เปรียบเทียบรูปแบบภาวะผู้นำของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองระหว่าง พ.ศ. 2549 – 2557

Main Article Content

สุทธิเวท บุญยรัตกลิน
สมิหรา จิตตลดากร

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1). เพื่อศึกษารูปแบบผู้นำการพัฒนาองค์กรสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่เหมาะสมในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองระหว่าง พ.ศ. 2549 – 2557  เป็นการวิจัยแบบเชิงคุณภาพ (Qualitative research)  ผลการศึกษาพบว่า การเปรียบเทียบรูปแบบภาวะผู้นำของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองพบว่ายุคการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่เกิดขึ้นนั้นส่วนใหญ่มีรูปแบบภาวะผู้นำตามสถานการณ์  (Situational or Contingency Leadership Theories) เป็นส่วนใหญ่ และมีความสัมพันธ์ในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาผู้นำหน่วยงานภาครัฐต้องปรับเปลี่ยนวิธีการและพฤติกรรมในการจัดการปัญหาทางการเมืองที่ผ่านมา โดยต้องนำกลยุทธ์ และระบบการบริหารจัดการรูปแบบใหม่ๆ มาใช้ในการแก้ไขปัญหา และแสวงหาแนวทางใหม่ๆ ในการแก้ไขปัญหาพร้อมทั้งการได้รับการสนับสนุนเครื่องมือ และงบประมาณที่เหมาะสมในการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชาเพื่อสร้างรแรงจูงใจและขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ทัศนีย์ ปิ่นสวัสดิ์. (2561). การจัดการความขัดแย้งทางการเมืองในจังหวัดชัยนาท. E-Journal,Silpakorn University, 11(1), 2780-2800.

นฤษมา วิมานรัตน์ (2553). อิทธิพลของรูปแบบภาวะผู้นำและสถานการณ์ความขัดแย้งต่อรูปแบบการจัดการความขัดแย้งของตำรวจชั้นสัญญาบัตรจากสถานีตำรวจนครบาล (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิสุทธิ์ สงวนศักดิ์. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความยุติธรรมในองค์การและความขัดแย้งในองค์การกับความขัดแย้งในองค์การกับแรงจูงใจ ในการทำงานของพนักงาน (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

สมยศ เกียรตินันท์. (2539). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อกำลังขวัญในการปฏิบัติหน้าที่ราชการของตำรวจฝ่ายอำนวยการ : ศึกษาเฉพาะกรณี ข้าราชการตำรวจฝ่ายอำนวยการกองบังคับการอำนวยการ กองบัญชาการตำรวจนครบาล (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.