“ผู้นำชุมชน” กับ กระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วมกับชุมชนในการทำงานด้านยาเสพติดในชุมชนแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • พุธันวา มหาทรัพย์สมบัติ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • มาลี จิรวัฒนานนท์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2024.22

คำสำคัญ:

กระบวนการมีส่วนร่วม, ยาเสพติด, ผู้นำชุมชน, กรุงเทพมหานคร

บทคัดย่อ

   

ที่มาและวัตถุประสงค์การวิจัย: ปัญหายาเสพติดซึ่งส่งผลกระทบตั้งแต่ระดับบุคคล กลุ่มคน ชุมชน และสังคม กระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วมกับชุมชนถือเป็นกลไกสำคัญในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในปัจจุบัน การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วมกับชุมชนของผู้นำชุมชนในการทำงานด้านยาเสพติดในชุมชนแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร

          ระเบียบวิธีวิจัย (วิธีดำเนินการวิจัย): วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพบนฐานแนวคิดปรากฏการณ์วิทยาแนวตีความ กำหนดกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญ โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง ด้วยวิธีสุ่มตามความสมัครใจ จำนวน 11 คน ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน จำนวน 7 คน และ บุคคลที่เป็นเครือข่ายการทำงานด้านยาเสพติด จำนวน 4 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างที่มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์การวิจัยระหว่าง 0.50-1.00 ในการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นรายบุคคล และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

          ผลการวิจัย: กระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วมกับชุมชนของผู้นำชุมชนในการทำงานด้านยาเสพติด ประกอบด้วย 1) สอดส่องเฝ้าระวัง (การสอดส่อง ดูแล และเฝ้าระวังยาเสพติด) 2) เปิดวงชวนคุย (การพูดคุย แลกเปลี่ยน และวางแผนการทำงาน) 3) ร่วมปฏิบัติการ (การทำงานด้านยาเสพติดตามสถานการณ์ในชุมชน) 4) ติดตามดูแลป้องกัน (การติดตาม ดูแล และช่วยเหลือ) ซึ่งมีความเป็นพลวัตและเป็นวัฏจักรที่แต่ละกระบวนการส่งผลซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดผลลัพธ์ต่อระดับบุคคล กลุ่มคน ชุมชน และสังคม อันเป็นทุนและพลังที่ใช้ขับเคลื่อนการทำงานระดับชุมชน และได้ขยายการทำงานร่วมกับบุคคล กลุ่มคน หรือองค์กรภายนอก ที่ช่วยสนับสนุนการทำงานด้านยาเสพติดทั้งในประเด็นการป้องกันก่อนเกิดปัญหา การแก้ไขปัญหา และการป้องกันปัญหาซ้ำรอยเดิม

          อภิปรายผล: กระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วมกับชุมชนในบริบทความเป็นเมืองของกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีสถานการณ์ปัญหายาเสพติดที่ซับซ้อน หลากหลาย และขยายตัว ได้ปรากฏการนำทุนทางสังคมและทุนทางวัฒนธรรมของชุมชน ประกอบด้วย ความสัมพันธ์แบบเครือญาติ ความไว้วางใจ และการเอื้ออาทร เพื่อบูรณาการการทำงานร่วมกันของคนในชุมชน และการอาศัยความร่วมมือ ความรู้ ทักษะ เทคนิค และทรัพยากรจากภายนอกชุมชน เพื่อให้เกิดพลังและความรวดเร็วในการแก้ไขปัญหาและสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ได้อย่างครบวงจร การจะนำมาซึ่งความต่อเนื่องและยั่งยืนของกระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วมกับชุมชนได้นั้น จำเป็นต้องสร้างเยาวชนคนรุ่นใหม่เพื่อสานต่องาน และการจัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ

          ข้อเสนอแนะ: ผู้นำชุมชนควรจัดกิจกรรมการประชุมและวางแผนการทำงานในชุมชน และเข้าร่วมกิจกรรมของภาคีเครือข่ายหรือองค์กรภายนอกอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความเข้มแข็งในการรับมือและแก้ไขปัญหายาเสพติด และกรุงเทพมหานครควรพิจารณาเพิ่มโครงการสรรหาผู้นำชุมชนรุ่นใหม่ในชุมชน รวมถึงโครงการฝึกอบรมสำหรับผู้นำชุมชนและเครือข่ายการทำงานด้านยาเสพติดในปัจจุบัน 

References

Bangkok Information Center. (2022). << Statistics show the number of communities classified by community type>>. Bangkok Information Reporting System. https://apps.bangkok.go.th/info/index.php/1503-2/

Chuaychu, T. (2024). Participation of Village Health Volunteers in the Prevention and Resolution of Drug Addiction Problems in the Community. Journal of Graduate Studies for Lifelong Learning, 1(1), 19-36.

Health Department, Office of Drug abuse Prevention and Treatment. (2022). Drug abuse Prevention and Treatment in the Bangkok Metropolitan Area (BMA) 2022-2027. Office of Drug abuse Prevention and Treatment.

Jariyapan, N., Vadhanasindhu, C., & Chotchakornpant, K. (2023). Causal Relationship Factors Affecting Community Empowerment for Drug Prevention and Solutions on the North Eastern Border. Thai Interdisciplinary and Sustainability Review, 12(2), 100-112. https://doi.org/10.14456/tisr.2023.9

Kamket, W. (2012). Research methodology in behavioral sciences (3rd ed.). Chulalongkorn University Press.

Kamolsirisakul, H., Piyachan, P., Kulsudjarit, A., & Samukkethum, S. (2022). Lessons Learned from The Best Practice of Drug Prevention and Solution in The City Communities by Community Participation : A Case Study of Sapanpoon Community, Donmueang, Bangkok. Romphruek Journal of the Humanities and Social Sciences, 40(3), 55-76.

Koklang, K., & Pengjan, S. (2020). Citizen participation in solving drug problems in Thai society. Journal of Peace Periscope, 1(1), 27-37.

Kokpol, O. (2009). A Guidebook for Public Participation for Local Governor. S Charoen.

Maprasert, P., Adulbutra, S., & Maitreesophon, B. (2023). Public Participation in Community Development of Bang Kao Subdistrict Municipality, Cha-Am District, Phetchaburi Province. Journal of Mani Chettha Ram Wat Chommani, 6(5), 267-285.

Ministry of Justice, Office of the Narcotics Control Board. (2019). The Narcotics Control Action Plan 2020-2022. Office of the Narcotics Control Board.

Ministry of Public Health, Department of Health Service Support. (2014). A Guidebook of working on drugs for Village Health Volunteer (VHV). The Agricultural Cooperative Federation of Thailand Publisher.

Nontapattamadul, K. (2007). Quality research in social welfare: Concepts and Methodology (2nd ed.). Thammasat University Press.

Pharcharuen, W., Techatanminasakul, S., Saengsupho, S., & Naprathansuk, N. (2022). The role of local community leaders in strengthening and sustainability according to the philosophy of sufficiency economy of Ban Pong Kum community Tambon Pa Miang Doi Saket District Chiang Mai Province. Journal of Peace Periscope, 3(2), 1-12.

Phuangngam, K. (2007). Thai Local Government Principles and New Dimensions in the Future (6th ed.). Wiyuchon.

Pinthapataya, S. (2021). Interviews for Qualitative Research. Journal of Business and Industrial Development, 1(3), 1-3.

Pinyaphong, J., Ruanjan, S., Kancham, S., & Kancham, P. (2021). Developing Networks for Prototype Community for Drug Prevention and Resolution in Tron District ; Uttaradit. Research Report. Uttaradit Rajabhat University.

Podhisita, C. (2021). Science and art of qualitative research (9th ed.). Amarin and Phublishing.

Puangsang, M., Wannahuay, C., Muttanang, Y., & Chaunraktham, P. (2021). Public Participation in Community Development of Ban Bueng Subdistrict, Bankha District, Ratchaburi Province. Journal of Liberal Arts RMUTT, 2(1), 39–47.

Ritcharoen, P. (2013). Principles of Educational Measurement and Evaluation (8th ed.). House of Kermist.

Singudom, T., & Satisompanno, S. (2020). Prevention and Surveillance of Drug Problems Following the Community Border in Loei Province. Research Report. Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Loei Buddhist College.

Tatiyanuntaporn, N. (2022). Family and Community Involvement in Drug Prevention and Treatment, Khon Sawan District, Chaiyaphum Province. Regional Health Promotion Center 9 Journal, 16(2), 581-596.

Thaipumphithak, N. (2021). Role of Local Leaders of Northeastern Region in Change Era. MBU Roi Et Journal of Global Education Review, 1(2), 41-48.

Utapala, W., Phonphotthanamat, W., Sinhasema, S., & Chumnaseaw, P. (2020). Participation of Community Board in Preventing and Resolving Drug Problems in Bang Sue District, in the Bangkok Metropolitan Area (BMA). Ramkhamhaeng University, Faculty of Political Science.

ภาพที่ 2 กระบวนการทำงานด้านยาเสพติดของชุมชนและผู้นำชุมชนแบบมีส่วนร่วม

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-11

How to Cite

มหาทรัพย์สมบัติ พ., & จิรวัฒนานนท์ ม. (2024). “ผู้นำชุมชน” กับ กระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วมกับชุมชนในการทำงานด้านยาเสพติดในชุมชนแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 18(3), 381–396. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2024.22