การสร้างองค์ความรู้ด้วยกระบวนการถอดแบบชุมชน : กรณีการใช้จอบ

ผู้แต่ง

  • ภาณุชัย ประมวล คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน
  • ศักดิ์ศรี รักไทย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2022.53

คำสำคัญ:

องค์ความรู้, การสร้างองค์ความรู้, การถอดแบบชุมชน

บทคัดย่อ

    กระบวนการถอดแบบชุมชนเป็นการนำความรู้ที่เกิดจากการสะสมประสบการณ์ที่ผ่านการพิสูจน์โดยตรงจากผู้ปฏิบัติงานจริงที่ซ่อนเร้นอยู่ในตัวคนมาถ่ายทอดให้กับผู้ที่ขาดความรู้และประสบการณ์ให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและลดความเสียหายที่เกิดจากการลองผิดลองถูกในการทำงาน การศึกษาวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างองค์ความรู้ด้วยกระบวนการถอดแบบชุมชนกรณีการใช้จอบ กำหนดกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญด้วยวิธีการเจาะจง (Purposive sampling) จำนวน 11 คน ที่เกิดในครอบครัวเกษตรกรรม และปัจจุบันยังคงประกอบอาชีพเกษตรกรรมที่มีการใช้เครื่องผ่อนแรงทางการเกษตร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างเกี่ยวกับองค์ความรู้เรื่องวิธีการเลือก และวิธีการเก็บรักษาจอบ และแบบสังเกตองค์ความรู้เรื่องวิธีการใช้จอบ ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการประจำหลักสูตร เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกเกี่ยวกับองค์ความรู้วิธีการเลือกและวิธีการเก็บรักษาจอบ ร่วมกับการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมด้านองค์ความรู้เรื่องวิธีการใช้จอบ โดยใช้กล้องบันทึกภาพรายละเอียดขณะใช้จอบ ด้วยเทคนิคการถ่ายภาพแบบโรโตสโคป (Rotoscope) วิเคราะห์ข้อมูลวิธีการเลือกใช้ และวิธีการเก็บรักษาจอบ โดยใช้สถิติหาความถี่ร่วมกับการหาค่าเฉลี่ย วิเคราะห์ข้อมูลองค์ความรู้เรื่องวิธีการใช้จอบ โดยการวิเคราะห์ภาพถ่ายกิริยาและพฤติกรรมที่ซ้ำ ๆ กัน ขณะใช้จอบ ผลการศึกษาพบว่าองค์ความรู้เรื่องจอบ ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1) องค์ความรู้เรื่องการเลือกใช้จอบ 2) องค์ความรู้เรื่องวิธีการใช้จอบ และ 3) องค์ความรู้เรื่องวิธีการเก็บรักษาจอบ ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่ถอดแบบจากทักษะความชำนาญและประสบการณ์ที่สะสมเป็นระยะเวลานานของผู้ให้ข้อมูลสำคัญ สอดคล้องกับหลักการได้เปรียบเชิงกลของเครื่องผ่อนแรงทางเกษตรและหลักการยศาสตร์ ที่เมื่อนำไปปฏิบัติแล้วจะสามารถใช้จอบได้อย่างปลอดภัย ลดอาการบาดเจ็บและลดการใช้เครื่องจักรกลเกษตรที่มีน้ำหนักมากอันนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติทางการภาพของดินต่อไป

References

Akkarapawarit, M., & Lertrujidumrongkul, P. (2020). Preliminary Study: Modification of Rubber Plantation Areas Through Media Learning which Reinforce Local's Way of Life for Better Life Style. Thai Journal of Health Education, 43(2), 201-211. (In Thai)

Chidmongkol, S. (2011). Research Methods in Behavioral Sciences and Social Sciences. Udon Thani : Printing press, Udon Thani Rajabhat University. (In Thai)

Hombubpha, S., Subruangthong, S., & Subruangthong, W. (2020). The development of integrated farming system for smog pollution problem solving from agricultural burning areas. Journal of Graduate Review Nakhon Sawan Buddhist College, 8(2), 1-16. (In Thai)

Ketwetsuriya, A. (2016). The Development of Reed Processing by Using Local Wisdom for Promoting Community Enterprise in School. Dhamathas Academic Journal, 16(2), 1-11. (In Thai)

Khamkom, J. (n.d.). Volume 2 Agricultural tools, soil and fertilizers. n.p. : n.p. (In Thai)

Mahasarakham University. (2012). Update course 2012: Bachelor of Science Program in Agricultural Technology. Mahasarakham : Bachelor of Science Program in Agricultural Technology Mahasarakham University. (In Thai)

Maksuwan, A. & Changjan, A. (2019). Principles of Simple Machine for Agricultural Hand Tools. Pathum Thani : Rangsit University. (In Thai)

Maksuwan, A. (2019). Using of The Simple Agricultural Hand Tools : Final Report. Research Report. Pathumwan Institute of Technology, Bangkok. (In Thai)

Maksuwan, A. (2020). Principles and Mechanical Advantage Values of Simple Machine and Complex Machine for Agricultural Hand Tools. Journal of Vocational Institute of Agriculture, 4(1), 1-19. (In Thai)

Office of the Vocational Education Commission. (2019). 2019 Curriculum for the Certificate of Vocational Education in Agriculture. Bangkok : Office of the Vocational Education Commission, The Ministry of Education. (In Thai)

Sriupayo, N., & Suyarat, S. (2017). Agricultural Management model in the Cityurban: a case study The Pattern of Study CentreofLearning center in Sufficiency Economy philosopher According to His Majesty's Initiative, Pa-Hget-Tee Village, Hnongpueng Sub-district, Sarapee District, Chiang Mai Province . FEU Academic Review Journal, 11(3), 261-275. (In Thai)

Sudachom, W., Kongsomchom, A., & Janwantanakul, P. (2019). Chronic pain of scapular muscles can radiate down to the arms. Siriraj Medical Bulletin, 12(3), 180-187. (In Thai)

Thanamai, S. (2019). vocational education for rural development decoding. Pathum Thani : Rangsit University. (In Thai)

The Ministry of Education. (2018). The Basic Education Core Curriculum B.E. 2551 (A.D. 2008). Bangkok : Office of the Basic Education Commission, The Ministry of Education. (In Thai)

Ubon Ratchathani University. (2017). Update course 2017: Bachelor of Science Program in Agricultural. Ubon Ratchathani : Bachelor of Science Program in Agricultural Ubon Ratchathani University. (In Thai)

ภาพ 4 พฤติกรรมการยกจอบ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-17

How to Cite

ประมวล ภ., & รักไทย ศ. (2022). การสร้างองค์ความรู้ด้วยกระบวนการถอดแบบชุมชน : กรณีการใช้จอบ. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 16(3), 167–178. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2022.53