การพัฒนาการจัดภารกิจการบินของเครื่องบินลำเลียงกองทัพอากาศ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพการจัดภารกิจการบินของเครื่องบินลำเลียงกองทัพอากาศ และ 2) แนวทางพัฒนาการจัดภารกิจการบินของเครื่องบินลำเลียงกองทัพอากาศ เป็นการวิจัยข้อมูลเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้บังคับบัญชาและข้าราชการกองบิน 6 ที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับเครื่องบินลำเลียง กองทัพอากาศ จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพการจัดภารกิจการบินของเครื่องบินลำเลียงกองทัพอากาศ พบว่า ด้านกระบวนการสนับสนุน มีกระบวนการจัดการที่ชัดเจนและช่วยให้หน่วยงานทำงานได้ง่ายและมีกระบวนการที่สนับสนุนให้การปฏิบัติงานดำเนินได้อย่างบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่หน่วยงานกำหนด ด้านการวางแผนเชิงกลยุทธ์ พบว่าการวางแผนเชิงกลยุทธ์มีประสิทธิภาพ สามารถจัดภารกิจการบินของเครื่องบินลำเลียงได้อย่างเหมาะสม รองรับภารกิจได้หลายภารกิจพร้อมกันและสามารถแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้านการกำหนดทิศทางในอนาคต พบว่า มีความเหมาะสม เนื่องจากมีการคำนึงถึงทิศทางของภัยคุกคามแบบใหม่ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโรคระบาด ภัยธรรมชาติ ด้านต้นทุนการขนส่ง พบว่า ต้นทุนการขนส่งมีราคาที่สูง เนื่องจากอากาศยานบางประเภทถูกเจาะจงให้ทำภารกิจได้อย่างเดียว แต่ภารกิจมีมากและหลากหลาย ด้านการจัดการด้านเวลา พบว่า มีศูนย์กลางการรับข้อมูลและสั่งการทำให้การปฏิบัติง่ายและไม่เกิดการสับสน สามารถวางแผนได้ล่วงหน้า ทำให้จัดการกับภารกิจได้อย่างรวดเร็วและสามารถแก้ไขข้อขัดข้องได้ทันเวลา 2) แนวทางพัฒนาการจัดภารกิจการบินของเครื่องบินลำเลียงกองทัพอากาศ ได้แก่ (1) ควรวารแผนสนับสนุนที่เป็นขั้นตอน มีกระบวนการที่ชัดเจนจะทำให้หน่วยงานสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (2) ควรวางแผนที่เหมาะสมเป็นการวางแผนการใช้แบบเครื่องต่าง ๆ ของเครื่องบินลำเลียงให้เหมาะสมกับภารกิจปัจจุบันและภารกิจภายภาคหน้าให้เกิดประสิทธิภาพสูงสูด (3) ควรมีการจัดการภารกิจที่คำนึงถึงการสามารถใช้เครื่องได้ทันเวลา รวดเร็วและมีการประเมิน วิเคราะห์ สังเคราะห์ถึงเหตุการณ์สถานการณ์ต่าง ๆ ในปัจจุบันทำให้มีความพร้อมของการจัดภารกิจการบินของเครื่องบินลำเลียงกองทัพอากาศทันต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป (4) ควรมีอากาศยานที่สามารถทำได้หลายภารกิจและแบบอากาศยานลำเลียงมีให้เลือกใช้น้อย ทำให้ในบางครั้งควรใช้อากาศยานขนาดใหญ่กับภารกิจที่มีการบรรทุกสิ่งของหรือคนจำนวนน้อย และ (5) ควรลดขั้นตอน ลดเวลาในการจัดการให้มีความรวดเร็ว สามารถทำให้ได้โดยมีหน่วยงานรับผิดชอบให้ชัดเจน มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบจะได้ไม่สั่งงานหรือรับงานซ้ำซ้อนกัน ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยให้มีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
Article Details
References
กรมการขนส่งทางบก. (2551). คู่มือพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการขนส่งด้วยรถบรรทุก. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
กองทัพอากาศ. (2560). ยุทธศาสตร์กองทัพอากาศ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2579). กรุงเทพฯ: กองทัพอากาศ.
กองทัพอากาศ. (2563). สมุดปกขาวกองทัพอากาศ พ.ศ.2563. กรุงเทพฯ: กองทัพอากาศ.
เฉลิมพล ศรีหงส์. (2559). เอกสารประกอบการบรรยายกระบวนวิชาการระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ณัฏฐ์พงษ์ จันทชโลบล. (2560). การจัดการขนส่งสินค้าทางอากาศ. ปทุมธานี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรังสิต.
ณธิษ ส. ขาวสำอางค์. (2551). การวิเคราะห์หาปัจจัยและเสนอแนวทางลดผลกระทบต่อการลาออกของนักบินลำเลียงกองทัพอากาศ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,
ประหยัด มุณีแก้ว. (2558). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ภัทรภณ เลาหนันท์. (2554). ศึกษาเกี่ยวกับการวิเคราะห์ต้นทุนปฏิบัติการอากาศยานลำเลียง กองทัพอากาศ. (Unpublished Master’s thesis). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มณิสรา บารมีชัย และบุศรินทร์ ศรีสตรียานนท์. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อต้นทุนการขนส่งสินค้า. กรุงเทพฯ: กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กระทรวงอุตสาหกรรม.
วาสนา ขอนทอง. (2553). แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดกำแพงเพชร (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
วิโรจน์ ก่อสกุล. (2559). เอกสารประกอบการบรรยายกระบวนวิชาองค์การและวัตกรรมในองค์การ.กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.