พฤติกรรมการใช้บริการและความพึงพอใจของลูกค้าในคุณภาพการให้บริการของธนาคารไทยพาณิชย์ และธนาคารกสิกรไทย ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

จิรวัฒน์ ธนวินท์ชยางกูร

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ (1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการของลูกค้าธนาคารไทยพาณิชย์ และธนาคารกสิกรไทย ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา (2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในคุณภาพการให้บริการของธนาคารไทยพาณิชย์ และธนาคารกสิกรไทย ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา เก็บข้อมูลโดยแจกแบบสอบถามจากลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการธนาคารไทยพาณิชย์ และลูกค้าธนาคารกสิกรไทย ในอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา โดยใช้แบบสอบถามจำนวน 400 ชุด โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ โดยค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การแจกแจงความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบไคสแควร (chi-square) การทดสอบค่าที (t-Test) การทดสอบค่าเอฟ (F-Test) การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (one-way ANOVA) ทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของ Scheffe' ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการใช้บริการของลูกค้าธนาคารไทยพาณิชย์ และลูกค้าธนาคารกสิกรไทย ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ด้านเหตุผลสำคัญที่สุดที่ลูกค้าใช้บริการ ด้านความถี่ในการใช้บริการ ด้านผู้มีส่วนในการตัดสินใจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ความพึงพอใจในคุณภาพการให้บริการของธนาคารไทยพาณิชย์และธนาคารกสิกร แตกต่างกันตามลักษณะประชากรศาสตร์ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติพงศ์ จิรวัสวงศ์. (2554). บทความ ISO 10004 มาตรฐานการวัดความพึงพอใจของลูกค้า. ค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2557,จาก http://www.sajeesirikrai.com/images/column_1343111514/ISO%2010004%20Thai.pdf.
จอมใจ ภักดีพินิจ. (2556). พฤติกรรมผู้บริโภคในการซื้อสินค้าออนไลน์. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.
จิรัฐ เจนพึ่งพร และพัชรา พัชราวนิช. (2555). การวิเคราะห์ความพึงพอใจและความจงรักภักดีของลูกค้า โรงแรมราคาประหยัดด้วยตัวแบบ ECSI. งานประชุมวิชาการบัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 2 ประจำปี 2555.
ชนามาศ โชติสวัสดิ์ และสมยศ วิวรรธน์อภินัย. (2554). การศึกษาพฤติกรรมและความพึงพอใจที่มีผลต่อความภักดีในการใช้บริการธนาคารออมสิน สาขากระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร. การประชุมวิชาการ ครั้งที่ 8 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.
ชูชัย สมิทธิไกร. (2553). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: วี.พริ้นท์.
ธัญลดา ทวีจรัสชัยกุล และ กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ. (2554). ความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อการให้บริการด้านเงินฝากของธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน) สาขาพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ. รายงานการวิจัยหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต.
บุริม โอทกานนท์. (2554). โอกาสของธนาคารธนชาต. จุฬาลงกรณ์วารสาร. (23): 91.
นงลักษณ์ สุตัณฑวิบูลย์ . (2556) . ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องเคลือบดินเผาโอ่งมังกรราชบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี. 7(2): 79-87.
ประชาชาติธุรกิจ. (2555). ธนาคารต้องทำงานมากขึ้น รับมือการแข่งขันธุรกิจการเงิน. ค้นเมื่อ 27 พฤษภาคม 2558, จาก http://www.moneymartthai.com/daily/.
ปราณี กีรติธร. (2551). ความพึงพอใจต่อการให้บริการของธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) สาขากาฬสินธุ์. วารสารวิชาการและวิจัย. 3 (2): 46 - 52.
พิภพ อุดร. (2551). การตลาดสำหรับธนาคาร. กรุงเทพฯ: มปท.
วารสารการเงินธนาคาร. (2557). ธนาคารแห่งปี 2557 (Bank of the Year 2014). ค้นเมื่อ 27 พฤษภาคม 2558, จาก http://www.checkraka.com/knowledge/personal-loan-1-216.
วุฒิ สุขเจริญ. (2555). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: จี.พี.ไซเบอร์พริ้นท์.
วินัย รำพรรณ์. (2553). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการธนาคารออมสิน กรณีศึกษาสำนักงานใหญ่. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. 28 (3): 74 - 78.
วิรัช สงวนวงศ์วาน. (2550). การจัดการและพฤตกรรมองค์การ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
วีระยุทธ วณิชปัญจพล. (2552). ทฤษฏีความพึงพอใจ. กรุงเทพฯ: มปท.
วีระพงษ์ เฉลิมจิระรัตน์. (2552). คุณภาพในงานบริการ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ ส.ส.ท..
วุฒิกร เที่ยงธรรม และคณะ. (2556). บรรยากาศองค์การกับพฤติกรรมการให้บริการของพนักงานโรงแรมในเขตพัทยาเหนือ จังหวัดชลบุรี.วารสารการจัดการธุรกิจมหาวิทยาลัยบูรพา. (2): 2.
ศรัทธา วุฒิพงศ์. (2552). องค์กรและการจัดการ. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2552). การบริหารยุคใหม่ ฉบับปรับปรุง ปี 2552. กรุงเทพฯ : ธรรมสาร.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2557). ธุรกิจธนาคารพาณิชย์ไตรมาสแรกปี 2557: เข็นหลากกลยุทธ์ปรับตัว หลังธุรกิจหลักเผชิญผลกระทบทางเศรษฐกิจ. ค้นเมื่อ 27 พฤษภาคม 2558, จาก http://www.hooninside.com/ communitydetail.php?m=9&id=279752.
ศูนย์วิจัย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร. (2555). รายงานการศึกษา เรื่อง ผลกระทบจากการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) เพื่อเตรียมความพร้อมการดำเนินงานของ ธ.ก.ส. และภาคการเกษตรของไทย. กรุงเทพฯ : ม.ป.ท..
ศรชัย จันโทวงษ์. (2553). คุณภาพการให้บริการของธนาคารออมสิน สาขากันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์. 5 (1): 104 – 105.
สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (2554). ดัชนีชี้วัดความพึงพอใจลูกค้าไทย. การบรรยายสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. กรุงเทพฯ : มปท..
สมิต สัชฌุกร. (2554). การต้อนรับและบริการที่เป็นเลิศ. กรุงเทพฯ : สายธาร.
สมวงศ์ พงศ์สถาพร. (2552). วิธีสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้า. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ยูบีซีแอล บุคส์, บจก.
หลุย จำปาเทศ. (2553). พฤติกรรมความพึงพอใจ. กรุงเทพฯ : สามัคคีสาส์น.
อุไรวรรณ จันท์เจริญวงษ์และคณะ. (2555). คุณภาพการให้บริการธนาคารพาณิชย์ ในอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี.วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์. 2 (1):73 - 84.