การวิเคราะห์ต้นทุน ผลตอบแทน และอัตราส่วนทางการเงินจากการทอผ้าไหมมัดหมี่ ชุมชนบ้านมาบสมอ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • ผกามาศ บุตรสาลี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2022.49

คำสำคัญ:

การวิเคราะห์ต้นทุน, การวิเคราะห์ผลตอบแทน, การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน, กลุ่มทอผ้าไหมมัดหมี่

บทคัดย่อ

การวางแผนกำไรของกิจการจำเป็นต้องทราบต้นทุนของผลิตภัณฑ์เพื่อนำไปใช้กำหนดราคาขายได้อย่างเหมาะสม ดังนั้นงานวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประเภทต้นทุน ประเภทผลตอบแทน ปริมาณต้นทุน ปริมาณผลตอบแทน ปริมาณสินทรัพย์รวมของกลุ่ม ปริมาณเงินลงทุนของกลุ่ม วิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทน และวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน กำหนดกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจงเป็นกลุ่มทอผ้าไหมมัดหมี่ชุมชนบ้านมาบสมอ ตำบลหนองตาด อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 15 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างซึ่งผ่านความเห็นชอบจากผู้ทรงคุณวุฒิทางการบัญชีไปเก็บรวบรวมข้อมูลตามเทคนิค AIC วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และหาค่าแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า ประเภทต้นทุน ประกอบด้วย 1) วัตถุดิบทางตรง ได้แก่ ค่าเส้นไหม ค่าด้ายซีกวง ค่าสีย้อมไหม และค่าด่างฟอกไหม 2) ค่าแรงทางตรง ได้แก่ ค่าแรงงจากการทอ ค่าแรงจากการมัดหมี่ ค่าแรงจากการสาวไหม และค่าแรงจากการย้อมสีไหม 3) ค่าใช้จ่ายในการผลิต ได้แก่ ค่าน้ำประปา ค่าฟืน ค่าเชือกฟางมัดหมี่ ค่าน้ำยาล้างไหม ค่าสบู่เทียม และค่าเสื่อมราคา และ 4) ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ได้แก่ ค่าขนส่งออก ค่าถุงแพ็ค และค่าสติ๊กเกอร์ สำหรับประเภทผลตอบแทน ได้แก่ รายได้จากการขายผ้าไหมมัดหมี่ โดยมีปริมาณต้นทุนการผลิต 949,060.00 บาท ปริมาณผลตอบแทนจากการขาย 1,300,200.00 บาท จำนวนสินทรัพย์รวม 76,910.00 บาท จำนวนเงินลงทุน 105,000.00 บาท และกำไรขั้นต้น 351,140.00 บาท คิดเป็นอัตรากำไรขั้นต้น 27.01% กำไรสุทธิ 315,806.00 บาท คิดเป็นอัตรากำไรสุทธิ 24.29% ปริมาณการขาย ณ จุดคุ้มทุน 4.59 ผืน หรือ 5 ผืน คิดเป็นอัตรากำไรจากการดำเนินงาน 24.29% อัตราผลตอบแทนจากเงินลงทุน (ROI) 300.77% และอัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (ROA) 410.62%

ภาพ 1 กรอบแนวคิดที่ใช้ในการวิจัย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-08

How to Cite

บุตรสาลี ผ. (2022). การวิเคราะห์ต้นทุน ผลตอบแทน และอัตราส่วนทางการเงินจากการทอผ้าไหมมัดหมี่ ชุมชนบ้านมาบสมอ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 16(3), 111–123. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2022.49