ความพร้อมในการเข้าร่วมกิจกรรมของโรงเรียนผู้สูงอายุในช่วงของการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ของนักเรียนโรงเรียนผู้สูงอายุในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ปาจรีย์ ผลประเสริฐ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
  • กนิษฐา ศรีภิรมย์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
  • ณัฐนันท์ คงยิ่งใหญ่ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2022.44

คำสำคัญ:

โรงเรียนผู้สูงอายุ, โรคโควิด-19, การวิเคราะห์จำแนกประเภท

บทคัดย่อ

    จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบอย่างมากต่อการรวมกลุ่มหรือการพบปะสังสรรค์ทางสังคมรวมถึงการจัดกิจกรรมของโรงเรียนผู้สูงอายุที่ทำให้หลายแห่งต้องมีการชะลอการเปิดดำเนินงานหรือการปรับรูปแบบกิจกรรมที่เหมาะสมกับนักเรียนมากยิ่งขึ้น โดยการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความผูกพัน ทักษะความสามารถด้านดิจิทัล ความต้องการพัฒนาตนเองและการได้รับการสนับสนุนในการเข้าร่วมกิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุ และวิเคราะห์ปัจจัยที่สามารถจำแนกความพร้อมและความไม่พร้อมในการเข้าร่วมกิจกรรมในสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ของนักเรียนโรงเรียนผู้สูงอายุในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนโรงเรียนผู้สูงอายุจำนวน 795 คน โดยทำการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multistage sampling) จำแนกตามประเภทของโรงเรียนเป็นผู้เรียนโรงเรียนผู้สูงอายุต้นแบบ จำนวน 400 คน และผู้เรียนโรงเรียนผู้สูงอายุที่ไม่ได้เป็นต้นแบบจำนวน 400 คน สามารถใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้จริง จำนวน 795 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามซึ่งมีค่า IOC มากกว่า 0.6 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์จำแนกประเภท (Discriminant analysis) แบบขั้นตอน (Stepwise method) ผลการวิจัยพบว่า ความผูกพันต่อโรงเรียนผู้สูงอายุ ทักษะความสามารถด้านดิจิทัล ความต้องการพัฒนาตนเองและการได้รับการสนับสนุน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านความผูกพันต่อโรงเรียนผู้สูงอายุ และด้านการได้รับการสนับสนุนอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านความต้องการพัฒนาตนเองในโรงเรียนผู้สูงอายุอยู่ในระดับมาก ในขณะที่ด้านทักษะความสามารถด้านดิจิทัลอยู่ระดับปานกลาง ตัวแปรที่สามารถจำแนกกลุ่มความพร้อม และไม่พร้อมของนักเรียนโรงเรียนผู้สูงอายุประเทศไทยในการทำกิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุ มี 2 ตัวแปร ได้แก่ ด้านทักษะความสามารถด้านดิจิทัล (Digital capability) และด้านการได้รับการสนับสนุน (Support) 

References

Boulton-Lewis, G. M., Buys, L., Lovie-Kitchin, J., Barnett, K., & David, L. N. (2007). Ageing, learning, and computer technology in Australia. Educational Gerontology, 33(3), 253-270.

Cheethangdee, K. (2019). The Guidelines for Development of Elderly Schools Performance in Lopburi Province. Pathumthani University Academic Journal, 11(2), 324-335. (In Thai)

Department of Older Persons. (2016). School Manual for the Elderly. Bangkok : Department of Older Persons. (In Thai)

Department of Older Persons. (2021). Registration of elderly schools 2021. Retrieved November 11, 2021, from https://www.dop.go.th/thai/service_information/1/14 (In Thai)

Department of Older Persons. (2021). The Action Plan for the Elderly, Phase 2 (2002-2022), Revision 2nd Ed, 2020. Retrieved June 11, 2021, from https://www.dop.go.th/th/th./laws/1/28 (In Thai)

Department of Older Persons. (2022). Statistics of the elderly. Retrieved January 15, 2022, from https://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/857 (In Thai)

Devalersakul, N., Siriwarakoon, W., & Roadyim, C. (2016). The Development of the Elderly as a Burden to Power: Case Study of Rangsit City Municipality. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 9(1), 529-545. (In Thai)

Formosa, M. (2019). Universities of the Third Age. Encyclopedia of Gerontology and Population Aging (pp. 1-6). Cham : Springer International Publishing.

Foundation of Thai Gerontology Research and Development Institute (TGRI). (2021). Situation of the Thai Elderly 2020. Nakhon Pathom: Institute for Population and Social Research, Mahidol University. (In Thai)

Kaewprom, C., In-Sricheun, S., Pongpumma, L. (2020). Self-esteem among Old Persons Participating in the Elderly School. Journal of Health Sciences Scholarship, 7(1), 76-89. (In Thai)

Khampuk, P., & Srirungruang, P. (2005). Stakeholders’ Opinion Toward Setting-up Hua-ngomSubdistrict Senior Citizen School, Phan District, Chiang Rai Province. National and International Conference Interdiscliplinary Resaearch for Local Development Sustainabillity 15th (pp. 139-150). Retrieved September 7, 2021, from http://gs.nsru.ac.th/files/2/12พวงนรินทร์%20%20คำปุก.pdf (In Thai)

Klichaya, P. (2020). The use of digital technology by the elderly and proposals for enhancing the empowerment of the Thai elderly. Retrieved September 7, 2021, from https://thaitgri.org/?p=39594 (In Thai)

Miankerd, W., & Ratanachuay, S. (2019). Promoting the development and monitoring of school operations for the elderly. Journal of MCU Peace Studies, 7(6), 1635-1651. (In Thai)

National Statistical Office. (2018). Demographic statistics Population and housing. Retrieved June 2, 2021, from http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/01.aspx (In Thai)

Ordonez, T. N., Lima-Silva, T. B., & Cachioni, M. (2011). Subjective and psychological well-being of students of a University of the Third Age: Benefits of continuing education for psychological adjustment in the elderly. Dementia & neuropsychologia, 5(3), 216-225.

Rojanaprapha, W. (2017). Behavioral of Using Technology Affecting the Happiness Levels of the Elderly in Bangkok Metropolitan. Graduate school Suan Dusit University, 13(1), 89-104.

Saeloo, J., Kaewkrachok, T., & Samdaengsarn, D. (2021). How Social Support and Health Literacy Influence Quality of Life of Elders in Mueang District of Nakhon Si Thammarat. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 8(2), 39-52. (In Thai)

Songsri, C., Fuongtong, P., & Muenthaisong, S. (2018). Older Adults in Information Society. Udonthani Hospital Medical Journal, 26(3), 216-227. (In Thai)

Srisa-ard, B. (2017). Preliminary research (10th ed.). Bangkok :S uweerivasarn. (In Thai)

Srisupan, P., Tammiggabaworn, S., & Krisnajuta, S. (2017). The Elderly School and the Capacity Building of Isan Local Communities. Journal of Development Studies, 14(1), 133-162. (In Thai)

Tirakanan, S. (2007). Creating a tool to measure variables in social science research: a guide to practice. Bangkok : Chulalongkorn University Press. (In Thai)

Tirakoat, S., & Polnigongit, W. (2018). Internet usage behaviors, literacy, and attitude towards utilization of wellness content on the internet among Thai elderly. Journal of Nursing and Health Care, 36(1), 72-80. (In Thai)

Wangmahaporn, P. (2012). Cooperation in the management of schools for the elderly: Cross-case analysis. Bangkok : Center for Research Promotion and Development, Sripatum University. (In Thai)

Wanichbuncha, K., & Wanichbuncha, T. (2014). The use of SPSS for Windows in data analysis. (14th ed.). Bangkok : Samlada Printing House. (In Thai)

Yamane, T. Statistics : An Introductory Analysis (2nd ed.). New York : Harper & Row.

ภาพ 1 กรอบแนวคิดการวิจัย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-05

How to Cite

ผลประเสริฐ ป., ศรีภิรมย์ ก., & คงยิ่งใหญ่ ณ. (2022). ความพร้อมในการเข้าร่วมกิจกรรมของโรงเรียนผู้สูงอายุในช่วงของการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ของนักเรียนโรงเรียนผู้สูงอายุในประเทศไทย. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 16(3), 42–55. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2022.44