การพัฒนาหลักสูตรแบบโมดูล และยกระดับศักยภาพภาษาอังกฤษทางด้านโลจิสติกส์ในภาคอุตสาหกรรม
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาหลักสูตรแบบโมดูล (Modular System) ด้านภาษาอังกฤษในงานโลจิสติกส์ โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก ร่วมกับบริษัทในกลุ่มสมบูรณ์ ทั้ง 5 บริษัท ในการพัฒนาออกแบบหลักสูตรร่วมกัน และเพื่อพัฒนาทักษะบุคลากรด้านภาษาอังกฤษในสายงานโลจิสติกส์ ให้กับสถานประกอบการ โดยมีสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาทักษะบุคลากรตามแนวทาง EEC Model ซึ่งงานวิจัยฉบับนี้เป็นงานวิจัยเชิงประยุกต์ โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับ โลจิสติกส์ ในกลุ่มบริษัทสมบูรณ์ จำนวน 20 คน ใช้เทคนิคการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบไปด้วย 1) แบบสัมภาษณ์เจาะลึก ( In-depth interview) 2) แบบทดสอบวัดระดับความสามารถทักษะภาษาอังกฤษในงานโลจิสติกส์ก่อนและหลังเข้าร่วมหลักสูตร 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของพนักงานที่เข้าร่วมหลักสูตรผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาหลักสูตรแบบโมดูลด้านภาษาอังกฤษในงานโลจิสติกส์ ร่วมกับภาคอุตสาหกรรมแบ่งออกเป็น 3 โมดูล ดังนี้ 1) Warriors cup ประกอบด้วย 4 หน่วยการเรียนย่อย 2) Queen cup ประกอบด้วย 4 หน่วยการเรียนย่อย และ 3) King cup ประกอบด้วย 3 หน่วยการเรียนย่อย และผลการใช้หลักสูตรแบบโมดูลในการพัฒนาภาษาอังกฤษให้กับพนักงาน พบว่าพนักงานมีสมรรถนะภาษาอังกฤษของพนักงานก่อนและหลังเข้าร่วมหลักสูตร มีคะแนนที่สูงขึ้นจากคะแนนก่อนเรียนโดยเฉลี่ย 13.10 คะแนน และพนักงานมีความพึงพอใจในการได้รับความรู้และประสบการณ์จากหลักสูตรแบบโมดูล มีผลประเมินเฉลี่ย 4.69 อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 90
Article Details
References
กฤษดาพร เขียวอ้าย. (2560). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น โดยใช้โมดูลสื่อประสมเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 10(3), 87-99.
ธนาภรณ์ ธิตามาตา. (2563). บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โมดูล : ค่าพิกัดความเผื่อที่ส่งผลสัมธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาปริญญาตร. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 19(3), 73-81.
นันทวัฒชัย วงษ์ชนะชัย. (2554). การพัฒนาสมรรถนะในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสายงานผลิตของอุตสาหกรรมผลิตเหล็กกล้าตามมาตรฐานอาชีพ. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 21(3), 645-656.
บริษัท กลุ่มสมบูรณ์. (2563). ธุรกิจของบริษัทและโครงสร้างธุรกิจ. ค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2563,
จากhttp://www.satpcl.co.th/th/about-us/nature-of-business-business-structure
ไพฑูรย์ นันตะสุคนธ. (2563). การจัดทำบทเรียนมอดูล (Module). ค้นเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2563,
จาก http://www.edu.ru.ac.th/coved/pdf/Vo_Ed/การจัดทำบทเรียนโมดูล%20.pdf
วิชชาพรรณ กิ่งวัชระพงศ. (2554). รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ ด้านการโรงแรมและบริการงานบริการส่วนหน้า ตามมาตรฐานอาชีพอุตสาหกรรมการโรงแรม. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 21(2), 377-386.
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (1999). แนวการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาต. ค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2563, จาก http://backoffice.onec.go.th/uploads/Book/6-file.pdf
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. (2019). การพัฒนาทักษะบุคคลากรแบบ EEC Model. ค้นเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2563, จาก https://www.eeco.or.th/en
McKim, J. (2003). Curriculum development module. Retrieved November 11, 2020, from https://pdf4pro.com/view/curriculum-development-module5bc0ea.html#google_vignette
Remesh, A. (2017). Curriculum design principles for developing a module in medical education. Progress in medical sciences, 24(2), 34-37