การเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศ ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตชุมชน และใช้ประโยชน์ จากความหลากหลายทางชีวภาพพื้นที่ชุ่มน้ำเขื่อนปากมูล จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • ณภัทร น้อยน้ำใส มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • วราภรณ์ โกศัลวิตร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2021.31

คำสำคัญ:

การเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศ, การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตชุมชน, ความหลากหลายทางชีวภาพ, พื้นที่ชุ่มน้ำ

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบผสมผสานนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำต่อความหลากหลายทางชีวภาพ ความมั่นคงทางด้านอาหาร วัฒนธรรมของท้องถิ่น และศึกษาการปรับเปลี่ยนชีวิตชุมชน วัฒนธรรมการใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ชุ่มน้ำ กำหนดพื้นที่ป้าหมายคือ เขื่อนปากมูล จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 3 อำเภอ คือ อำเภอโขงเจียม อำเภอสิรินธร และอำเภอพิบูลมังสาหาร กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจงอำเภอละ 100 คน รวม 300 คน ด้วยการสุ่มอย่างง่าย ใช้แบบสอบถามความคิดเห็นที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพโดยมีค่าความสอดคล้องทั้งฉบับเท่ากับ 1.00 เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ข้อมูลการสำรวจใช้การวิเคราะห์คุณภาพสาหร่ายและคุณภาพน้ำทั่วไป ข้อมูลความคิดเห็นวิเคราะห์ด้วยสถิติพื้นฐาน หาจำนวน และค่าร้อยละ สำหรับข้อมูลการสัมภาษณ์วิเคราะห์เนื้อหาแบบสร้างข้อสรุป

            ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพน้ำด้านปริมาณออกซิเจนละลายที่ต่ำกว่า 4 มิลลิกรัมต่อลิตร ส่งผลต่อการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำ แบคทีเรียมีผลต่อการผลิตน้ำประปา ส่วนไนโตรเจนและฟอสฟอรัสส่งผลต่อการเจริญอย่างรวดเร็วของสาหร่ายและคุณภาพน้ำ ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบต่อการหาปลา หอย และกุ้ง ต่อป่าบุ่ง ป่าทาม พืชริมน้ำและพืชน้ำ (ร้อยละ 95.56 และ 77.22) ปัญหาภัยแล้ง การประกอบอาชีพหลักและรอง การดำรงชีวิตและความเป็นอยู่ และสภาพแวดล้อม แย่งลง (ร้อยละ 63.67, 60.00, 56.00 และ 53.67) ส่วนปัญหาน้ำท่วม เหมือนเดิม (ร้อยละ 48.33) ทำให้ภูมิปัญญาดั้งเดิมในการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ชุ่มน้ำสูญหายไป เกิดประเด็นปัญหาข้อขัดแย้งของชาวบ้านเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ นำมาสู่การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตแบบการโยกย้ายถิ่นฐาน และการอพยพแรงงานเข้าเป็นคนจนในเมือง

Author Biography

ณภัทร น้อยน้ำใส, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เลขที่ 340 ถนนสุรนารายณ์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา 30000

References

Ashcroft, B., & Ahluwalia, P. (1999). Edward Said: The Paradox of Identity. New York : Routledge.

Baimai, V. (2017). Thai Society on Biodiversity. The Research Community. Retrieved February 6, 2021, from http://rescom.trf.or.th/display/keydefault.aspx?id_colum=1074 (In Thai)

Biodiverrsity-based Economy Development Office (Public Organization). (2017). Bio-based Economic Development Strategy Framework of 20 years. B.E. 2560-2579. Retrieved February 6, 2021, from https://www.bedo.or.th/bedo/backend/upload/content/2018_03/1520496784_7221.pdf (In Thai)

Chaitrong, P., & Manorom, K. (2014). Dynamics, movement and struggle to restore the way of life of the community that has been affected by the Pak Mun dam. Journal of Humanities and Social Ubon Ratchathani University, 5(2), 81-111. (In Thai)

Chantree, P., & Jitcharoen, J. (2011). Impacts of Closing-Opening Gate of Pakmun Dam on Water Quality of Mun River. UBU Engineering Journal, 4(1), 16-24. (In Thai)

Couldry, N. (2000). Inside Culture: Re-Imagining the Method of Cultural Studies. London : Sage.

Department of Marine and Coastal Resources. (2014). Why do we need to open Pak Mun Dam?. Retrieved February, 6, 2014, from https://www.dmcr.go.th/detailAll/1949/rn/0 (In Thai)

Homchan, A., Udomchok, W., Patthananurak, K., Phianchana, A., Thepprasit, C, Chaturabon, T., & Ketschinda, K. (2013). The research project of application of geographic information system for analysis and planning of flood risk, Ubon Ratchathani Province. A complete study report. Kasetsart University, Bangkok. (In Thai)

Hongsuwan, P. (2014). Dong Phu Din: The Sacred Narrative and a Social Process on Building a Meaning of Community Rights. Journal of Mekong Scoieties, 10(3), 167-192. (In Thai)

Kwancharoen, K., et al. (2012). Self-Management Community on an ecological base. Bangkok : Foundation for Sustainable Development. (In Thai)

Ludwig, J. A., & Reynolds, J. F. (1998). Statistical Ecology. New York : John Wiley and Sons.

Ministry of Natural Resources and Environment. (2017). Strategic Plan of the Ministry of Natural Resources and Environment 20 years B.E. 2560-2579. Retrieved February 6, 2021, from http://www.mnre.go.th/th/index (In Thai)

Office Of Natural Resources and Environmental Policy and Planing. (2017). Biodiversity Management Action Plana 2017-2021. Bangkok : Ministry of Natural Resources and Environment. (In Thai)

Pilasombut, K. (2014). The Suitable Communities Way of Life After the Construction of Phimai Dam in Nakhon Ratchasima Province. Thesis, Doctor of Philosophy Program in Environment Education, Valaya Alonkorn Rajabhat University under the Royal Patronage, Pathum Thani. (In Thai)

Poplin, D. E. (1979). Social Problems. New York : Random House.

Prasertsak, W. (2012). FOOD SECURITY: CONCEPTS AND DEFINTINONS. Retrieved August 20, 2014, from http://www.polsci.tu.ac.th/fileupload/36/24.pdf (In Thai)

Sumnaunyen, K., Srinate, P., & Akarapattananukul, Y. (2013). Pak Mun Dam and its Impacts on the Pattern of Local Livelihood. Songklanakarin Journla of Social Sciences and Humanities, 19(4), 71-107. (In Thai)

Supakosol, S., & Pagdee, A. (2012). Importance of wethlands to local economy. The 13th Graduate Research Conference (pp. 503-511). Khon Kaen : Khon Kaen University. (In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-05-06

How to Cite

น้อยน้ำใส ณ., & โกศัลวิตร ว. (2021). การเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศ ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตชุมชน และใช้ประโยชน์ จากความหลากหลายทางชีวภาพพื้นที่ชุ่มน้ำเขื่อนปากมูล จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 15(2), 131–141. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2021.31