รูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาผู้สูงอายุสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษา เทศบาลนครสกลนคร

ผู้แต่ง

  • ปิยะนุช เรืองโพน คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ ม.เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จ.สกลนคร

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2021.64

คำสำคัญ:

การจัดการความรู้, ภูมิปัญญาผู้สูงอายุ, รูปแบบการจัดการความรู้แบบหนุนเสริม, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

บทคัดย่อ

    งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ภูมิปัญญาผู้สูงอายุและสภาพปัญหาการดำเนินการจัดการความภูมิปัญญาผู้สูงอายุ เพื่อการจัดการความรู้ภูมิปัญญาผู้สูงอายุ และพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครสกลนคร คัดเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญแบบเฉพาะเจาะจง ได้แก่ เจ้าหน้าที่รัฐ เจ้าของภูมิปัญญา ผู้นำชุมชน นักวิชาการ และนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิค จำนวน 70 คน ใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก สนทนากลุ่มย่อย การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาตรวจสอบข้อมูลโดยวิธีสามเส้า และนำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ความรู้ภูมิปัญญาผู้สูงอายุมีทั้งด้านหัตถกรรม ศิลปวัฒนธรรม การดูแลสุขภาพ และการเกษตร โดยมีปัญหาการดำเนินการจัดการความรู้ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นคือ ไม่มีภารกิจที่ชัดเจนในการสำรวจความรู้ จัดเก็บความรู้เพื่อเผยแพร่และขาดการติดตามการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ ในชุมชนพบปัญหาผู้สูงอายุปราศจากสื่อในการถ่ายทอดความรู้ ไม่มีการจัดเก็บความรู้จึงไม่สามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้ รวมทั้งขาดผู้สืบทอดความรู้ ดังนั้นจึงนำรูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาผู้สูงอายุแบบหนุนเสริมมาดำเนินการโดยสำรวจความรู้ สร้างความรู้ จัดเก็บความรู้ เผยแพร่ความรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ ซึ่งมีองค์ประกอบการจัดการความรู้ ได้แก่ คน การจัดการความรู้ เทคโนโลยี และการหนุนเสริมโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชนเพื่อเสริมสร้างศักยภาพผู้สูงอายุ อนุรักษ์และสืบทอดความรู้ให้แก่คนรุ่นใหม่นำไปใช้ประโยชน์

References

Chantavanich, S. (2011). Data Analysis in Qualitative Research. Bangkok : Chulalongkorn University Press. (In Thai)

Disilhrrm, K. (2003). Knowledge Management for New Business World. Bangkok : Tanapress and Graphic. (In Thai)

Kaisupun, U. (2007). Knowledge management: an introduction. Nakhon Pathom : Printing Group. (In Thai)

Lakaphun, T., & Saranawong, J. (2015). Knowledge Management of Herb: A Case Study of Bandongbang Herbal Group at Tambon Dongkeerek, Mueang District, Prachinburi Province. The Journal of Library and Information Science, 8(1), 12-25. (In Thai)

Local registration office. (2019). Data of population of the elderly in Sakon Nakhon. Sakon Nakhon : Local Registration Office. (In Thai)

Mala, T. (2019). Participation in Elder’s Wisdom Management for Live-Long Learning in Muang Sakaeo Municipality, Sakaeo Province. Journal of Humanities and Social Sciences Valaya Alongkorn, 14(2), 206-215. (In Thai)

Numprasertchai, S. (2015). Knowledge Management. Bangkok : Se-Education Press. (In Thai)

Office of the Education Council. (2005). Thai Local Wisdom and their Roles in Promoting Learning and Occupations. Bangkok : The Agricultural Cooperative Federation of Thailand Limited Press. (In Thai)

Parinyasutinun, U. (2018). Community Management. Bangkok : Chulalongkorn University Press. (In Thai)

Phumduang, E. (2015). Local wisdom knowledge management strategies for lifelong learning of the community. Khok Khotao Sub-district, Mueang District, Suphanburi Province. In Proceedings of 53th Kasetsart University Annual Conference: Education, Economics and Business Administration, Humanities and Social Sciences (pp. 993-1000). Bangkok : Kasetsart University. (In Thai)

Pinphila, A. (2020). Local Wisdom Development for The Elderly at Mueng District, Saraburi Province. NRRU Community Research Journal, 14(3), 155-164. (In Thai)

Probst, G., Raub, S., & Romhardt, K. (2002) Managing Knowledge: Building Blocks for Success. Chichester : John Wiley and Sons.

Seneewong Na Ayuthaya, T. (2007). Elderly’s Local Wisdom Transfer. Material aids for teaching of social psychology for elderly. Nonthaburi : Sukhothai Thammathirat Press. (In Thai)

The Community Development Department. (2016). Community knowledge management handbook. Retrieved January 16, 2021, from https://chumchon.cdd.go.th/wpcontent/uploads/sites/106/2017/04/170420161504_KM_Book_final-16-05-2559.pdf (In Thai)

Trichai, W. (2016). Model and types of public service management of local government organisation. Bangkok : King Prajadhipok's Institute. (In Thai)

Vijarn, B. (2006). Knowledge Management in Action. Bangkok : Expernet. (In Thai)

Yodpet, S. (2017). Local administration for elderly changes. Bangkok : King Prajadhipok's Institute. (In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-07

How to Cite

เรืองโพน ป. (2021). รูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาผู้สูงอายุสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษา เทศบาลนครสกลนคร. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 15(4), 42–56. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2021.64