การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค Student Teams Achievement Divisions (STAD) ในรายวิชากฎหมายปกครองสำหรับรัฐประศาสนศาสตร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ในรายวิชากฎหมายปกครองสำหรับรัฐประศาสนศาสตร์ และศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ในรายวิชากฎหมายปกครองสำหรับรัฐประศาสนศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักศึกษาสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ที่เรียนในรายวิชากฎหมายปกครองสำหรับรัฐประศาสนศาสตร์ ภาคเรียนที่ 2/2560 จำนวน 68 คน ได้จากการเลือกแบบเจาะจง ดำเนินการวิจัยโดยใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD แล้วเก็บข้อมูลแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจในการเรียนของนักศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย การทดสอบค่าที และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษามีผลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ในรายวิชากฎหมายปกครองสำหรับรัฐประศาสนศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความพึงพอใจในการเรียนโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีค่ามากที่สุดคือ ด้านบรรยากาศการเรียน รองลงมาคือ ด้านประโยชน์ที่ได้รับ ด้านเนื้อหา และด้านการจัดกิจกรรม
Article Details
References
ดวงเดือน เทพนวล. (2556). การพัฒนาพฤติกรรมด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบของนักคึกษามหาวิทยาลัยราชกัฏเชียงใหม่ โดยใช้วิธีการสอนแบบกระบวนการกลุ่ม. วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่. 14 (2): 97-108.
ทัศนีย์ บุตรอุดม. (2552). การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สมการและการ แก้สมการกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับแบบฝึกทักษะ. การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ปียะมาศ ชาติมนตรี. (2550). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการกลุ่มแบบร่วมมือโดยใช้สวนพฤกษศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
มนตรี มณีวงษ์. (2558). ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาเพิ่มเติม ฟิสิกส์ 4 เรื่องไฟฟ้าสถิต กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 6 ด้วยการใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 9 (พิเศษ): 527-541.
ลักษณสุภา บัวบางพลู. (2554). ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้รายวิชาการประมวลผลการวิจัยทางธุรกิจด้วยคอมพิวเตอร์โดยใช้กระบวนการกลุ่มในการจัดการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต.
วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2554). เทคนิคและกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
วัลยา บุญอากาศ. (2556). ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดวิเคราะห์วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
สุกัญญา จันทร์แดง. (2556). ผลการจัดการเรียนด้วยชุดการสอนแบบร่วมมือที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการทางานร่วมกัน วิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal. 6 (2): 567-581.
สุชาวดี เดชทองจันทร์. (2558). การศึกษาการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาวิชาการบริหารท้องถิ่นเปรียบเทียบการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
อทิติยา สวยรูป. (2556). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ เรื่อง คอมพิวเตอร์เบื้องต้น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยการเรียนการสอนแบบกลุ่มร่วมมือ โดยใช้เทคนิค STAD. รายงานการวิจัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2550). หลักการสอน ฉบับปรับปรุง. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
Slavin, R.E. (1990). Cooperative Learning: Research and Practice. Englewood Cliffs,NJ: Prentice-Hall.