การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองนักเรียนในการจัดการศึกษาของโรงเรียนอนุบาลเคหะบางพลี (๑๐ ปี สปช.) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2

Main Article Content

จีระศักดิ์ สงสัย

บทคัดย่อ

         บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองนักเรียนในการจัดการศึกษาของโรงเรียนอนุบาลเคหะบางพลี (๑๐ ปี สปช.) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2  และ 2) ปัญหาและข้อเสนอแนะการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองนักเรียนในการจัดการศึกษาของโรงเรียนอนุบาลเคหะบางพลี กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ ผู้ปกครองนักเรียนในโรงเรียนอนุบาลเคหะบางพลี ปีการศึกษา 2559 จำนวน 269  คน โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างจากตารางของ Krejcie, and Morgan (1970 : 607) และสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ และสุ่มอย่างง่ายโดยจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ และแบบสอบถามปลายเปิด การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน                       


ผลการวิจัยพบว่า


  1. สภาพการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองนักเรียนในการจัดการศึกษา ของโรงเรียนอนุบาลเคหะบางพลี (๑๐ ปี สปช.)สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (= 3.42, S.D. = 0.59) เมื่อพิจารณารายด้าน ด้านงบประมาณ  อยู่ในระดับมาก  (= 3.55, S.D. = 0.77)  ด้านการบริหารทั่วไป อยู่ในระดับมาก (= 3.53, S.D. = 0.79)  ส่วนค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการบริหารงานบุคคล อยู่ในระดับปานกลาง  (= 3.21, S.D. = 0.84) 

  2. ปัญหาและข้อเสนอแนะการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองนักเรียนในการจัดการศึกษาของโรงเรียนอนุบาลเคหะบางพลี (๑๐ ปี สปช.) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 ในแต่ละด้านพบว่ามีปัญหา ดังนี้ คือ ผู้ปกครองนักเรียนไม่สามารถเข้าร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินของโรงเรียน ไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารงบประมาณ มีทัศนคติเกี่ยวกับการจัดการศึกษาว่าเป็นหน้าที่ของโรงเรียนเท่านั้น ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานวิชาการของโรงเรียน และไม่เข้าใจขอบข่ายการบริหารงานบุคคลของโรงเรียน โดยมีข้อเสนอแนะ ดังนี้ 1) ควรมีการชี้แจงทำความเข้าใจกับผู้ปกครองในเรื่องการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาทั้งด้านวิชาการ งบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารทั่วไป 2) ควรเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองมีการร่วมติดตามประเมินผลการจัดการศึกษา 3) ควรเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมและกล้าแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการศึกษา 4) ควรให้ผู้ปกครองทราบข้อมูลสารสนเทศในการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนทั้งด้านวิชาการ งบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารทั่วไป และ 5) ควรจัดทำระบบรายงานการใช้จ่ายเงินโรงเรียนอย่างโปร่งใส

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชาญชัย อาจิณสมาจารย์. (2542). การบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์การพิมพ์กรุงเทพฯ.
นิยดา ชุมวรฐานยี. (2548). การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4. วิทยานิพนธ์บริหารการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชธานี.
บุญชม ศรีสะอาด. (2535). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุรีวิริยาสาส์น.
บุญณภัทร์ เดือนกลาง. (2552). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของโรงเรียนบ้านลาดใหญ่อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. ครุศาสตร์มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
เผียน วงศ์ทองดี. (2555). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาโรงเรียนวัดลาดศรัทธาราม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
พะนากร มีภูคำ. (2553). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองนักเรียนในการจัดการศึกษาโรงเรียนบ้านต้อนราษฎร์ดำรงวิทย์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. สารนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.
มหรรณพ ยะอนันต์. (2548). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษาโรงเรียนเอกชน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2. ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชนครินทร์.
รุ่ง แก้วแดง. 2543. ปฎิวัติการศึกษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : มติชน.
วิโรจน์ สารรัตนะ.(2550). การวารแผนและการบริหารโครงการ.พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี:มหาวิทยาลัยสุโขทัย
ธรรมาธิราช.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน,สำนักงาน. (2553). การสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). รายงานการประเมินผลการมีส่วนร่วมในการจัดกระบวนการเรียนรู้ของชุมชนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3): 607-610.