การพัฒนาทักษะการคิดเชิงมโนทัศน์สังคมศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การเรียนรู้แบบเกมเป็นฐานร่วมกับเทคนิคอินโฟกราฟิก
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดเชิงมโนทัศน์สังคมศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังเรียนโดยใช้การเรียนรู้แบบเกมเป็นฐานร่วมกับเทคนิคอินโฟกราฟิก 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการเรียนรู้แบบเกมเป็นฐานร่วมกับเทคนิคอินโฟกราฟิก เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนบางบัว (เพ่งตั้งตรงจิตรวิทยาคาร) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร โดยใช้การสุ่มแบบกลุ่ม กำหนดเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้โดยเกมเป็นฐานร่วมกับเทคนิคอินโฟกราฟิก จำนวน 8 แผน แบบทดสอบวัดทักษะการคิดเชิงมโนทัศน์สังคมศึกษา และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้แบบเกมเป็นฐานร่วมกับเทคนิคอินโฟกราฟิก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า
1) ทักษะการคิดเชิงมโนทัศน์สังคมศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานร่วมกับเทคนิคอินโฟกราฟิกหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการเรียนรู้การเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานร่วมกับเทคนิคอินโฟกราฟิกโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
References
Chaowalit, T. (2022). Khon Kaen Innovation for Thai Education: Development of Learning Achievement in Thai language on the topic of Nouns for Fourth Grade Students Using Game Based Learning. Retrieved from https://kknpeo.moe.go.th/wp-content/uploads/2023/06 [2023, 9 June.]
Janjula, A., Somjit, S., & Chatarakeeree, S. (2019). Development of Infographic Media to Create Awareness and Remember for Elementary students in Yala Province. Yala:Faculty of Education Yala Rajabhat University.
Kaewpuang, P. (2019). Using Game-based Learning to Enhance Learning Skills in ASEAN Studies. Proceeding of the 13th International DEPISA Conference on November 28 and 29. (7-28). Sunflower Meeting Room, Rex Hotel: Ho Chi Minh City.
Kaewpuang, P. (2020). Science of Social Studies Learning Management. Bangkok: Chulalongkorn University Press.
Kaewpuang, P. (2023). Social Studies Curriculum Development. Bangkok: Chulalongkorn University Press.
Noimai, I. (2021). The Development of Conceptual Thinking Skills in Social Studies for 21st Century Learners. Journal of Education Studies, 49(3), 1-12.
Phan tho, P. (2023, 16 May.) Promblem of Conceptual Thinking Skills in Social Studies. Teacher. Bangbua School (Pengtungtongchitwittayakarn).
Phiwma, N. (2021). Learning Management using Game-Based Learning by Integrating Computer Game Technology. Journal of Humanities and Social Sciences, Rajapruk University, 7(Special), 1–15.
Pumkaew, S., & Junsang, A. (2022). Learning Management of Historical Method with Infographic to Enhance Conceptual Thinking of Grade 7 Students. Journal of Education Rajabhat Maha Sarakham University, 19(2), 154–164.
Poonyamanoch, P. (2016). Effects of An Inductive Method on Web Using Infographic on Conceptual Thinking Ability of Lower Secondary School Students With Different Cognitive Styles. An Online Journal of Education. 11(4), 517-530.
Thongthab, J. (2017). Infographics Design. Retrieved from https://www.learningstudio.info/infographics-design [2017, 29 May.]