กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษากับการพัฒนาครูเด็กปฐมวัย ในศตวรรษที่ 21

Main Article Content

กรจักร สุขลิ้ม

บทคัดย่อ

           การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษากลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาเอกชนระดับปฐมวัยในจังหวัดตรัง ที่มีประสิทธิผล (2) สร้างกลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาเอกชนระดับปฐมวัยในจังหวัดตรัง ที่มีประสิทธิผล และ (3) ประเมินกลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาเอกชนระดับปฐมวัยในจังหวัดตรัง ที่มีประสิทธิผล ประชากรที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้คือ กลุ่มผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน คณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1 จำนวน 19 โรงเรียน ที่ได้รับรองผลการประเมินคุณภาพการศึกษาจาก สำนักงานมาตรฐานการศึกษา กลุ่มที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ซึ่งเป็นผู้บริหารงาน จำนวน 50 คน  จากโรงเรียน 19  โรงเรียน โดยการวิจัยครั้งนี้เป็นการสนทนากลุ่ม โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการประชุมชี้แจงทำความเข้าใจโดยผ่านการจัดทำกิจกรรมตามแผนการดำเนินงานวิจัยเป็นระยะ และการวิเคราะห์ข้อเชิงคุณภาพได้ใช้ความเห็นที่เป็นมติเอกฉันท์จากการประชุมในการออกแบบกระบวนการ และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา 


           ผลการวิจัยพบว่า การวางแผนกลยุทธ์บริหารสถานศึกษาเอกชนระดับปฐมวัยในจังหวัดตรัง ผู้บริหารต้องจัดทำวิสัยทัศน์ เป้าประสงค์ระยะสั้น ระยะยาวเพื่อเป็นทิศทางในการดำเนินการ การมอบอำนาจในการตัดสินใจให้แก่บุคลากร การส่งเสริมให้มีกระบวนการและกิจกรรมการเรียนรู้ให้แก่บุคลากร และการทำแผนกำกับติดตามความก้าวหน้าและประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อนำผลมาทบทวนและปรับปรุงการดำเนินการ การศึกษาปฐมวัยควรมีส่วนช่วยให้เด็กเกิดพัฒนาการและการเรียนรู้อย่างเต็มที่

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติพุทธศักราช 2542 แกไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภา.
จีระ พระสุพรรณ. (2554). ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็กที่มีประสิทธิผล. วิทยานิพนธ์
ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิพาวดี เมฆสวรรค์. (2543). สามประสานในการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี. นานาสาระจากรวมพลังเพื่อการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี. นนทบุรี: สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน.
ประชุม รอดประเสริฐ. (2545). การบริหารโครงการ. กรุงเทพมหานคร: เนติกุลการพิมพ์.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์.
วิสุทธิ์ วิจิตรพัชราภรณ์. (2547). การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาแบบกระจายอำนาจ ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามแนวทางพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 . วิทยานิพนธครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
สุรศกัดิ์ปาเฮ. (2556). การพัฒนาวิชาชีพครูสู่ยุคปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2. ในเอกสารประกอบการประชุมสัมมนาทางวิชาการ การพัฒนาครูทั้งระบบตามยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่ 2. หน้า 2-4. แพร่:สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 1-2.
Bandura, A., Ross, D., & Ross, S. A.. (1963). Imitation of film-mediated aggressive models. The Journal of Abnormal and Social Psychology, 66(1): 3–11.
Glickman, C. D., Gordon, S. P., & Ross-Gordon, J. M. (2001). SuperVision and instructional leadership (5th ed.). Needham Heights, MA: Allyn & Bacon.
Massoglia, D.R. (1977). Early Childhood Education in the Home. New York: Delmar.