ความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง ความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ ผลการศึกษาพบว่า จากการสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ จากผู้รับบริการจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พบว่า ระดับความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (=4.37) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านความถูกต้องของงาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด (=4.58) รองลงมา ด้านความเสมอภาคในการให้บริการ อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.43) และด้านสภาพแวดล้อมขององค์การบริหารส่วนตำบล มีค่าเฉลี่ยอยู่ต่ำสุด อยู่ในระดับมาก (=4.16) ตามลำดับ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) ได้จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 260 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้ามีลักษณะเป็นแบบสอบถาม แบบสอบถามเกี่ยวกับความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ ใน 5 ด้าน ด้านระยะเวลาการให้บริการ ด้านความถูกต้องของงาน ด้านความเสมอภาคในการให้บริการ ด้านกิริยามารยาทของเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ และด้านสภาพแวดล้อมขององค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (rating scale) 5 ระดับ คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้ศึกษาเก็บข้อมูลด้วยตนเอง เพื่อดำเนินการเก็บข้อมูลโดยการแจกแบบสอบถาม และเก็บรวบรวมแบบสอบถามจากผู้ตอบแบบสอบถาม นำแบบสอบถามมาตรวจความถูกต้องสมบูรณ์ และประมวลผลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลในครั้งนี้ คือ ค่าความถี่ (Frequencies) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean)
Article Details
References
จิรวรรณ อินทรีย์สังวรณ์. (2552). การมีส่วนร่วมของประชาชนเกี่ยวกับการจัดทำแผนพัฒนาสามปี :กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลโป่งแพร่ อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย. การศึกษาอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
ไพบูลย์ ช่างเรียน. (2552). วัฒนธรรมการบริหาร. กรุงเทพมหานคร: อักษรเจริญทัศน์.
ไพวัลย์ ชลาลัย. (2550). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการของพนักงานเทศบาลตำบลคลองใหญ่ อำเภอคลองใหญ่จังหวัดตราด. ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารทั่วไป วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ยุทธ ไกยวรรณ. (2550). หลักการทําวิจัยและการทําวิทยานิพนธ. กรุงเทพมหานคร: ศูนยสื่อเสริมกรุงเทพ.
วิฑูรย์ สิมะโชคดี.(2550). TQM คู่มือพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: เนชันบุ๊คส์.
วิยะดา ดีระแพทย์. (2542). การนำนโยบายการถ่ายโอนงานสวัสดิการสังคมสู่การปฏิบัติงานขององค์การบริหารส่วนตำบล. วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารและนโยบายสวัสดิการสังคม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สมชาติ กิจยรรยง และจีรชา ใจเปี่ยม. (2552). เกมกิจกรรมเพื่อการเสริมสร้างและพัฒนาทีมงาน. กรุงเทพมหานคร: พาวเวอร์ฟลไลฟ์.
สุจิตรา เขื่อนขันธ์. (2549). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการโครงการจัดหน่วยบริการอำเภอเคลื่อนที่ใน อำเภอเมืองจังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
แสงรวี น้อยแสง. (2555). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลศรีคีรีมาศ อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยทองสุข.
อุทิตย์ กุลสอน. (2550). การศึกษาความพึงพอใจของผู้รับบริการด้านงานทะเบียนราษฎรของสำนักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลตำบลเวียงคุก อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.