การจัดการเรียนรู้ตามอัธยาศัยสำหรับเด็กและเยาวชน ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมความตระหนักรู้คุณค่าในการแสดงหนังใหญ่ วัดสว่างอารมณ์ จังหวัดสิงห์บุรี

ผู้แต่ง

  • ธัญชนก กังนิกร คณะศิลปกรรมศาสตร์
  • ปิยวดี มากพา คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • กิตติกรณ์ นพอุดมพันธุ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2021.80

คำสำคัญ:

การแสดงหนังใหญ่, การเรียนรู้ตามอัธยาศัย, กระบวนการมีส่วนร่วม, ความตระหนักรู้คุณค่าภูมิปัญญา

บทคัดย่อ

    วัตถุประสงค์การศึกษาวิจัยนี้เพื่อออกแบบการจัดการศึกษาตามอัธยาศัยด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม และศึกษาผลการเข้าร่วมก่อนและหลังในด้านความตระหนักรู้ในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่องการแสดงหนังใหญ่ ในเขตวัดสว่างอารมณ์ จังหวัดสิงห์บุรี คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาหลักสูตร และด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น รวม 5 คน และกลุ่มเด็กและเยาวชน อายุระหว่าง 11-14 ปี และเป็นผู้ที่สมัครใจเข้าร่วม จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนกิจกรรมที่สร้างขึ้นตามกระบวนการมีส่วนร่วม ด้วยการระดมสมองแบบสนทนากลุ่ม แล้วนำมาวิเคราะห์เนื้อหา สำหรับแบบประเมินระดับการเรียนรู้ และแบบวัดความตระหนักรู้ เป็นแบบมาตรส่วนประมาณค่า 3 ระดับ โดยข้อคำถามมีค่าความเที่ยงตรงมากกว่า 0.50 ขึ้นไปทุกข้อทั้ง 2 ฉบับ เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนมีนาคม 2563 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยที่ได้คือ แผนการจัดการเรียนรู้ 8 แผน ประกอบด้วย “แรกพบสบตา” “รู้ไว้เดี๋ยวพูดกับเขาไม่รู้เรื่อง” “โครงสวยด้วยมือเรา” “ย่ำเท้าเต้นเสา” “ลงหลักปักฐาน” “ร่วมเชิดโครง 1” “ร่วมเชิดโครง 2” และ “จากโครงสู่เรื่อง” โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีการเรียนรู้ด้านพฤติกรรม ร้อยละ 75.00 และด้านความรู้ความเข้าใจ ร้อยละ 65.81 อยู่ในระดับดี และมีความตระหนักรู้หลังการเข้าร่วมกิจกรรมอยู่ในระดับมาก แสดงให้เห็นได้ว่าแผนการจัดการเรียนรู้ ที่สร้างขึ้นสามารถนำไปใช้ดำเนินกิจกรรมสำหรับผู้เรียนและทำให้เกิดความตระหนักรู้เรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นได้จริงอย่างมีประสิทธิภาพ

References

Arnuphap, K. (2017). Self-Directed Learning for Learning Development in Computer Subject of Prathomsuksa 4 Students. Thesis, Master of Educaton Program in Department of Curriculum and Instruction, College of Education Science, Dhurakij Pundit University, Phathum Thani. (In Thai)

Bandura, A., & McClelland, D. C. (1977). Social learning theory. Prentice Hall : Englewood cliffs.

Breckler, R. L. (1986). The Social Work Dictation (3rd ed.). Washiton DC. : Nasw Press.

Chankajorn, K. (2008). The developing of informal education management approach for promoting lifelong learning. Disertation, Doctoral of Education Program in Adult Education, Srinakharinwirot University, Bangkok. (In Thai)

Chewphan, A. (2007). Develop language skills, develop thinking through playing activities for teaching Thai language (2nd ed.). Bangkok : Chulalongkorn University Press. (In Thai)

Good, C. V. (1973). Dictionary of Education. New York : McGraw-Hill.

Khrunangyai. (February 23, 2018). Interview.

Knowles, M. S. (1975). Self-Directed Learning: A Guide for Learner and Teachters. Chicago : Association Press.

Kokpol, O. (2009). Citizens Participation Manual For local administrators. Bangkok: King Prajadhipok's Institute, The Government Complex Commemorating. (In Thai)

McGuire, W. J. (1985). Attitudes and attitude change. In: Lindzey, G. and Aronson, E., (Eds.). Handbook of Social Psychology (3rd Ed.). NY: Random House.

Pathumcharoenwattana, W. (2018). Formal Education. Bangkok : Chulalongkorn University Press. (In Thai)

Sopitkul, S. (1999). Nang Yai : Background, Creation, Display, and Current. Nakhon Pathum : Silpakorn University. (In Thai)

Suriyachai, T. (2011). The Relationship between Self-Awareness and Empathy in Adolescents. Independent Study, Master of Education Program in Development Psychology, Srinakharinwirot University, Bangkok. (In Thai)

Tramote, M. (1975). Thai’s games. Bangkok : The Fine Arts Department. (In Thai)

Waranukulwat, P. (2008). Building social networks and youth learning from participating in extracurricular activities: Case Study of Black Box Group. Thesis, Bachelor of Arts Program in Faculty of Archaeology, Silpakorn University, Nakhon Prathom. (In Thai)

Wongthes, S. (1989). Thai’s games. Bangkok : The Fine Arts Department. (In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-08

How to Cite

กังนิกร ธ., มากพา ป., & นพอุดมพันธุ์ ก. (2021). การจัดการเรียนรู้ตามอัธยาศัยสำหรับเด็กและเยาวชน ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมความตระหนักรู้คุณค่าในการแสดงหนังใหญ่ วัดสว่างอารมณ์ จังหวัดสิงห์บุรี. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 15(4), 260–270. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2021.80