การตรวจสอบแบบสามเส้าด้านนักวิจัย: กลยุทธ์เพื่อสร้างความเชื่อถือได้ในงานวิจัยเชิงคุณภาพ
DOI:
https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2024.30คำสำคัญ:
การวิจัยเชิงคุณภาพ, ความเชื่อถือได้ของการวิจัยเชิงคุณภาพ, การตรวจสอบแบบสามเส้า, การตรวจสอบแบบสามเส้าด้านนักวิจัยบทคัดย่อ
บทนำ: การวิจัยเชิงคุณภาพมีกลยุทธ์เพื่อสร้างความเชื่อถือได้ในการวิจัยอย่างหลากหลาย โดยหนึ่งในกลยุทธ์ที่มีการยอมรับและใช้กันอย่างแพร่หลายในงานวิจัยเชิงคุณภาพคือ การตรวจสอบแบบสามเส้า (Triangulation) ซึ่งเป็นกระบวนการใช้แหล่งข้อมูล วิธีการ หรือมุมมองที่หลากหลายเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของผลการวิจัย และลดความเอนเอียงในการตีความข้อมูล การตรวจสอบแบบสามเส้าด้านนักวิจัย (Researcher Triangulation) ถือได้ว่าเป็นหนึ่งแนวทางสำคัญที่เน้นการใช้มุมมองและการวิเคราะห์จากนักวิจัยหลายคนเพื่อสร้างความเชื่อถือได้ในกระบวนการตีความและนำเสนอผลการวิจัย
เนื้อเรื่อง: กลยุทธ์ในการสร้างความเชื่อถือได้ของงานวิจัยเชิงคุณภาพ สามารถพิจารณาตามเกณฑ์ได้ 4 ด้าน คือ ความน่าเชื่อถือ ความสามารถถ่ายโอนได้ ความสามารถพึ่งพิงได้ ความสามารถยืนยันได้ โดยมีกระบวนการตรวจสอบแบบสามเส้า ซึ่งการตรวจสอบแบบสามเส้าด้านนักวิจัยที่สำคัญมี 2 ด้าน คือ ด้านกระบวนการตรวจสอบแบบสามเส้า จำนวน 3 ขั้นตอน คือ ขั้นเตรียมการ (สรรหานักวิจัย จัดทำเครื่องมือ เก็บรวบรวมข้อมูล และฝึกอบรมนักวิจัย) ขั้นดำเนินการ (เก็บข้อมูล ประชุมร่วมกัน กำหนดรหัส เปรียบเทียบการกำหนดรหัส และสรุปผล) และขั้นรายงานผล (นำเสนอผล และเขียนรายงาน) และความแตกต่างของนักวิจัยมีจำนวน 3 ด้าน คือ 1) ความเชี่ยวชาญ 2) ภูมิหลัง 3) ความเป็นกลาง
ส่วนสรุป: การตรวจสอบแบบสามเส้าด้านนักวิจัย เป็นเครื่องมือที่มีศักยภาพในการสร้างความเชื่อถือได้และความถูกต้องในงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยถือเป็นกลยุทธ์ที่นักวิจัยสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนางานวิจัยเชิงคุณภาพให้มีความสอดคล้องกับหัวข้อการวิจัยและมีคุณภาพสูงขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง
องค์ความรู้: แนวทางการเพิ่มความน่าเชื่อถือของงานวิจัยคุณภาพสำหรับนักวิจัยด้วยการตรวจสอบแบบสามเส้า คือ 1) การใช้แหล่งข้อมูลหลากหลาย 2) การใช้วิธีการเก็บข้อมูลหลากหลาย 3) การตรวจสอบโดยนักวิจัยหลากหลายคน 4) การใช้ทฤษฎีหลากหลายชุด และ 5) การตรวจสอบการวิเคราะห์ซ้ำ ที่เกิดจากองค์ความรู้สำคัญที่ช่วยให้นักวิจัยทุกคนในโครงการวิจัยได้เข้ามามีส่วนร่วมวิเคราะห์และตีความผลการวิจัยให้มีความเป็นกลางและมีความสมบูรณ์เพิ่มมากขึ้น โดยใช้มุมมองและความเชี่ยวชาญ เพื่อยืนยันความถูกต้องข้องข้อมูล ลดความเอนเอียงในการตีความ ลดข้อจำกัดมุมมองปรากฏการณ์ด้านเดียว เพิ่มความถูกต้องและความหลากหลายในการตีความข้อมูล ซึ่งนำไปสู่ผลการวิจัยที่มีความน่าเชื่อถือได้สูงขึ้น
References
Ahmed, S. K. (2024). The pillars of trustworthiness in qualitative research. Journal of Medicine, Surgery, and Public Health, 2, 100051. https://doi.org/10.1016/j.glmedi.2024.100051
Bhandari, P. (2023). Triangulation in Research: Guide, Types, Examples. Scribbr. https://www.scribbr.com/methodology/triangulation/
Delve, Ho, L., & Limpaecher, A. (2023). What Is Investigator triangulation in Qualitative Analysis?. https://delvetool.com/blog/researcher-triangulation/
Donkoh, S., & Mensah, J. (2023). Application of triangulation in qualitative research. Journal of Applied Biotechnology and Bioengineering, 10(1), 6-9.
Flick, U. (2018). Triangulation. In Denzin, N. K., and Lincoln, Y. S. (Eds), The Sage Handbook of Qualitative Research (5th ed.), (pp. 777-804). Sages.
Guba, E. G., & Lincoln, Y. S. (n.d.). Effective evaluation. San Francisco. Jossey-Bass, in press.
Guba, E., & Lincoln, Y. S. (1989). Fourth Generation Evaluation. Sage.
Hales, D., Peersman, G., & Kiwango, E. (2010). An introduction to triangulation. UNAIDS.
Heidegger, M. (1927). Being and time. Harper & Row.
Husserl, E. (1913). Ideas: General introduction to pure phenomenology. Collier.
Joungtrakul, J. (2010). Qualitative research: A tool for knowledge creation for national development. Business Law Center International.
Lemon, L. L., & Hayes, J. (2020). Enhancing Trustworthiness of Qualitative Findings: Using Leximancer for Qualitative Data Analysis Triangulation. The Qualitative Report, 25(3), 604-614.
Lim, W. M. (2024). What Is Qualitative Research? An Overview and Guidelines. Australasian Marketing Journal, 1–31. DOI: 10.1177/14413582241264619
Lincoln, Y. S., & Guba, E. G. (1985). Naturalistic Inquiry. Sage.
Meydan, C. H., & Akkaş, H. (2024). The Role of Triangulation in Qualitative Research: Converging Perspectives. In Principles of Conducting Qualitative Research in Multicultural Settings (pp. 98-129). IGI Global. DOI: 10.4018/979-8-3693-3306-8.ch006
Morse, J. (2018). Reframing rigor in qualitative inquiry. In Denzin, N. K., & Lincoln, Y. S. (Eds.), The Sage Handbook of Qualitative Research (5th ed.) (pp. 1372-1409). Sage.
Mosbah, A. (2024). Ensuring Reliability and Validity in Qualitative Social Sciences Research. In Principles of Conducting Qualitative Research in Multicultural Settings (pp. 130-145). IGI Global. DOI: 10.4018/979-8-3693-3306-8.ch007
Moustakas, C. (1994). Phenomenological research methods. Sage.
Nizamidou, C. (2023). Provocative products, the boomerang effect, the shooting star crisis and the panacea of workforce diversity. EuroMed Journal of Business, 18(2), 248-269. doi: 10.1108/emjb-05-2021-0067
Papavasileiou, E. F., & Dimou, I. (2024). Evidence of construct validity for work values using triangulation analysis. EuroMed Journal of Business. https://doi.org/10.1108/EMJB-10-2023-0287
Patton, M., Q. (1990). Qualitative Evaluation and Research Methods (2nd ed.). Sage.
Smith, J. A., Jarman, M., & Osborn, M. (1999). Doing interpretative phenomenological analysis. In Murray, M., & Chamberlain, K. (eds.), Qualitative Health Psychology: Theories and Methods (pp.218-240). Sage.
Tanoamchard, W., Unphim, U., & Joungtrakul, J. (2020). Presentation of Qualitative Research Findings. NRRU Community Research, 14(4), 1-13. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2020.61
Tomaszewski, L. E., Zarestky, J., & Gonzalez, E. (2020). Planning Qualitative Research: Design and Decision Making for New Researchers. International Journal of Qualitative Methods, 19, 1–7. https://doi.org/10.1177/1609406920967174
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.