การมีส่วนร่วมอนุรักษ์พุทธศิลปกรรมเขาถมอรัตน์ อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์

ผู้แต่ง

  • พระสุธีวชิราภรณ์ อาจสามล วิทยาลัยสงฆ์พ่อขุนผาเมือง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระมหามนกมล กิตฺติญาโณ คณะพุทธศาสตร์ วิทยาลัยสงฆ์พ่อขุนผาเมือง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2024.25

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, วัด, ชุมชน, การอนุรักษ์พุทธศิลปกรรม

บทคัดย่อ

ที่มาและวัตถุประสงค์การวิจัย: ร่องรอยของความรุ่งเรืองทางพระพุทธศาสนาจากอดีตถูกส่งต่อมาถึงปัจจุบันที่จำเป็นต้องได้รับการสืบสานและสืบทอดสู่อนาคตกาล โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาบริบทแวดล้อม 2) ศึกษาการมีส่วนร่วมของวัดและชุมชน และ 3) เสนอแนวทางการเสริมสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วม ซึ่งมุ่งเน้นการอนุรักษ์ การมีส่วนร่วมและสร้างเครือข่ายการอนุรักษ์พุทธศิลปกรรมเขาถมอรัตน์ อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์

          ระเบียบวิธีวิจัย (วิธีดำเนินการวิจัย): การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยกำหนดกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญด้วยวิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง 3 กลุ่ม คือ กลุ่มตัวแทนผู้นำทางศาสนา 7 รูป กลุ่มผู้นำชุมชน 23 คน และ 3) กลุ่มผู้นำด้านวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม 7 คน ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างซึ่งผ่านการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์เรียบร้อยแล้ว โดยนำไปใช้ทำการสัมภาษณ์เชิงลึกร่วมกับการจัดสนทนากลุ่มในพื้นที่ตำบลโคกสะอาดและตำบลศรีเทพ อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลคำตอบที่ได้โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาแบบเชิงตีความแนวคิด ประเด็นหลัก และปัจจัยที่สอดคล้องกันอย่างเป็นธรรมชาติ

          ผลการวิจัย: 1) บริบทแวดล้อมการอนุรักษ์มีหลักการสำคัญ คือ รักษาส่วนดี รักษาความดั้งเดิม และรักษาคุณค่าเชิงอัตลักษณ์ 2) การมีส่วนร่วมของวัดและชุมชน ทำให้เกิดมีกระบวนการร่วมรักษาความหมายตามสมัย ร่วมรักษาความแตกต่าง ร่วมสนับสนุนอนุรักษ์ และร่วมอนุรักษ์ที่ยั่งยืน 3) การเสริมสร้างเครือข่ายที่ประกอบด้วย วัด ชุมชน และภาครัฐ นำไปสู่แนวทางการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ เครือข่ายการลงทุน และเครือข่ายการกำกับ ดูแล และบำรุงรักษา

          อภิปรายผล: การอนุรักษ์สภาพแวดล้อมส่วนดี มีความดั้งเดิม มีคุณค่าเชิงอัตลักษณ์ โดยผ่านกระบวนการที่สนับสนุนการมีส่วนร่วมของความหมายตามสมัย ความแตกต่าง ร่วมสนับสนุนและอนุรักษ์อย่างต่อเนื่อง ด้วยแนวทางเสริมสร้างเครือข่ายวัด ชุมชน และภาครัฐ เพื่อสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ การลงทุน การกำกับ ดูแล และบำรุงรักษาพุทธศิลปกรรมในพื้นที่ให้เกิดความยั่งยืนต่อไป

          ข้อเสนอแนะ: ควรสร้างกลุ่มอาสาสมัครอนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นถิ่น เพื่อเปิดโอกาสให้ชุมชนเรียนรู้และมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัตถุทางวัฒนธรรมผ่านการแลกเปลี่ยนความรู้และกิจกรรมร่วมกัน สร้างความภาคภูมิใจในอัตลักษณ์และเสริมสร้างความสัมพันธ์ภายในชุมชน

References

Barthel-Bouchier, D. (2016). Cultural heritage and the challenge of sustainability. Routledge. https://doi.org/10.4324/9781315431055

Beel, D., & Wallace, C. (2020). Gathering together: social capital, cultural capital and the value of cultural heritage in a digital age. Social & Cultural Geography, 21(5), 697-717. https://doi.org/10.1080/14649365.2018.1500632

Bolarinwa, O. A. (2020). Sample size estimation for health and social science researchers: The principles and considerations for different study designs. Nigerian Postgraduate Medical Journal, 27(2), 67-75. DOI: 10.4103/npmj.npmj_19_20

Campelo, A., Reynolds, L., Lindgreen, A., & Beverland, M. (Eds.). (2018). Cultural heritage. Routledge.

Creswell, J. W. (2016). Qualitative inquiry and research design: Choosing among five approaches (2nd ed.). Sage.

de Vries, G. (2020). Culture in the Sustainable Development Goals: The Role of the European Union (2nd reviesed ed.). ifa (Institut für Auslandsbeziehungen e. V.). DOI: https://doi.org/10.17901/AKBP1.06.2020

Denzin, N. K., & Lincoln, Y. S. (2005). The Sage handbook of qualitative research (3rd ed.). Sage.

El Amine, K. M. (2024). Conservation and Valorisation of Architectural and Urban Heritage. University of Abou bekr Belkaïd Tlemcen. https://elearn.univ-tlemcen.dz/pluginfile.php/252767/mod_resource/content/1/MIMEOGRAPHED.%20Conservation%20and%20Valorisation%20of%20Architectural%20and%20Urban%20Heritage.pdf

Fine Arts Department, Ministry of Culture. (2007). Si Thep Historical Park. Rungsilp Printing (1977).

Flyvbjerg, B. (1998). Rationality and power: Democracy in practice. University of Chicago press.

Fouseki, K., Swensen, G., & Guttormsen, T. S. (2020). Heritage and sustainable urban transformations-A ‘deep cities’ approach. In Fouseki, K., Guttormsen, G., and Swensen, G. (Eds.), Heritage and sustainable urban transformations deep cities (pp. 1–15). Routledge.

Guo, J., Bian, Y., Li, M., & Du, J. (2024). Assessing resilience through social networks: A case study of flood disaster management in China. International Journal of Disaster Risk Reduction, 104583. https://doi.org/10.1016/j.ijdrr.2024.104583

Habermas, J. (1984). The theory of communicative action (Vol. I). Beacon.

Hannerz, U. (1996). Transnational connections: Culture, people, places (Vol. 290). Routledge.

Khadijah, U. L. S., Winoto, Y., Shuhidan, S. M., Anwar, R. K., & Lusiana, E. (2024). Community Participation in Preserving the History of Heritage Tourism Sites. Journal of Law and Sustainable Development, 12(1), e2504-e2504. https://doi.org/10.55908/sdgs.v12i1.2504

Lehdonvirta, V., Oksanen, A., Räsänen, P., & Blank, G. (2021). Social media, web, and panel surveys: using non‐probability samples in social and policy research. Policy & internet, 13(1), 134-155. https://doi.org/10.1002/poi3.238

Li, L., & Tang, Y. (2023). Towards the contemporary conservation of cultural heritages: An overview of their conservation history. Heritage, 7(1), 175-192. https://doi.org/10.3390/heritage7010009

Lin, N. (2002). Social capital: A theory of social structure and action (Vol. 19). Cambridge University Press.

Pharkuwatchasuwannathon (Lokchub Ketkhieo), Phraworaphong Dhammavamso (Seechawong), & Balakula, A. (2020). The Comparative Study Between Lakhon Chatri in Petchaburi and Lakhon Chatri The Fine Arts Department [Research Report]. Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Phetchabun Provincial Statistical Office. (2023). Phetchabun Provincial Statistical Report: 2023. https://phchabun.nso.go.th/images/report/statistical_report/CoverReportPRO2023-01%20Final.pdf

Phonsri, S. (2007). Learning Network in Community Development (2nd ed.). Odeon Store.

Pinngern, C. (2009). Chakkawan Tipani : A prototype of Buddhist thought, symbols of Lanna. Social Research Institute, Chiang Mai University.

Pinthong, J. (1994). Rural development administration. Odeon Store.

Pratala, E., Sugara, A., & Supriadi, Y. N. (2024). Community Participation in Cultural Preservation in Gerendeng Pulo Village, Karawaci District, Tangerang City. International Journal of Business, Technology and Organizational Behavior (IJBTOB), 4(1), 12-19. https://doi.org/10.52218/ijbtob.v4i1.303

Sathapitanon, P., & Thiraphan, C. (2003). Communication with network society. In the training documents for Course 3 “Creating a Powerful Network”. Local Community Institute develops learning institutions and develops civil society.

SDG Compass. (2015). A guide for business action on the SDGs. https://ocm.iccrom.org/documents/sdg-compass-guide-business-action-sdgs

Suksawat, S. (1994). Sri Dvaravati to Sri Rattanakosin. Dan Suthakanphim.

The Committee on Culture of UCLG. (2018). Culture in the Sustainable Development Goals: A Guide for Local Action. https://www.agenda21culture.net/sites/default/files/culture_and_sdgs.pdf

Vecco, M. (2018). Value and values of cultural heritage. In Cultural heritage (pp. 23-38). Routledge.

ภาพที่ 2 หลักสำคัญในการอนุรักษ์พุทธศิลปกรรมเขาอมรัตน์ อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-27

How to Cite

อาจสามล พ., & กิตฺติญาโณ พ. . (2024). การมีส่วนร่วมอนุรักษ์พุทธศิลปกรรมเขาถมอรัตน์ อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 18(3), 432–447. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2024.25