ความต้องการจำเป็นและแนวทางการเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ผู้แต่ง

  • ไฉไลศรี เพชรใต้ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2021.77

คำสำคัญ:

เสริมสร้างสมรรถนะ, การจัดการเรียนรู้, ครูประถมศึกษา, ความต้องการจำเป็น

บทคัดย่อ

   

กระบวนการจัดการเรียนรู้ให้ครูผู้สอนมีความพร้อมต่อการปฏิบัติงานสอน อันจะส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนได้ จึงทำให้เกิดการวิจัยโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ ความต้องการจำเป็นและแนวทางการเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดกลุ่มผู้เชี่ยวชาญแบบเจาะจง 9 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการเปิดตาราง Krejcie and Morgan จำนวน 758 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลเลือกแบบเจาะจง 24 คน ใช้แบบประเมินที่มีค่าความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.80-1.00 แบบสอบถาม มีค่าความสอดคล้องระหว่าง 0.60-1.00 และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง มีค่าความสอดคล้องระหว่าง 0.80-1.00 ในการลงพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเองและช่องทางรับส่งทางไปรษณีย์ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมานด้วยการหาค่าความต้องการจำเป็น (PINmodified) และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบและตัวชี้วัดของสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มี 5 องค์ประกอบ 15 ตัวชี้วัด ได้แก่ 1) การวิเคราะห์ผู้เรียน มี 5 ตัวชี้วัด 2) การออกแบบการจัดการเรียนรู้ มี 2 ตัวชี้วัด 3) การจัดการเรียนรูที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มี 4 ตัวชี้วัด 4) การใช้สื่อนวัตกรรมเทคโนโลยี มี 2 ตัวชี้วัด และ 5) การวัดและประเมินผล มี 2 ตัวชี้วัด 2) สภาพปัจจุบันของสมรรถนะการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น พบว่า สมรรถนะการใช้สื่อนวัตกรรมเทคโนโลยีมีความต้องการจำเป็นมากที่สุด รองลงมา คือ สมรรถนะการวิเคราะห์ผู้เรียน 3) แนวทางการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ การอบรม การประชุมเชิงปฏิบัติการ การบูรณาการแบบสอดแทรกกับการปฏิบัติงาน การสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ และการนิเทศ ซึ่งสามารถใช้เป็นแนวทางที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาสมรรถนะของครูผู้สอนให้มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้นได้

References

Cavanagh, D. (1983). Teacher Development: Curricular Problems and Paradigm Possibilities. Australian Journal of Teacher Education, 8(2), 7.

Chareonthum, T. (2019). Developing a Program to Strengthen Science Teacher’s through Applying in Managing Learning to Promote Student Critical Thinking for Secondary School. Thesis, Doctor of Education Program in Educational Administration and Development, Mahasarakham University, Mahasarakham. (In Thai)

Juthasong, C. (2012). The Development of Program to Enhance Learning Management Competency for Teachers under Non-formal and Informal Education. Thesis, Doctor of Education Program in Educational Administration and Development Program, Mahasarakham University, Mahasarakham. (In Thai)

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607- 610.

McNamara, D. (1983). Less Idealism and More Realism: The Programme for Teacher Education. Australian Journal of Teacher Education, 8(2), 5.

Ministry of Education. (2017). Thailand’s Competency in the International World of 2016 (IMD 2016). Bangkok : Office of the Education Council ,Ministry of Education. (In Thai)

Ministry of Education. (2018). Teacher Professional Standards. Bangkok : Bureau of Professional Standards, the Teachers’ Council of Thailand. (In Thai)

Ministry of Education. (2019). Getting Understanding of Competency for People and Getting Understanding of Competency for Teachers, Administrators and Educational Personnel. Bangkok : Office of the Education Council ,Ministry of Education. (In Thai)

Mongkolvanich, J. (2012). Administration of educational organization and personnel. Bangkok : Thawee Print (1991). (In Thai)

Office of the Basic Education Commission. (2016). Handout of Teachers’ Competency Evaluation (Revised Issue) Bangkok : Teachers and Basic Education Personnel Development Bureau. (In Thai)

Office of the Basic Education Commission. (2018). Competency. Bangkok : Kurusapa Printing. (In Thai)

Office of the Education Council. (2015). Subject Research Analysis of Thai Education in the 21st Century World. Bangkok : Office of the Education Council, Ministry of Education. (In Thai)

Office of the Education Council. (2019). Paradigm, Model and Mechanism for Area-Based Teacher Development for 5 Areas. Bangkok : Pringwhan Graphic. (In Thai)

Office of the Teachers’ Council of Thailand. (2018). Competency. Bangkok : Kurusapa Printing. (In Thai)

Organization for Economic Co-operation and Development (OECD). (2009). Creating Effective teaching and learning environments: First results from TALIS. Paris : Organization for Economic Co-operation and Development.

Panich, W. (2012). Ways to Create Learning for Students in the 21st Century. Bangkok : Sosri-Saritwong Foundation. (In Thai)

Ploybut, C. (2016). The Development of Program to Enhance Learning Management Competency for Teachers in Schools under the Office of Secondary Educational Service Area Office 30. Thesis, Master of Education Program in Educational Administration, Mahasarakham University, Mahasarakham. (In Thai)

Sheehan, B. A., & Lewis, R. (1983). Some Implications of a Non-Deterministic Model of Teacher Development. Australian Journal of Teacher Education, 8(2), 8.

Siritharangsri, P. (2014). Research and Development Report Subject Basic Educational Institution Management Model. Bangkok : Office of the Education Council. (In Thai)

Srisa-ard, B. (2010). Preliminary research. Bangkok : Suwiriyasan. (In Thai)

Timperley, H., Wilson, A., Barrar, H., & Fung, I. (2008). Teacher professional learning and development. New York : Cambridge University Press.

Tyler, R. W. (1950). Basic Principles of Curriculum and Instruction. Chicago : University of Chicago Press.

Tyler, R. W. (1986). Evaluation Acting Program. Boston : Allin and Bacon.

Vongvanich, S. (2007). Needs assessment research. Bangkok : Chulalongkorn University Printing House. (In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-09

How to Cite

เพชรใต้ ไ., & จันทร์ศิริสิร พ. (2021). ความต้องการจำเป็นและแนวทางการเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน . วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 15(4), 222–234. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2021.77