รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 สำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • ชยพล ธงภักดี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • จักรพงษ์ พร่องพรมราช

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2021.66

คำสำคัญ:

สมรรถนะการจัดการเรียนรู้, รูปแบบการพัฒนา, สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

บทคัดย่อ

       การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยกำหนดขอบเขตพื้นที่เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31 จังหวัดนครราชสีมา แบ่งออกเป็น 3 ตอน ตามวัตถุประสงค์การวิจัย ดังนี้ ตอนที่ 1 การกำหนดความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ กำหนดกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารและครูผู้สอน โดยใช้วิธีสุ่มอย่างง่ายแบบจับฉลาก จำนวน 396 คน ใช้แบบสอบถาม จำนวน 2 ฉบับ ซึ่งมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.93 และ 0.90 ตามลำดับ เก็บรวบรวมข้อมูลทางไปรษณีย์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการคำนวณหาค่า PNI Modified ตอนที่ 2 การศึกษารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการจัดการความรู้ กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์ Hair et al. โดยเจาะจงเป็นครูผู้สอนโดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน รวมทั้งสิ้น 668 คน ใช้แบบสอบถาม 3 ฉบับ ที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.92, 0.91 และ 0.90 ตามลำดับ เก็บรวบรวมข้อมูลแบบออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติหาค่าการแจกแจงแบบปกติ ค่าความเบ้และความโด่ง ค่า KMO Bartlett’s test of spericity และผลค่าค่าสถิติจากโปรแกรม LISREL ตามเกณฑ์ค่าความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และตอนที่ 3 การประเมินรูปแบบ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเลือกแบบเจาะจงเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 12 คน ใช้แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้เก็บรวบรวมข้อมูลแบบออนไลน์ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษ ที่ 21 ทุกรายการโดยมีค่าความต้องการจำเป็นอยู่ระหว่าง 0.06 ถึง 0.23 ซึ่งความต้องการจำเป็นที่มีความสำคัญเป็นลำดับที่หนึ่งคือ ด้านทักษะ (0.23) ลำดับที่สอง คือ ลักษณะนิสัย (0.06) และรายการความต้องการจำเป็นที่มีความสำคัญน้อยที่สุด คือ ด้านความรู้ (0.06) โมเดลสมการโครงสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-Square=23.87, df=12, p=0.264) และรูปแบบการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย การฝึกอบรม การนิเทศแบบคลินิก และการสร้างชุมชนการเรียนรู้เชิงวิชาชีพครูในการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู โดยผู้ทรงคุณวุฒิได้ประเมินรูปแบบ พบว่า ภาพรวมมีความเหมาะสม และมีความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมาก ซึ่งมีค่ามากกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

References

Bray, M. (2003). Adverse effects of private supplementary tutoring dimensionary implications and government responses. Paris : IIEP-UNESCO.

Cronbach, L. J. (1984). Essential of psychology testing. New York : Harper.

Education Council Secretariat. (2013). National Qualifications Framework (Thailand NQF). Bangkok : Office of the Education Council Secretariat. (In Thai)

Eison, J. A., & Bonwell, C. C. (1993). Recent works on using active learning strategies across the disciplines. Unpublished manuscript.

Garet, M., Porter, A., Desimone, L., Birman, B., & Yoon, K. (2001). What makes professional development effective? Analysis of a national sample of teachers. American Educational Research Journal, 38, 915-945.

Hair, J. F., Celsi, M., Ortinau, D. J., & Bush, R. P. (2010). Essentials of marketing research (2nd ed.). New York, NY : McGraw-Hill/Irwin.

Kaufman, R., & English, F. W. (1981). Need assessment concept and application (3rd ed.). New York : Education Technology.

King Mongkut’s University of Technology. (2014). Learning skills in the 21st century. Bangkok : Center for Quality Management, King Mongkut’s University of Technology. (In Thai)

Likert, S. (1961). New patterns of management. New York : McGraw-Hill.

Office of the Education Council. (2017). Educational Development Plans for Regions and Provinces. Bangkok : Ministry of Education. (In Thai)

Office of the Education Council. (2018). Teacher Competency Research Report and Teacher Development Guidelines in a Changing Society. Bangkok : Ministry of Education. (In Thai)

Palmer, P. J. (1997). The Courage to Teach: Exploring the Inner Landscape of a Teacher’s Life. New York : Harper Collins Publishers.

Partnership for 21st Century Skills (2009). 21st Century Skills Assessment. Retrieved March 8, 2015, from m www.p21.org/storage/.../21st_ Century Skills Assessment pdf

Siladech, C. (2016). The Development Teacher’s Competencies and Indicators in Teaching Management of World-Class Standard School. Thesis, Doctor of Philosophy Program in Curriculum and Instruction, Graduate School, Silpakorn University, Nakhon Prathom. (In Thai)

Sinlarat, P. (2014). 21st century teacher. Bangkok : Chulalongkorn University Press. (In Thai)

Siripala, W. (2017). The Rajabhat Model of Teachers’s Professional Development. Thesis, Doctor of Philosophy of Education Program in Educaitonal Administration, Saim University, Bangkok. (In Thai)

Srisa-ard, B. (2010). Preliminary research (8th ed.). Bangkok : Suwiriyasan. (In Thai)

Tharaworn, K., & Tangdhanakanond, K. (2016). A Needs Assessment of Teachers for Developing Learning Assessment of Secondary School Students. OJED An Online Journal of Education, 11(3), 374-389. (In Thai)

The Secondary Educational Service Area Office Nakhon Ratchasima. (2018). Affiliated to school. Retrieved June 10, 2018, from http://www.mattayom31.go.th/rongreiyn-ni-sangkad (In Thai)

Udom, C., Sachdev, H., & Trangwattana, S. (2018). Development of Causal Model in Effectiveness of Organizational of Rajabhat University Rattakosin Group. Journal of MCU Peace Studies, 6(3), 1095-1112. (In Thai)

Vanichbuncha, K. (2005). Statistics for research. Commerce and Accountancy, Chulalongkorn University. (In Thai)

Wangmichongmi, C., & Naiphat, O. (2019). Competency of Thai Teacher in 21st Century: Wind of Change. Journal of HR intelligence, 12(2), 47-63. (In Thai)

Watkins, K. E., & Marsick, V. J. (1999). Building the learning organization: A new role for Human resource developer. Studies in Continuing Education, 14(2), 124.

Wirachchai, N., & Vongwanich, S. (2005). An Evaluation of Need Assessment. Bangkok : Chulalongkorn University. (In Thai).

Witkin, B. R., & Altschuld, J. W. (1995). Planning and conducting needs assessments. Thousand Oaks : Sage Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-07

How to Cite

ธงภักดี ช., & พร่องพรมราช จ. (2021). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 สำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดนครราชสีมา. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 15(4), 70–84. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2021.66