การศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชั่นของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษา : แอปพลิเคชั่นไลน์แมน (Lineman), ฟู้ดแพนด้า (Foodpanda) , แกร็บฟู้ด (Grabfood)
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชั่นของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพฯ (2) เพื่อศึกษาทัศนคติต่อการบริการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชั่นของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพฯ (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของลักษณะทางประชากรศาสตร์กับพฤติกรรมการใช้บริการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชั่นของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพฯ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยนี้ แบ่งออกเป็น 3 กรณีศึกษาคือ ผู้บริโภคที่ใช้แอปพลิเคชั่นไลน์แมน (Lineman) , ฟู้ดแพนด้า (Foodpanda) , แกร็บฟู้ด (Grabfood) รวมจำนวนทั้งสิ้น 400 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติการเปรียบเทียบระหว่างตัวแปร 2 ตัว (Chi-Square) ใช้สถิติการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวแปรมากกว่า 2 ตัว ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way Analysis of Variance : One-way Anova และสถิติการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะทางประชากรศาสตร์มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้บริการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชั่นของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพฯ กล่าวได้ว่า ผู้บริโภคที่มีลักษณะทางประชากรศาสตร์ต่างกันจะมีพฤติกรรมการใช้บริการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชั่นของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพฯแตกต่างกัน
Article Details
References
ทวีวรรณ น้อยน้ำคำ. (2548). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคคนไทยในการซื้อสินค้าและบริการทางการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce) เพื่อศึกษาถึงพฤติกรรมของผู้บริโภค. นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์.
มนตรี ศรีวงษ์. (2559). ฟู้ดเดลิเวอรี่ไลน์แมน. สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2561, จากhttp://www.bangkok biznews.com/news/detail/758682
วนัสนันท์ ร่มโพธิ์. (2555). การตัดสินใจซื้อของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเกี่ยวกับเมนูอาหารและร้านอาหารผ่านเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาสื่อที่ผู้บริโภคสร้างเอง (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ. (2552). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.
สสินาท แสงทองฉาย. (2560). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคกลุ่มดิจิทัลเนทีฟไทยในการเลือกใช้แอปพลิเคชันสั่งและจัดส่งอาหารในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Philip Kotler. (2000). Marketing Management. (12th edition). New Jersey: Prentice Hall.
Kimes, S. E. (2011). The current state of online food ordering in the US restaurant industry. Cornell Hospitality Report, 11(17), 6-18.