2017-2021. Bangkok : Prigwhan Graphic. (In Thai)

Office of the Education Council. (2018). An offer to an education reform in the second decade (2009-2018). Bangkok : Prigwhan Graphic. (In Thai)

Panich, W. (2002). Practical Knowledge Management (2nd ed.). Bangkok : Tathata Publication. (In Thai)

Sanrattana, W. (2002). Administration, principles, theory, educational issues and Thai Educational Organization analysis (3rd ed.). Bangkok : Pimpisut. (In Thai)

Sergiovanni, T. J. (1991). The principalship: A reflective practice perspective (2nd ed.). Needham Heights, Ma : Allyn and Bacon.

Sompud, K. (2013). Development of an Effective Small Primary School Administration Model under the Office of the Krabi Primary Educational Service Area. Thesis, Doctor of Philosophy Program in Educational Administration, Graduate School, Khon Kaen University, Khon Kaen. (In Thai)

Srisa-ard, B. (2013). Statistical Methods for Research, Volume 1 (5th ed.). Bangkok : Suwiriyasan. (In Thai)

Sudtae, K. (2010). Development of an Academic Administration Model for Small Schools. Thesis, Doctor of Education Program in Rajabhat Mahasarakham University, Mahasarakham. (In Thai)

Upper Secondary Education Bureau. (2010). Guide to the implementation of world-class standard schools. Bangkok : The Agricultural Cooperative Federation of Thailand. (In Thai)

Vehachart, R. (2005). Development of a Whole Quality Management Model of Primary Schools. Thesis, Doctor of Education Program in Educational Administration, Burapha University, Chonburi. (In Thai)

Visatesuwan, P. (2002). Educational Administration Factors Related to the Effectiveness of Providing General Education at Private Schools in Educational Area 1. Thesis, Master of Education Program in Educational Administration, Graduate School, Srinakharinwirot University, Bangkok. (In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-09

How to Cite

เอี่ยมศิริ ส., บุญกะนันท์ เ., & ถ้วยงาม ก. (2021). รูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 15(4), 210–221. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2021.76