การศึกษาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษารายวิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ จากการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ Big Five Learning
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ Big Five Learning, ความสามารถในการทำงานเป็นทีมและให้ความร่วมมือ, ความสามารถในการสื่อสารและนำเสนอ, Big Five Learning, Teamwork and Collaboration, Communicationบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความสามารถ ในการทำงานเป็นทีมและให้ความร่วมมือของนักศึกษาจากการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ Big Five Learning รายวิชาการ ออกแบบและการจัดการเรียนรู้ 2) ความสามารถในการสื่อสารและนำเสนอของนักศึกษาจากการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ Big Five Learning รายวิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้และ 3) ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนรู้ ตามรูปแบบ Big Five Learning โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 โปรแกรมวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะครุศาสตร์ ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 33 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ Big Five Learning แบบประเมินความ สามารถในการทำงานเป็นทีมและให้ความร่วมมือแบบประเมินความสามารถในการสื่อสารและนำเสนอ และแบบประเมิน ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test (Dependent Samples)
ผลการวิจัย พบว่า 1) ความสามารถในการทำงานเป็นทีมและให้ความร่วมมือของนักศึกษาจากการจัดการเรียนรู้ตาม รูปแบบ Big Five Learning ของนักศึกษาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความสามารถ ในการสื่อสารและการนำเสนอของนักศึกษาจากการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ Big Five Learning ของนักศึกษาหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ Big Five Learning หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยความพึงพอใจของนักศึกษาใน ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
A STUDY OF 21ST CENTURY LEARNING SKILLS OF UNDERGRADUATE STUDENTS ON LEARNING DESIGN AND INSTRUCTIONAL MANAGEMENT COURSE USING BIG FIVE LEARNING
This quasi experimental design research aimed to study 1) teamwork and collaborationskill of undergraduate students on Learning Design and Instructional Management Course Using Big Five Learning 2) communicationsskill of undergraduate students on Learning Design and Instructional Management Course Using Big Five Learning and 3) satisfactionof undergraduate students on Learning Design and Instructional Management Course Using Big Five Learning. The 33 sophomore students majoring in General Science Program, Faculty of Education, NRRU, who registered this course in the second semester of 2014 academic year, were selected to be sample. The research tools were 8 lesson plans, assessment form and rubric score of teamwork and collaboration skill and communicationsskill and satisfaction evaluation form. Data were analyzed by using mean, standard deviation and t-test for dependent.
The finding revealed that 1) students’ teamwork and collaborationskill of undergraduate students on Learning Design and Instructional Management Course, after using Big Five Learning, was higher than before at statistical significance .05 level 2) students’ communicationsskill of undergraduate students on Learning Design and Instructional Management Course, after using Big Five Learning, was higher than before at statistical significance .05 leveland 3) students’ satisfaction towards learning activity after using Big Five Learningwas higher than before at statistical significance .05 level, the overall was at high level.