การบริหารจัดการของโรงเรียนสอนการดูแลผู้สูงอายุโรงเรียนนฤภัคบริบาล กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารจัดการของโรงเรียนสอนการดูแลผู้สูงอายุ โรงเรียนนฤภัคบริบาล กรุงเทพมหานคร ประชากรในการศึกษา จำนวน 30 คน ประกอบด้วย แพทย์ 2 คน ครูผู้สอนบริบาล 10 คน เจ้าหน้าที่บริหารทั่วไป 5 คน นักกายภาพบำบัด 5 คน นักโภชนาการ 4 คน และนักกิจกรรมบำบัด 4 คน เครื่องมือใช้แบบสอบถามแบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ปัญหาและข้อเสนอแนะ อธิบายด้วยฐานนิยม ค่าความถี่ และร้อยละ
ผลการวิจัยพบว่า
- สภาพการบริหารจัดการของโรงเรียนสอนการดูแลผู้สูงอายุ โรงเรียนนฤภัคบริบาล กรุงเทพมหานคร โดยรวม อยู่ในระดับมาก (m= 05) เมื่อพิจารณารายด้าน เรียงลำดับ ค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ การสั่งการ อยู่ในระดับมาก (m= 4.24) การจัดองค์การ (m= 4.17) การวางแผนอยู่ในระดับมาก (m= 4.05 ) การประสานงาน อยู่ในระดับมาก (m= 3.65) และการควบคุม อยู่ในระดับปานกลาง (m= 3.88)
- ปัญหาการบริหารจัดการของโรงเรียนสอนการดูแลผู้สูงอายุ โรงเรียนนฤภัคบริบาล กรุงเทพมหานคร ในแต่ละด้าน จัดเรียงอันดับ 1-5 มีดังนี้ 1) การจัดสรรงบประมาณยังไม่เอื้อต่อการบริหารจัดการ 2) ขาดความต่อเนื่องในการจัดทำแผนด้านการบริหารจัดการความเสี่ยง 3) ไม่ได้นำผลการประเมินการดำเนินงานมาปรับปรุงพัฒนาแผนงาน 4) ขาดการประสานงานกับหน่วยงานภายนอก และ 5) ระบบสารสนเทศไม่เอื้อต่อการประสานงาน
Article Details
How to Cite
บท
บทความวิจัย
References
กนิษฐา บุญธรรมเจริญ และ ศิริพันธุ์ สาสัตย์. (2551). ระบบการดูแลระยะยาว: การวิเคราะห์เปรียบเทียบเพื่อเสนอแนะเชิงนโยบาย. รามาธิบดีพยาบาลสาร. (14): 385-399.
กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2556). ทิศทางการให้บริการของธุรกิจบริการสำหรับผู้สูงอายุ สอดคล้องกับความต้องการของผู้ที่จะก้าวเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมวิชาการ 1-12 กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
ธงชัย สันติวงษ์. (2540). พฤติกรรมผู้บริโภคทางการตลาด. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.
พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2549). พุทธวิธีบริหาร. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พวงนรินทร์ คำปุก.(2558). ความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องในการจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลหัวง้ม อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย. เชียงราย: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2553). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2552. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.).
ยุวดี รอดจากภัย. (2557). รูปแบบการพัฒนาชุมชนและครอบครัวต้นแบบเพื่อดูแลผู้สูงอายุแบบบูรณาการ. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ศศิพัฒน์ ยอดเพชร.(2549).ระบบการดูแลระยะยาวในครอบครัวสำหรับผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.
สมพล นะวะกะ. (2555). ความต้องการได้รับสวัสดิการของผู้สูงอายุในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลอ่าวลึกใต้ อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่.ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์บัณฑิตวิทยาลัย. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์. (2551). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2550. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.
กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2556). ทิศทางการให้บริการของธุรกิจบริการสำหรับผู้สูงอายุ สอดคล้องกับความต้องการของผู้ที่จะก้าวเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมวิชาการ 1-12 กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
ธงชัย สันติวงษ์. (2540). พฤติกรรมผู้บริโภคทางการตลาด. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.
พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2549). พุทธวิธีบริหาร. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พวงนรินทร์ คำปุก.(2558). ความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องในการจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลหัวง้ม อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย. เชียงราย: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2553). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2552. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.).
ยุวดี รอดจากภัย. (2557). รูปแบบการพัฒนาชุมชนและครอบครัวต้นแบบเพื่อดูแลผู้สูงอายุแบบบูรณาการ. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ศศิพัฒน์ ยอดเพชร.(2549).ระบบการดูแลระยะยาวในครอบครัวสำหรับผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.
สมพล นะวะกะ. (2555). ความต้องการได้รับสวัสดิการของผู้สูงอายุในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลอ่าวลึกใต้ อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่.ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์บัณฑิตวิทยาลัย. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์. (2551). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2550. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.