การพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฎิบัติงานของข้าราชการทหาร สังกัดกรมควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ

Main Article Content

พิมใจ บุญนิล
เฉลิมพร เย็นเยือก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการทหาร สังกัด กรมควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ 2) ปัจจัยด้านการพัฒนาทุนมนุษย์ ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการทหาร สังกัด กรมควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ข้าราชการทหารอากาศ สังกัด กรมควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ ที่ปฏิบัติงาน ณ ที่ตั้งดอนเมือง จำนวน 300 คน โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการทหาร สังกัด กรมควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ ด้านชั้นยศ รายได้ และระดับการศึกษาที่แตกต่างกันมีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานต่างกัน 2) ปัจจัยด้านการพัฒนาทุนมนุษย์ ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการทหาร สังกัด กรมควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ มาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านทุนทางอารมณ์ รองลงมาคือ ด้านทุนทางสังคม และด้านทุนปัญญา ตามลำดับ ผู้บริหารควรให้ความสำคัญกับรูปแบบการพัฒนาโดยมีการกำหนดทิศทางและแนวทางการพัฒนาที่ชัดเจนเพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติยา ฐิติคุณรัตน์. (2556). ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทซันไชน์อินเตอร์เนชั่นแนลจำกัด (ภาคนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

กันยารัตน์ จันสว่าง และสุภาวดี พรหมบุตร. (2562). ทุนมนุษย์กับการเปลี่ยนแปลง: กระบวนทัศน์ใหม่ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์. วารสารวิทยาการจัดการ, 6(2), 209-222.

กรมควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ. (ม.ป.ป.). ระบบการจัดการความรู้ (Knowledge Management). ค้นเมื่อ 10 มกราคม 2564 จาก http://daoc.km.rtaf.mi.th/Home/Page/26

จรัสศรี เพ็ชรคง. (2552). การพัฒนาทุนมนุษย์ของวิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก (Unpublished Master’s thesis). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

โชคชัย สุเวชวัฒนกูล และกนกกานต์ แก้วนุช. (2555). ทางเลือก-ทางรอดจากวิกฤตเศรษฐกิจของกิจกรรมทุนมนุษย์ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง: กิจกรรมการบริหารและการพัฒนาทุนมนุษย์. การประชุมวิชาการระดับชาติในวันคล้ายวันสถาปนาสถาบันบัณฑิตพัฒน

บริหารศาสตร์ประจำปี 2555. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ชนิศา หาญสมบุญ และกรเอก กาญจนาโภคิน. (2563). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทางานของบุคลากร การทางพิเศษแห่งประเทศไทย. วารสารศิลปะการจัดการ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 4(1), 46-58.

ประไพทิพย์ ลือพงษ์. (2555). การพัฒนาทุนมนุษย์ให้มีสมรรถนะความสามารถในการแข่งขัน. วารสารนักบริหาร 12(1), 103-108.

พรทิพย์ เพ็ชรนพรัตน์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการสำนักงานคณะกรรมการ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสยาม.

พีรญา ชื่นวงศ์. (2560). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน: กรณีศึกษา ธุรกิจการขนส่งในจังหวัดเชียงราย. วารสารเศรษฐศาสตร์และกลยุทธ์การจัดการ, 4(2), 92-100.

ภาณุวัฒน์ ภักดีอักษร และปทุมมาลัย พัฒโร. (2562). ทฤษฎีความต้องการตามลําดับขั้นของมาสโลว์และแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวนานาชาติที่มีต่ออาหารในฐานะสิ่งดึงดูดใจการท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ต. วารสารวิเทศศึกษา, 9(11), 1-28.

ฤทธิพล ไชยบุรี. (2562). พัฒนาทุนมนุษย์ในยุคไทยแลนด์ 4.0. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, 8(1), 221-236.

วรรณวิสา แย้มเกตุ. (2558), ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาตนเองในการทางานของพนักงานธนาคาร

สายลูกค้าบุคคลของธนาคารเอกชนแห่งหนึ่ง (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

วรลักษณ์ ลลิตศศิวิมล. (2559). แบบจำลองสมการโครงสร้างการพัฒนาทุนมนุษย์ที่ส่งผลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันเพื่อความสำเร็จในการดำเนินงานของธุรกิจเอกชนในจังหวัดสงขลา. วารสารบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร, 13(2), 79-99.