กระบวนการขับเคลื่อนและการปรับตัวของชุมชนในการดำเนินงานการศึกษาทางเลือกของศูนย์การเรียนหญ้าเป็ดน้ำ จังหวัดแม่ฮ่องสอน

ผู้แต่ง

  • วนิดา นาคีสังข์ คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ https://orcid.org/0000-0001-7675-4464
  • พัชรินรุจา จันทโรนานนท์ คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  • อาแว มะแส คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2022.58

คำสำคัญ:

กระบวนการขับเคลื่อน, การปรับตัว, การศึกษาทางเลือก, ศูนย์การเรียนรู้

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการขับเคลื่อนและการปรับตัวของชุมชนในการดำเนินงานการศึกษาทางเลือกของศูนย์การเรียนหญ้าเป็ดน้ำ การออกแบบการวิจัยยึดตามวิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยแนวทางกรณีศึกษา ชุมชนที่ศึกษาเลือกมาด้วยวิธีเฉพาะเจาะจงคือชุมชนหญ้าเป็ดน้ำ ซึ่งตั้งอยูในจังหวัดแม่ฮ่องสอน การรวบรวมข้อมูลดำเนินการโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญจำนวน 21 คน ควบคู่กับการสังเกตแบบมีส่วนร่วม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามที่มีโครงสร้าง และ 2) แบบบันทึกพฤติกรรมการดำเนินกิจกรรม ซึ่งผ่านการตรวจสอบคุณภาพจากอาจารย์ที่ปรึกษา ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา การจัดหมวดหมู่ การตีความ และการวิเคราะห์เหตุผลเชิงตรรกะ ผลการวิจัย พบว่า ชุมชนหญ้าเป็ดน้ำมีกระบวนการขับเคลื่อนการศึกษา 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การสร้างความตระหนักในการเป็นนักพัฒนาท้องถิ่นแก่เยาวชน 2) การสร้างกลุ่มเพื่อจัดตั้งศูนย์การเรียนในชุมชน 3) การดำเนินการจัดการศึกษาบนฐานของชุมชนให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต 4) การถอดบทเรียนเพื่อทบทวนกิจกรรม ค้นหาปัญหาที่เกิดขึ้น และหาแนวทางแก้ไข 5) การขยายผลเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน และ 6) การสร้างนวัตกรรมทางการศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 การปรับตัวของศูนย์การเรียนหญ้าเป็ดน้ำมี 2 ระดับ คือ 1) ระดับชุมชนและองค์กร ซึ่งมี 2 ลักษณะคือการปรับตัวโดยการสู้และการประนีประนอมกับสถานการณ์ และ 2) ระดับบุคคล ซึ่งมี 4 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านอัตมโนทัศน์ ด้านบทบาทหน้าที่ และด้านการพึ่งพาอาศัย

Author Biographies

วนิดา นาคีสังข์, คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

นางสาววนิดา นาคีสังข์                                       

นักศึกษาระดับปริญญาโท หลักสูตรการบริหารการพัฒนาสังคม คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

พัชรินรุจา จันทโรนานนท์, คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

อาจารย์ ดร.พัชรินรุจา จันทโรนานนท์

เป็นผู้มีความเชี่ยวชาญในด้านการเมืองระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนและจีน รวมถึงภาษาจีน หลังจบการศึกษาระดับปริญญาตรี ท่านได้รับทุนการศึกษาจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ไปศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก  คณะรัฐศาสตร์ระหว่างประเทศ สาขาการเมืองระหว่างประเทศ (เอเชียตะวันออกเฉียงใต้) ณ มหาวิทยาลัยปักกิ่งประเทศจีน ขณะที่ศึกษาอยู่นั้น  ท่านได้รับรางวัลที่ 3 จากบทความชื่อว่า “A Study on the Current Trend of Chinese and Thai Integration in Thailand.” ของ ASEAN Forum จัดโดย Peking University และ Guangxi University for Nationalities. ปัจจุบัน อาจารย์ ดร.พัชรินรุจา จันทโรนานนท์ สอนในหลักสูตรศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการเมืองและยุทธศาสตร์การพัฒนา คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม  สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)

อาแว มะแส, คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อาแว มะแส
ตำแหน่งบริหาร : คณบดีคณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม

เป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้าน การพัฒนาสังคมชนบทและสังคมเกษตร ทฤษฎีและแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนา การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชนบทและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ การวิจัยเชิงคุณภาพในการพัฒนาสังคมและการจัดการสิ่งแวดล้อม และแนวคิดเรื่องความอยู่ดีมีสุขและการดำรงชีพในชนบทอย่างยั่งยืน ประสบการณ์ทำงานที่ผ่านมา เคยร่วมทำงานวิจัยกับองค์การระหว่างประเทศหลายองค์การ เช่น  Wetlands International, International Centre for Living Aquatic Resources Management ฯลฯ มีผลงานเป็นที่ยอมรับทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ ก่อนที่จะย้ายมาร่วมงานกับคณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมท่านได้รับเกียรติให้ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการบริหารหลักสูตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาการเกษตร และหัวหน้าภาควิชาพัฒนาการเกษตร ที่คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และเป็นนักวิจัยร่วมผู้เชี่ยวชาญด้านสังคมศาสตร์ที่สถาบันทรัพยากรชายฝั่ง มหาวิทยาลัยเดียวกัน ด้วยความเชี่ยวชาญนี้เอง ท่านจึงได้สร้างสรรค์ผลงานวิจัยที่สำคัญหลายรื่อง เช่น “การวิจัยเพื่อกำหนดนโยบายด้านเนื้อหารายการใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้” และ “ชุมชนศรัทธา: แนวทางการพัฒนาสังคมบนฐานศาสนาและวัฒนธรรมท้องถิ่น ในจังหวัดชายแดนภาคใต้” นอกจากนี้ ผลงานเขียนบทความทางวิชาการที่น่าสนใจของท่าน ได้แก่ เรื่อง "Community Welfare Provision through Savings Groups: An Alternative Approach to Social Inequality Reduction in Rural Thailand" และเรื่อง “Wellbeing, Development and Social Change in Thailand”. สำหรับการบริการวิชาการแก่สาธารณะนั้น ท่านได้รับเชิญเป็นที่ปรึกษาวิชาการและกรรมการประจำโครงการให้กับ "โครงการจัดทำแผนยุทธศาสตร์กระทรวงการพัฒนาสังคม ประจำปี พ.ศ.2555-2559 และหัวหน้าคณะที่ปรึกษา “โครงการติดตามประเมินผลแผนแม่บทและยุทธศาสตร์กิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ ฉบับปี พ.ศ.2555-2559 ระยะที่ 1 และระยะที่ 2” และท่านยังเคยดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาเกี่ยวกับกิจการจังหวัดชายแดนภาคใต้ ของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (น.พ.พลเดช ปิ่นประทีป)

References

A001. (2019, 15 November). Leader of the learning center. Interview. (In Thai)

A002. (2019, 20 November). Parent. Interview. (In Thai)

A003. (2019, 15 November). Leader of the learning center. Interview. (In Thai)

A004. (2019, 16 November). Partnership network. Interview. (In Thai)

A005. (2019, 15 November). Student. Interview. (In Thai)

A006. (2019, 20 November). Philosopher. Interview. (In Thai)

A007. (2019, 16 November). Leader of the learning center. Interview. (In Thai)

A008. (2019, 17 November). Partnership network. Interview. (In Thai)

A009. (2019, 15 November). Leader of the learning center. Interview. (In Thai)

Akkarasilachai, T. (2017). Guidelines for Alternative Education Management to Improve the Quality of Learners According to the Thailand 4.0 Policy. Reseacrh Report. Office of the Education Council, Bangkok. (In Thai)

Baxter, P., & Bethke, L. (2009). Alternative Education: Filling the gap in emergency and post-conflict situations. Retrieved September 20, 2021, from https://unesdoc.unesco.org/ark:/48223/pf0000184938/PDF/184938eng.pdf.multi

Chaiumporn, S. (2012). Styles and Steps of Community's Social Quality Movement. Bangkok : School of Social and Environmental Development, National Institute of Development Administration. (In Thai)

Chalermchai, Y. (2016). Guidelines for Organizing Education and Human Development through Alternative Education. Research Report. Office of the Education Council, Bangkok. (In Thai)

Chiangthong, S. (2015). The Role of the Community Organization Council in Promoting Community Democracy Learning. Local Administration Journal, 8(1), 52-60. (In Thai)

Katasila, S. (2005). 60 Years, Phipop Thongchai, "Alternatives" that Transcend Discourse. Bangkok : V.J. Printing. (In Thai)

Katawanit, T. (2003). General Psychology. Bangkok : Se-Education. (In Thai)

Krishnamurti, J. (2016). Krishnamurti on Education Part 1: Talk To Students. Bangkok : Amarin Printing and Publishing. (In Thai)

Office of the Education Council. (2010). National Education Act (No. 3) B.E. 2553. Retrieved March 5, 2019, from http://backoffice.onec.go.th/uploaded/Category/Laws/Act/Act2010/edactv353-23-08-2010.pdf (In Thai)

Panich, V. (2006). Knowledge Management Pactitioner Edition (3rd ed.). Bangkok : Sukkhapabjai. (In Thai)

Ponsri, S. (2013). Development of Abilities of Individuals and Qroups (2nded.). Bangkok : Odeonstore. (In Thai)

Research and Development Institute, Khon Kaen University. (1997). Community Organizations, Mechanisms for Solving Problems and Developing Society. Bangkok : The Thailand Research Fund. (In Thai)

Roy, S. C., & Andrews, H. A. (1999). The Roy Adaptation Model (2nd ed.). Stamford, Connecticut : Appleton & Lange.

Supaporn, D., Sriprasertpap, K., & Boriboon, G. (2018). Way of Learning with Administration of the Ban Huay Pern Natural Learning Community Center. Veridian e-Journal, 11(3), 1526-1543. (In Thai)

Suwannasuan, W., Chaiyakit, M., Markshoe, P., & Thamrongsotthisakul, W. (2013). A Model of Alternative Education for Disadvantaged Children on Highlands in the Upper North of Thailand. Journal of Education Naresuan University, 15(5), 182-192. (In Thai)

ภาพ 1 กรอบแนวคิดในการวิจัย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-17

How to Cite

นาคีสังข์ ว., จันทโรนานนท์ พ., & มะแส อ. (2022). กระบวนการขับเคลื่อนและการปรับตัวของชุมชนในการดำเนินงานการศึกษาทางเลือกของศูนย์การเรียนหญ้าเป็ดน้ำ จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 16(3), 236–248. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2022.58