ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงพื้นที่นาข้าวเป็นพืชพลังงาน จังหวัดนครราชสีมา
DOI:
https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2021.5คำสำคัญ:
การใช้ประโยชน์จากพื้นที่นาข้าว, การผลิตพืชเชื้อเพลิงชีวภาพ, กลยุทธ์การสร้างศักยภาพบทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์การผลิตพืชอาหารและพืชพลังงาน ต้นทุนและผลตอบแทนทางการเกษตร 2) ศึกษาปัจจัยที่สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินเพาะปลูกข้าวเป็นอ้อยโรงงาน และ 3) จัดทำกลยุทธ์ด้านการสร้างศักยภาพการผลิตพืชพลังงาน และการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเกษตรที่เหมาะสม โดยความร่วมมือกับภาคีในพื้นที่ กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามสูตรของคอแครน โดยเพิ่มจำนวนเป็น 400 คน ผู้ให้ข้อมูลหลักที่สำคัญไม่ซ้ำกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 42 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการศึกษาข้อมูลทุติยภูมิ นำมาวิเคราะห์เนื้อหา สำหรับแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติอย่างง่าย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าร้อยละ และวิเคราะห์ปัจจัยด้วยสถิติเชิงอนุมาน ในรูปสมการถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน
ผลการวิจัย พบว่า ภายใต้การผลักดันของรัฐบาลด้านการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรมส่งผลให้อ้อยโรงงานเป็นพืชเศรษฐกิจที่เกษตรกรให้ความสำคัญและปรับเปลี่ยนจากการทำนาปลูกข้าวหันไปปลูกอ้อยโรงงานเพิ่มมากขึ้น ซึ่งอัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุนในการปลูกอ้อยโรงงานสูงกว่าการปลูกข้าว และข้อค้นพบที่ได้จากปัจจัยสนับสนุนนำมาจัดทำกลยุทธ์การสร้างศักยภาพ ประกอบด้วย การเข้าถึงข้อมูลด้วยระบบข้อมูลสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ จัดทำแผนดำเนินงาน กระบวนการผลิต ถ่ายทอดความรู้ผ่านผู้นำเกษตรกร จัดโครงการอบรม สัมมนา ศึกษาดูงาน ด้านการผลิตและการตลาด ใช้ระบบน้ำหยด ขุดบ่อบาดาล ขุดสระกักเก็บน้ำ สร้างระบบส่งน้ำ สร้างคลองไส้ไก่ เข้าถึงพื้นที่ทำการเกษตร ส่งเสริมการทำเกษตรผสมสาน ไร่นาสวนผสม เกษตรทฤษฎีใหม่ ส่งเสริมการสืบทอดอาชีพและนำเทคโนโลยีเข้ามาทดแทนแรงงาน
References
Chan-on, N. (2014). Thailand Food Security. Retrieved March 12, 2018, from http://library.senate.go.th/document/ Ext7091/7091777_0002.PDF (In Thai)
Cochran, W. G. (1953). Sampling Techniques. New York : John Wiley & Sons.
Department of Alternative Energy Development and Efficiency. (2015). Alternative Energy Development Plan : AEDP2015. Retrieved January 26, 2018, from https://www.dede.go.th/download/files/AEDP2015_Final_version.pdf (In Thai)
Longploypad, C., & Sethanan, K. (2012). The Study of Factors Affecting in Crop Change. In IE Network Conference 2012 Preparation Summary (pp. 1953-1959). Phetchaburi : Sripatum Universitry. (In Thai)
Ministry of Agriculture and Cooperatives. (2014). Work Manual : Zoning by Agri-Map. Bangkok : Ministry of Agriculture and Cooperatives. (In Thai)
Office of Agricultural Economics. (2017a). Agricultural Statistics of Thailand 2017. Retrieved March 22, 2018, from http://www.oae.go.th/assets/portals/1/files/yearbook60.pdf (In Thai)
Office of Agricultural Economics. (2017b). Important agricultural situation and trends in 2017. Retrieved March 22, 2018, from http://www.oae.go.th/assets/portals/1/files/yearbook60.pdf (In Thai)
Office of the Cane and Sucar Board. (2008). Sugracane planting area, production year 2007/2008. Retrieved March 22, 2018, from http://www.ocsb.go.th/upload/contents/14/attachfiles/ F6488_report5051.pdf (In Thai)
Office of the Cane and Sucar Board. (2017). Sugracane planting area, production year 2016/2017. Retrieved March 22, 2018, from http://www.ocsb.go.th/upload/journal/fileupload/923-9999.pdf (In Thai)
Polsrakhu, P., Vichukit, V., Duangpatra, P., Tangtham, N., & Jongkroy, P. (2016). Policy-driven Land Use Planning by a Logical Framework Approach for Cassava production in Dan Khun Thot District, Nakhon Rachasima Province. SDU Research Journal, 12(3), 39-58. (In Thai)
Promkhambut, A., Laoken, A., & Polthanee, A. (2014). Sugarcane in paddy field: Practices, Incentives and Impacts. KHON KAEN AGE, J., 42(SUPPL 2), 331-338. (In Thai)
Thani, S. (2013) Factors Influencing the Decision of the Farmers Growing Sugar Cane, Bang Rachan, Sing Buri Province. Pathumthani University Academic Journal, 5(1), 149-162. (In Thai)
Verburg, P. H., Schot, P. P., Dijst, M. J., & Veldkamp, A. (2004). Land use change modeling: current practice and research priorities. GeoJournal, 61, 309-324.