การเปลี่ยนแปลงในวัฒนธรรมดนตรีกลุ่มชาติพันธุ์ม้งในลุ่มน้ำโขงตอนบน

ผู้แต่ง

  • วรพจน์ มานะสมปอง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • เฉลิมศักดิ์ พิกุลศรี คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สุรพล เนสุสินธุ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2021.74

คำสำคัญ:

ดนตรีกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง, สังคีตลักษณ์, การเปลี่ยนแปลงในวัฒนธรรมดนตรี, ลุ่มน้ำโขงตอนบน

บทคัดย่อ

    การสร้างความเข้าใจอย่างถ่องแท้อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางศิลปวัฒนธรรมดนตรี นำมาสู่การวิจัยเรื่องนี้ซี่งมีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา ศึกษาสังคีตลักษณ์และบทบาทหน้าที่ของดนตรี และศึกษาการเปลี่ยนแปลงในวัฒนธรรมดนตรี กลุ่มชาติพันธุ์ม้งในลุ่มน้ำโขงตอนบน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง 3 กลุ่ม กลุ่มละ 10 คน ได้แก่ กลุ่มผู้รู้ กลุ่มผู้ปฏิบัติ และกลุ่มผู้เกี่ยวข้อง โดยใช้แบบสำรวจ แบบสังเกต และแบบสัมภาษณ์ ที่ผ่านควาเห็นชอบจากผู้เชี่ยวชาญ 3 คน สำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยลงพื้นที่ภาคสนามทำการสัมภาษณ์ในเขตพื้นที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและภาคเหนือของราชอาณาจักรไทย และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ประวัติความเป็นมาของดนตรีปรากฏอยู่ใน 2 ลักษณะ คือ รูปแบบของตำนาน นิทาน หรือเรื่องเล่า และที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันกับประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ การอพยพ และการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง 2) ด้านสังคีตลักษณ์เป็นการสืบทอดแบบมุขปาฐะซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับขนบจารีต ธรรมเนียมปฏิบัติ และประเพณี รวมถึงมีการสอดแทรกข้อห้าม ข้อนิยม และข้อปฏิบัติ 3) การนำบันไดเสียงแบบเมเจอร์มาใช้เพิ่มเติมจากบันไดเสียงไมเนอร์ ซึ่งการใช้ระบบเสียงที่มีการสืบทอดกันมาแบบดั้งเดิมก็ยังคงปรากฏ เพียงแต่ได้รับความนิยมลดน้อยลงไป โดยใช้ในเทศกาล โอกาสพิเศษ และพิธีกรรมสำคัญเท่านั้น ดังนั้น ความคาดหวังในการดำรงอยู่ของวัฒนธรรมดนตรีกลุ่มชาติพันธุ์ม้งในลุ่มน้ำโขงตอนบนอย่างมั่นคง จึงเป็นการฝากความหวังไว้กับเยาวชนกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง

References

Boonrod, V. (2021). The Isan Folk Music : Influence on Human Changes. Journal of Humanities and Social Sciences Nakhon Phanom University, 11(1), 360-369. (In Thai)

Chantavanich, S. (2004). Qualitative research methods (12th ed.). Bangkok : Chulalongkorn University Press. (In Thai)

Indo-Pacific Defense Forum. (2019). Mekong River Basin Map. Retrieved August 3, 2021, from https://ipdefenseforum.com/th/2019/11/เงินอุดหนุนสำหรับ-แม่/ (In Thai)

Kaiyawan, Y. (2007). Research Tools. Bangkok : Bangkok Supplemental Media Center. (In Thai)

Kawla, N. (2010). Traditional Music of the Hmong in the Nong Hoi Royal Project, Mae Ram Sub-District, Mae Rim District, Chiang Mai. Research report. Chiang Mai Rajabhat University, Chiang Mai. (In Thai)

Khurasee, P. (2018). Integrating of the Dharma principles for strengthening Thai community development. ARU Research Journal, 5(3), 113-122. (In Thai)

Leepreecha, P. (2011). The Lao Hmong in Thailand: State Policies and Operations (1975-2009). Bangkok : Aroonprinting. (In Thai)

Mottang, Y. (1977). Hmong's history. Bangkok : Odeon Store. (In Thai)

Nutchanet, P. (2018). Observational Learning and Imitation Behavior from Celeb Blog. Thesis, Master of Communication Arts Program in Strategic Communications, Bangkok University, Bangkok. (In Thai)

Pantasri, P. (2015). Guidelines for Encourage, Conservation, and Development the Saw-Bang of Phu-tai people, Kalasin Province. Research report. Department of Cultural Promotion, Ministry of Culture, Bangkok. (In Thai)

Phanphet, N., & Nakpee, N. (2016). Funeral Song of Hmong in Nernperm Sub-district, Nakorntai District, Phitsanulok. Research report. Naresuan University, Phitsanulok. (In Thai)

Runghirun, M. (2006). Khang : Musical Instrument in Hmong way of life. Thesis, Master of Arts Program in Cultural Studies, Mahidol University, Nakhon Pathom. (In Thai)

Sae Vang, J., Mr. (2020, 18 December). Village Headman. Interview.

Sansongsiri P., Mr. (2021, 1 February). Chief Executive of the SAO. Interview.

Somchandra, S. (2020). The Development of Anthropology of Music in Thai Society. Journal of Social Sciences, Faculty of Social Sciences, Chiang Mai University, 32(1), 121-149. (In Thai)

Vouthisouk, D. (2008). Development and Adaptation of the Kmhmu Music of Lao People’s Democratic Republic : A Case Study of Kieung Ensemble Ban Na Muang Houn in Oudomxay Province. Thesis, Doctor of Philosophy Program in Cultural Science, Mahasarakham University, Mahasarakham. (In Thai)

Vouthisouk, D., Mr. (2021, 10 April). Educator. Interview.

Wichat, S. (2014). Hmong Music in LAO People’s Democratic Republic : its Music and Change. Thesis, Doctor of Philosophy Program in Art and Cultural Research, Khon Kaen University, Khon Kaen. (In Thai)

Young, G. (1962). The Hill Tribes of Northern Thailand : a Socio-ethnological Report (2nd ed.). Bangkok : The Siam Society. (In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-08

How to Cite

มานะสมปอง ว., พิกุลศรี เ., & เนสุสินธุ์ ส. (2021). การเปลี่ยนแปลงในวัฒนธรรมดนตรีกลุ่มชาติพันธุ์ม้งในลุ่มน้ำโขงตอนบน. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 15(4), 182–195. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2021.74