การพัฒนารูปแบบสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อการท่องเที่ยววิถีถิ่นริมคลอง เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร
DOI:
https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2021.65คำสำคัญ:
รูปแบบสื่อประชาสัมพันธ์, ท่องเที่ยววิถีถิ่นริมคลอง, เขตลาดกระบังบทคัดย่อ
ความสำคัญของพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวอันควรศึกษาเรียนรู้และพัฒนาก่อให้เกิดรายได้โดยนำการประชาสัมพันธ์มาใช้เป็นเครื่องมือสร้างอัตลักษณ์ดึงดูดความสนใจ ดังนั้นในงานวิจัยแบบผสมผสานครั้งนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและพัฒนารูปแบบสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อการท่องเที่ยววิถีถิ่นริมคลอง เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร กำหนดกลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงปริมาณ จำนวน 400 คน ด้วยการสุ่มแบบบังเอิญโดยใช้แบบสอบถามความต้องการที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85 เก็บรวบรวมข้อมูลในพื้นที่และรับกลับคืนครบตามจำนวน นำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยสถิติพื้นฐานเพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพเลือกแบบเจาะจง 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 20 คน และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ 5 คน ใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง จำนวน 2 ฉบับ ที่มีความสอดคล้องและเหมาะสม เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่มและเสวนา และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาจำแนกตามประเด็นสำคัญเป็นรายด้านและรายประเด็น ผลการวิจัยพบว่า เหตุผลสำคัญคือ ได้สัมผัสและมีโอกาสได้เรียนรู้วิถีวิถีถิ่นริมคลองที่ยังคงอัตลักษณ์แบบดั้งเดิมจากทำเลที่ตั้งตามช่องทางเฟสบุ๊ก โดยต้องการมาเที่ยวกับเพื่อนด้วยการพายเรือดูธรรมชาติ วัฒนธรรม และการเกษตร เลือกพักโฮมสเตย์ที่เน้นเรื่องราวและภาพจากสื่อโซเชียลมีเดียและนิยมท่องเที่ยวในฤดูร้อน และมีความต้องการด้านข้อมูลการประชาสัมพันธ์กิจกรรมการท่องเที่ยวมากที่สุด โดยมีแนวทางการพัฒนารูปแบบคือ 1) การทำให้เป็นที่รู้จักทั่วไป 2) เอกลักษณ์และจุดเด่นของกิจกรรม 3) การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จัดกิจกรรมท่องเที่ยววิถีถิ่นริมคลอง 4) การรักษาสภาพแวดล้อมให้สะอาด ปลอดภัย 5) การใช้สื่อโซเชียลออนไลน์ทุกรูปแบบเพื่อประชาสัมพันธ์ 6) การรวมกลุ่มสร้างงานเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยว และ 7) การเสริมคุณค่าของอัตลักษณ์ทางประวัติศาสตร์นำเสนอแหล่งท่องเที่ยว นำมาสู่การพัฒนารูปแบบสื่อประชาสัมพันธ์ 4 ด้าน คือ 1) การดำเนินงานประชาสัมพันธ์ 2) กลุ่มเป้าหมายการประชาสัมพันธ์ 3) เนื้อหาการประชาสัมพันธ์ และ 4) เครื่องมือการประชาสัมพันธ์ ซึ่งจะนำไปสู่การต่อยอดเส้นทางกิจกรรมการสร้างจุดขายของวิถีถิ่นริมคลองที่เข้มแข็งอย่างยั่งยืน
References
Bailey, K. D. (1987). Methods of Social Research (3rd ed.). New York : The Free Press.
Buabangphlu, P. (2016). Guidelines for Management of Sustainable Eco-tourism: A Case Study of Khaokhitchakut National Park, Chantaburi Province. Research Report. Faculty of Education, Rambhai Barni Rajabhat University, Chantaburi. (In Thai)
Ceballos-Lascurain, H. (1996). Tourism, ecotourism, and protected areas: The state of nature-based tourism around the world and guidelines for its development. Cambridge : Lucn.
Chaokongjak, N. (2019). Public Relations Model On Social Media For Improving The Image Of Faculty Of Nursing Mahidol University. Thesis, Master of Education in Educational Technology Program, Graduate School, Silpakorn University, Nakhon Prathom. (In Thai)
Choothong, R., & Tongwassanasong, N. (2018). The Public Relations and Tourism Promotion system using Beacon. Research Report. Rajamangala University of Technology Rattanakosin, Nakhon Pathom. (In Thai)
Hongsup, A. (2014). The Guidelines for Developing Hot Spring Resource in Health Tourism Destination Management in Northern Thailand. Thesis, Master of Science Program in Sports Science Faculty of Sports Science, Chulalongkorn University, Bangkok. (In Thai)
Ketverapong, R. (2021). Public Relations Media Creation for Thai Lue Luang Tai Woven Favric, Doi Sa Ket Sub District, Chian Mai Province by Community Participatory Process. College of Social Communication Innovation, 9(1), 114-123. (In Thai)
Khamwan, M. (2019). Opportunities and Challenges of OTOP Village Development for Tourism (OTOP Village), Thai District, Loei Province. Research Report. Faculty of Humanities and Social Sciences, Loei Rajabhat University, Loei. (In Thai)
Khaosod Online. (2021). Sod-Chak-Yaowachon-Chumchon-Roipi-Withi-Hua-Takhe. Retrieved June 29, 2021, from https://www.khaosod.co.th/newspaper/newspaper-inside-pages/news_6369875 (In Thai)
Klinkhajorn, S. (2018). The Model Development of Tourism Management Local to Create a New Identiry of the Tourism of Mueang Roikoh. Thesis, Doctor of Philosophy Program in Development Education, Department of Basic Education, Graduate School, Silpakorn University, Nakhon Pathom. (In Thai)
Lapiratanakul, W. (2010). Public relations : Complete version (10th ed.). Bangkok : Chulalongkorn University. (In Thai)
Marston, J. E. (1979). Modern public relations. New York : McGraw-Hill.
Mclntosh, R. P. (1975). HA Gleason-" Individualistic ecologist" 1882-1975: His contributions to ecological theory. Bulletin of the Torrey Botanical Club, 102(5), 253-273.
Phophrueksanan, N. (2018). The Participation of Communities Lam Phaya Floating Market Nakhon Pathom Province in Sustainable Tourism Management. Research Report. Faculty of Liberal Arts, Rajamangala University of Technology Phra Nakhon, Bangkok. (In Thai)
Roscoe, J. T. (1975). Fundamental Research Statistics for the Behavioral Sciences. New York : Holt Rinehart and Winston.
Stark, S. E. (1993). The Effects of Employing Environmental Management" Best Practices" on Single Family Development. Dissertation, Doctoral of Philosophy Program in George Washington University, United States of America.