การพัฒนาศักยภาพชุมชนในการจัดการความขัดแย้งด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • ณภัทร น้อยน้ำใส มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2021.70

คำสำคัญ:

การพัฒนาศักยภาพชุมชน, ศูนย์การเรียนรู้ลุ่มน้ำ, ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, ระดับความสำเร็จ ของโครงการ CIPP Model

บทคัดย่อ

การพัฒนาศักยภาพชุมชนในการจัดการความขัดแย้งด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดนครราชสีมา เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์ประเด็นปัญหาความขัดแย้ง ประเมินผลโครงการภายใต้แนวพระราชดำริ และนำเสนอต้นแบบศูนย์การเรียนรู้ กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยไม่ใช้ความน่าจะเป็น ด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มภาคประชาชน 660 คน และกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 150 คน ใช้แบบสอบถามระดับความรุนแรงของปัญหา แบบประเมินโครงการ CIPP Model และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ซึ่งผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญเรียบร้อยแล้ว เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการแจกแบบสอบถาม ประสานการจัดเวทีสาธารณะ การจัดแบ่งกลุ่มระดมความคิดเห็นและความต้องการ ร่วมกับการสังเกตและการบันทึกข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามด้วยสถิติพื้นฐาน ได้แก่ จำนวน และค่าร้อยละ ข้อมูลการประเมินผลโครงการ โดยการหาค่าตัวชี้วัดเป็นค่าเฉลี่ย และข้อมูลจากผลการประชุมและการจัดเวทีสาธารณะ โดยการวิเคราะห์เนื้อหาแบบจับประเด็นสำคัญ ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาด้านการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนที่ส่วนใหญ่ยังให้ความรุนแรงของปัญหาปานกลาง ซึ่งแตกต่างจากปัญหาด้านสุขภาวะชุมชนและด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีเพียงเล็กน้อย ผลการประเมินโครงการ พบว่า พื้นที่ลุ่มน้ำลำเชียงไกรมีความสำเร็จด้านกระบวนการระดับดีมากที่สุด รองลงมาคือ พื้นที่ลุ่มน้ำลำตะคองมีความสำเร็จด้านบริบทระดับดีมาก และพื้นที่ลุ่มน้ำลำมูล-ลำพระเพลิงมีความสำเร็จด้านบริบทระดับดีมาก และมีการดำเนินการเพื่อจัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบร่วมทั้งสิ้น 12 โครงการ

Author Biography

ณภัทร น้อยน้ำใส, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เลขที่ 340 ถนนสุรนารายณ์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา 30000

References

Bua-in, N., Sutham, P., & Rattanpun, S. (2016). The Development of Potential Community by the Community Master Plan of Ban Chay Wat, Sawiat Subdistrict, The Chang District, Surat Thani Province. Suratthani Rajabhat Journal, 3(2), 193-212. (In Thai)

Follett, M. P. (1927). Dynamic administration. New York : Harper & Brothers.

Government Gazette. (2018). Water Resources Master Management Plan 20 years, B. E. 2561-2580. Retrieved September 2, 2019, from https://wr.pwa.co.th/data/_uploaded/file/Law/MasterPlan 20years_2561to2580.pdf (In Thai)

Greenberg, J., & Baron, R. A. (2003). Behavior in Organizations: Understanding and Managing the Human Side of Work (8th ed.). NJ : Prentice Hall.

Khemklad, C., & Phuangngam, K. (2004). Applied Participatory Action Research. Bangkok : Sama-Thom. (In Thai)

Khuwaranyu Thiangkamon, N. (2008). Kan-Borihan-Chatkan-Singwaetlom-Lae-Sapphayakonthammachat Yang-Yang-Yuen. Retrieved October 1, 2015, from http://ebook.msu.ac.th/ebook/pdf/ 060717045536.pdf (In Thai)

Leung, K., & Tjosvold, D. (1998). Conflict Management in the Asia Pacific: Assumptions and Approaches in Diverse Cultures. Singapore : John Wieley & Sons.

Ministry of Social Development and Human Security. (2011). Strategy of the Ministry of Social Development and Human Security B. E. 2559-2559. Bangkok : Office of the Permanent Secretary, Ministry of Social Development and Human Security.

Moorhead, G., & Griffin, R. W. (2001). Organizational Behavior, Managing people and Organization (5th ed.). U.S.A. : Houghton Mifflin Company.

Nelson, D. L., & Quick, J. C. (1997). Organizational Behavior : Foundations, Realities, and Changes. St. Paul, MN : West.

Office of Natural Resources and Environmental Policy and Planning. (2012). Environmental Quality Management Plan 2012-2016. Bangkok : Rong-Phim-Dokbia. (In Thai)

Pengsawat, W. (2008). Research methodology. Bangkok : Suwiriyasan. (In Thai)

Phalivong, S. (2013). People’s Participation of Dust Paoblem Management in Vientiane Municipality Area. Thesis, Master of Arts Program in Man and Environment Management, Changmai University, Chang Mai. (In Thai)

Saksung, A., Sittichok, T., Natee, W., Lapi-e, A., Pawajitranontra, S., O-satarn, A., & Tumsuwan, P. (2018). Project Evaluation of the “3 Million People, 3 Years for Stop smoking Therdthai King” Policy : A case study of Songkhla and Satun Province. Report Report. Thai Health Promotion Foundation (Thai Health), Tobacco Control Research and Knowledge Management Center (TRC), Bangkok. (In Thai)

Sanyawiwat, S. (2007). Sociological Theory Basic content and guidelines for utilization. Bangkok : Chulalongkorn University Press. (In Thai)

Sinthonko, A. (2017). Solving Environmental Problems of Local Administrative Organizations : A Case Study of Gateway City Industrial Estate Chachoengsao province. Community Research Report. Research and Development Office King Prajadhipok’s Insititute, Bangkok. (In Thai)

Srisa-ard, B. (2013). Preliminary research (9th ed.). Bangkok : Suwiriyasan. (In Thai)

Stufflebeam, D. L., & Shinkfield, A. J. (2007). Evaluation Theory, Models, & Application. San Francisco : John Wilwy.

Suanthong, P. (2017). Concepts and Theories to Study Natural Research and Environment Management : On the View of Political Economic. Journal of Political Economy, 5(2), 95-118. (In Thai)

Sukhothaithammathirat Open University. (2014). Project Analysis and Plans Units 9-15. Bangkok : Sukhothaithammathirat Open University. (In Thai)

Thailand Environment Institute. (2013). Sammana-Wichakan-20-Pi-TEI-Kap-Thotsawat-Khangna. Nonthaburi : Ma-Ta-Kan-Phim. (In Thai)

Wasi, P. (2011). Community health system development : Community wellness is the foundation of all wellness. In the 1st forum for community health system development (pp. 3-8). Bangkok : P.A. Living. (In Thai)

Yothachan, P. (2019). Legel Measures to Promote Industrial Factory’s Participation in Natural Resources and environment Conservation. Journal of Research and Development Institute, Rajabhat Maha Sarakham University, 6(2), 357-380. (In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-07

How to Cite

น้อยน้ำใส ณ. (2021). การพัฒนาศักยภาพชุมชนในการจัดการความขัดแย้งด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดนครราชสีมา. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 15(4), 125–139. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2021.70