การบริหารสถานศึกษาตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนวัดเทพลีลา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2

Main Article Content

อัครกฤษ นุ่นจันทร์

บทคัดย่อ

        การวิจัยเรื่อง การบริหารสถานศึกษาตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนวัดเทพลีลา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารสถานศึกษาตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนวัดเทพลีลา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 ประชากรในการวิจัย  ได้แก่ ครูโรงเรียนวัดเทพลีลา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2  ในปีการศึกษา 2559 จำนวน 57 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ และแบบสอบถามปลายเปิด การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า


  1. สภาพการบริหารสถานศึกษาตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนวัดเทพลีลา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 ในภาพรวมมีสภาพการบริหาร อยู่ในระดับปานกลาง (m= 3.22) เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน อยู่ในระดับปานกลาง (m= 3.27) รองลงมา คือ ด้านผลลัพธ์/ภาพความสำเร็จอยู่ในระดับปานกลาง (m= 3.25) ค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา อยู่ในระดับปานกลาง (m= 3.14)

  2. ปัญหาการบริหารสถานศึกษาตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงของโรงเรียนวัดเทพลีลา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 พบปัญหาที่มีการระบุมากที่สุด คือ การดำเนินการบริหารงบประมาณมีข้อจำกัด ด้านระเบียบการใช้เงินงบประมาณทำให้สถานศึกษาไม่มีความคล่องตัวในการบริหารจัดการ 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ปรียานุช พิบูลสราวุธ. (2550). การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์ประสานงานกลางการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ.
เกษม วัฒนชัย. (2554). เศรษฐกิจพอเพียงกับการศึกษา. ในงานประชุมมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาประเทศตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (เอกสารประกอบปาฐกถาพิเศษ : 25 พฤษภาคม 2554).
รุ่งทิวา สันติผลธรรม. (2552). การนำเสนอแนวทางการบริหารสถานศึกษาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษาเอกชน อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
พิทักษ์ อำพันธุ์. (2553). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 2. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
ปณีตา ตะพังพินิจการ. (2554). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี เขต 1. ภาคนิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.
วุฒิกร เลี่ยมยองใย. (2554). ความสำเร็จของการบริหารโรงเรียนโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
เรวัต ภิรมย์ไกรภักดิ์. (2555). การศึกษาสภาพ ปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีครูไม่ครบชั้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
วิจิตร ศรีสอ้าน.(2550). ครูกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทย. ค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2560, จาก http//media.thaigov.go.th/pageconfig/viewcontent/viewcontentl.asp?pageid=471.
อาทิตย์ อุไรรัตน์ และอดุลย์ศักดิ์ ถีรจินดา. (2527). การบริหารโรงพยาบาล 1. นนทบุรี:มหาวิทยาลัยสุโขทัย
ธรรมาธิราช.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2553). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552-2561). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิคจํากัด.
สุทัศน์ แก้วคำ.(2552). สภาพปัญหาการบริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.