โครงการสำรวจการปรับตัวของชุมชนวิถีใหม่ในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 จังหวัดน่าน
DOI:
https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2022.48คำสำคัญ:
พฤติกรรมการใช้ชีวิต, การปรับตัว, โควิด-19, ความวิตกกังวล, การเรียนรู้บทคัดย่อ
โครงการสำรวจการปรับตัวของชุมชนวิถีใหม่ในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 จังหวัดน่าน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการใช้ชีวิต การปรับตัว ความวิตกกังวล และการเรียนรู้ของประชาชนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สู่การปรับตัวของชุมชนวิถีใหม่ในพื้นที่จังหวัดน่าน 2) ศึกษาผลพัฒนากระบวนการสร้างการเรียนรู้ในการปรับตัวของชุมชนวิถีใหม่ และ 3) จัดทำข้อเสนอแนะแนวทาง การวางมาตรการร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ การศึกษาข้อมูลเชิงปริมาณ คือ เก็บข้อมูล 400 ครัวเรือน โดยการสุ่มตัวอย่างหลายขั้นตอน และใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการวิจัยเชิงคุณภาพ จำนวน 20 คน คือ ผู้บริหาร ผู้นำชุมชน โดยการสุ่มอย่างสะดวก และใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ผลค่าดัชนีความสอดคล้องของข้อคำถามมากกว่า 0.5 และวิเคราะห์เนื้อหาจากการสัมภาษณ์แล้วมาสรุปผลและอภิปรายผล ผลการศึกษา พบว่า 1) ประชาชนส่วนใหญ่ได้มีการป้องกันตนเองอย่างสม่ำเสมอ และค่อนข้างเชื่อมั่นต่อมาตรการของภาครัฐ โรคโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตโดยเฉพาะกลุ่มคนในวัยทำงาน 2) จังหวัดน่านได้มีระบบและกลไกในการป้องกันและติดตามการแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการจัดตั้งศูนย์บริหารและเฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์ โดยมีส่วนราชการต่าง ๆ เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการ และคนในชุมชนได้มีการหารือและตกลงร่วมกันเป็นมติของชุมชนส่งผลให้เกิดการบูรณาการทำงานร่วมกัน 3) ข้อเสนอแนะแนวทางการวางมาตรการร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่พบว่า ควรใช้บุคลากรรวมถึงเครือข่ายศิษย์เก่า ที่มีความรู้เกี่ยวกับโรคระบาดโควิด และควรทำ MOU ในการทำวิจัยเกี่ยวกับโรคโควิดกับหน่วยงานในพื้นที่ให้มากขึ้น ผลลัพธ์ที่ได้จากการวิจัย พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่สามารถปรับตัวในการใช้ชีวิตวิถีใหม่ สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและเรียนรู้ที่จะอยู่กับสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ได้ในระยะยาว
References
kaoded. (2020). Nan, the front door of the screening point Strict control of entering and leaving the province. Retrieved October 28, 2020, from https://www.77kaoded.com/ news/chairat/ 1512343 (In Thai)
Chantavanich, S. (2011). Data Analysis in Qulitative Research. Bangkok : Chulalongkorn University Press. (In Thai)
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). New York : Harper Collins Publishers.
Golden Jubilee Medical Center. (2020). What is Covid-19. Retrieved October 20, 2020, from https://www.gj.mahidol.ac.th/main/covid19/covid19is/ (In Thai)
Health Focus. (2021). Covid-19 vaccines. Retrieved April 5, 2021, from https://www.hfocus.org/content/2021/02/21129 (In Thai)
Manager. (2017). The top 10 most livable cities in Thailand for a better quality of life. Retrieved April 8, 2021, from http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9520000103511 (In Thai)
Nan Provincail Statistical Office. (2020). Nan’s household. Retrieved October 25, 2020, from http://nan.nso.go.th/images/attachments/article/314/Rai-Ngan-Sathiti%20Pho-So%202562.pdf (In Thai)
Prisorn, W., & Jeerangsuwan, N. (2017).Stimulating learning for Generation Z learners with Gamication. .Journal of Technical Education DevelopmentofKing Mongkut's University of Technology North Bangkok, 30(1), 13-22. (In Thai)
Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion- referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2, 49-60.
Roy, C. (1984). Introduction to Nursing: An Adaptation Model (2nd ed.). Englewood Cliffs, New Jersey : Prentice Hall.
Roy & Andrews, (1999). The Roy’s Adaptation Model. Stamford : Appleton & Lange.
Sattayatum, C. (1998). Psychiatric and Mental Health Nursing (3th ed.). Nonthaburi :Yuttharin Printing. (In Thai)
Shirky, C. (2011). The political power of social media: Technology, the public sphere, and political change. Foreign affairs, 28-41.
Suvanamongkol, P. (2014).The Role of Rajabhat University in Civic Education for Democracy. Journal of PraeWaKalasin of Kalasin Rajabhat University, 1(1), 100-108. (In Thai)
Ware, A. (2020). COVID-19 and learning to change health behavior. Journal of The Health Education Professional Association, 35(1), 24-29. (In Thai)
World Health Organiztion. (2019). Coronavirus disease (covid-19). Retrieved October 15, 2020, from https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019/question-and-answers-hub/q-a-detail/coronavirus-disease-covid-19
Yamane, T. (1973 ). Statistics: An Introductory Analysis (3rd ed.). New York : Harper and Row Publications.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.