ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อเครื่องสำอาง ผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ธนิพัฒน์ พีรมธุกร

บทคัดย่อ

      วัตถุประสงค์ในการวิจัย เพื่อสำรวจลักษณะทางประชากรศาสตร์ ศึกษาปัจจัยทางการตลาดและพฤติกรรมการซื้อเครื่องสำอางผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้หญิงที่ซื้อเครื่องสำอางผ่านทางอินเทอร์เน็ตในกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 ตัวอย่าง และสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับการทดสอบสมมติฐานใช้ Independent Sample t- test และ One-Way ANOVA


        ผลการศึกษาวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 21-25 ปี ระดับการศึกษาระดับปริญญาตรี นอกจากนี้ผู้วิจัยยังพบว่า ปัจจัยทางการตลาดโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยปัจจัยที่สำคัญที่สุด ได้แก่ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์


         สำหรับการทดสอบสมมติฐานพบว่า ลักษณะทางประชากรศาสตร์มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อเครื่องสำอางผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ยังพบว่าปัจจัยทางการตลาดมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อเครื่องสำอางผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ด้วยเช่นกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คอตเลอร์ ฟิลลิป.(2546). การจัดการการตลาด. บริษัท ฟิล์มและไซเท็กซ์ จำกัด. ธนวรรณ แสงสุวรรณ และคณะ
เรียบเรียง. กรุงเทพฯ: บริษัท เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า จำกัด.
ดวงขวัญ สาครชลธาร. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อเครื่องสำอางโดยผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ต. การค้นคว้าอิสระ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ทิพย์วัลย์ ยะพันธ์. (2553). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการซื้อขายสินค้าผ่านอินเทอร์เน็ตของนักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เพ็ญนฤมล จะระ. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าประเภทเสื้อผ้าแฟชั่นของผู้บริโภคกลุ่มวัยรุ่น ผ่านทางระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ระพินทร์ โพธิ์ศรี. (2549). สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: บริษัท ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์ จำกัด.
ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์. (2547). หลักการตลาด. กรุงเทพฯ: บริษัท สำนักพิมพ์ท้อป จำกัด.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2556). การสำรวจสถานภาพการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย. [ม.ป.ท.].
สมาคมธุรกิจอินเทอร์เน็ตไทย. E-commerce คืออะไร. สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2558. จาก http://www.atii.or.th/
เสาวนีย์ ใจมูล. (2554). พฤติกรรมของคนวัยทำงานในอำเภอเมืองเชียงใหม่ในการซื้อเครื่องสำอางออนไลน์. การค้นคว้าแบบอิสระ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Kotler Philip. (2003). Marketing Management. 11th ed. Upper Saddle River. New Jersey: Prentice – Hall.
Solomon, Michael R. (2007). Consumer Behavior. 7th ed. New Jersey: Prentice – Hall.