การเปรียบเทียบปัจจัยด้านการขนส่งสาธารณะระหว่างกลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มคนทำงาน กรณีศึกษาเส้นทางการเดินทางของผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส

Main Article Content

วรางคณา ทองด้วง
พฤฒิพงศ์ อภิวัฒนกุล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยด้านการขนส่งสาธารณะที่ส่งผลต่อระดับการตัดสินใจในการใช้บริการระหว่างกลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มคนทำงาน กลุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มแบบชั้นภูมิจำนวน 400 คน เครื่องมือวิจัยคือแบบสอบถาม ผลการศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลและพฤติกรรมการเดินทางพบว่า กลุ่มผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นเจ้าของรถยนต์ ใช้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอสเป็นทางเลือกรอง กลุ่มคนทำงานส่วนใหญ่ไม่มีรถยนต์ ใช้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอสเป็นทางเลือกหลัก ผลการศึกษาปัจจัยด้านการขนส่งสาธารณะ พบว่า (1) ปัจจัยด้านการเข้าถึง ทั้ง 2 กลุ่มให้ความสำคัญระดับมากกับการเดินทางไปยังจุดหมายปลายทางหลังออกจากสถานี กลุ่มผู้สูงอายุกังวลเกี่ยวกับความแตกต่างของสิ่งอำนวยความสะดวกแต่ละสถานี กลุ่มคนทำงานต้องการไปถึงจุดหมายด้วยความรวดเร็วเพราะมีภารกิจในการดูแลครอบครัว (2) ปัจจัยด้านเวลา ทั้ง 2 กลุ่มให้ความสำคัญระดับมากกับเวลาในการเดินทางระหว่างสถานีต้นทางถึงสถานีปลายทาง กลุ่มผู้สูงอายุต้องการเดินทางด้วยเวลาอันสั้นเพราะตระหนักในเรื่องจำนวนที่นั่ง กลุ่มคนทำงานตระหนักเรื่องเวลาเป็นสำคัญแม้ว่าไม่ได้ที่นั่ง (3) ปัจจัยด้านความสะดวกสบาย ด้านความหนาแน่นภายในรถไฟฟ้าบีเอสระหว่าง 2 กลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 (4) ปัจจัยด้านราคา ทั้ง 2 กลุ่มให้ความสำคัญระดับปานกลาง กลุ่มผู้สูงอายุตระหนักเรื่องค่าใช้จ่ายในการเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัวสูงกว่าการเดินทางด้วยรถไฟฟ้า กลุ่มคนทำงานตระหนักถึงปัจจัยด้านอื่นมากกว่าราคา (5) ปัจจัยด้านความปลอดภัย กลุ่มผู้สูงอายุให้ความสำคัญกับมาตรการป้องกัน COVID-19 เนื่องด้วยเป็นวัยที่ร่างกายอ่อนแอ และ (6) ปัจจัยด้านข้อมูลข่าวสาร ทั้ง 2 กลุ่มให้ความสำคัญระดับปานกลาง กลุ่มผู้สูงอายุให้ความสำคัญของข้อมูลผ่านช่องทางโทรทัศน์และวิทยุมากกว่ากลุ่มคนทำงาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563). จำนวนประชากรจากการทะเบียนจำแนกตามอายุ เพศ ภาค และจังหวัด ปี พ.ศ. 2563. ค้นเมื่อ 11 ธันวาคม 2563, จากhttp://statbbi.nso.go.th/staticreport/Page/sector/TH/ report/sector_01_11101_TH_.xlsx

บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน). (2564). ประวัติความเป็นมา. ค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2564. จาก https://www.bts.co.th/info/info-history.html

พรหมศิริ ปานเจริญ. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า BTS. วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์, 4(2), 1-10.

เมธาวี การินทร์. (2563). ศึกษาความพึงพอใจของการใช้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. ค้นเมื่อ 11 ธันวาคม 2563 จาก https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/sat16/6114060110.pdf

ยุวดี วรสิทธิ์. (2559). ปัจจัยด้านคุณภาพบริการ และพฤติกรรมการใช้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิ้งก์ที่มีผลต่อทัศนคติของผู้ใช้บริการในกรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร, 13(1), 24-42

วริศรา เจริญศรี. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้รถไฟฟ้าบีทีเอส. ค้นเมื่อ 11 ธันวาคม 2563 จากhttp://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2017/TU_2017_5904010310_8260_7223.pdf

วัลลภ รัฐฉัตรานนท์. (2562). การหาขนาดตัวอย่างที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย: มายาคติในการใช้สูตรของทาโร ยามาเน และเครจซี-มอร์แกน. วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 6(1), 28-58.

ไวพจน์ กุลาชัย. (2558). ระบบขนส่งสาธารณะสำหรับผู้สูงอายุนโยบายที่ถูกเมิน. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 26(3), 140-150. ค้นเมื่อ 11 ธันวาคม 2563 จาก https://journal. oas.psu.ac.th/index.php/asj/index

ศิริชัย ศรีความเจริญ. (2561). ปัจจัยทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในการเลือกใช้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. ค้นเมื่อ 11 ธันวาคม 2563 จากhttps://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3175

ศิริพงศ์ พฤทธิพันธ์. (2559). พฤติกรรม ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการระหว่าง บริษัท รถไฟฟ้า รฟท.จำกัด (รฟฟท.:ARL) บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด(มหาชน)

(บีทีเอส: BTS) และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.: MRT). วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(3), 184-199.