ทัศนคติของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อองค์ประกอบการท่องเที่ยวของอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ระหว่างสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)

Main Article Content

ศิริรัตน์ โรจนปณิธิกุล
ศุภศักดิ์ เงาประเสริฐวงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติของนักท่องเที่ยวชาวไทย ต่อองค์ประกอบของการท่องเที่ยวในอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ในระหว่างสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส
โคโรนา 2019 (โควิด-19) โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารข่าวสารในปัจจุบัน ประกอบกับการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักท่องเที่ยวชาวไทย จำนวน 7 ท่าน โดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเป็นเครื่องมือที่ใช้ในประกอบการเก็บข้อมูล นำมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) และการประชุมสัมมนากลุ่มย่อยกับผู้ประกอบการในพื้นที่อีก 3 ท่าน


ผลการศึกษาพบว่า ทัศนคติต่อองค์ประกอบของการท่องเที่ยวของอำเภอปากช่อง ประกอบด้วย 1) ด้านดึงดูดใจ มีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติและบรรยากาศที่สวยงาม 2) ด้านกิจกรรม มีกิจกรรมมากมาย แต่ในสถานการณ์นี้นักท่องเที่ยวต้องการพักผ่อนและความเป็นส่วนตัว 3) ด้านการเข้าถึง ใกล้กรุงเทพ ถนนหนทางสะดวก นักท่องเที่ยวขับรถส่วนตัวมาเอง 4) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก มีให้พร้อม 5) ด้านที่พัก มีให้เลือกหลายระดับหลายราคา 6) ด้านมาตรฐานความปลอดภัย มีมาตรการป้องกันโรคระบาด ทำให้มั่นใจในการท่องเที่ยว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). สถานการณ์การท่องเที่ยวในประเทศ รายจังหวัด ปี 2563. ค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2563 จาก https://www.mots.go.th/index.php

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2563). ‘ททท.’ เข้มมาตรการรับมือโควิด สร้างความเชื่อมั่นท่องเที่ยวไทย.

ค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2563 จาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/912701

กาญจนาวดี พวงชื่น. (2563). พฤติกรรมการท่องเที่ยวและความต้องการของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุต่อการท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย สมาคมนักวิชาการการท่องเที่ยว (ประเทศไทย), 15(2), 29-42.

จำเนียร จวงตระกูล. (2563). การวิจัยแบบผสม: การนำยุทธศาสตร์การวิจัยแบบผสม ทั้งหกรูปแบบสู่การปฏิบัติ. วารสารการบริหารปกครอง, 9(1), 27-53.

ณัฏฐพัชร กมลพลพัตร. (2563). New Normal ในอุตสาหกรรมโรงแรมหลัง COVID-19. ค้นเมื่อ 5 สิงหาคม2563 จาก https://techsauce.co/tech-and-biz/new-normal-hotel-after-covid-19

นฤมล อนุสนธิ์พัฒน์. (2563). การปรับตัวทางเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวในสภาวะวิกฤตโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) ในประเทศไทย. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, 8(1), 1-26.

นิศา ชัชกุล. (2547). การจัดการท่องเที่ยวผจญภัย. ภูเก็ต: คณะวิทยาการจัดการ สถาบันราชภัฏภูเก็ต.

ประไพพิมพ์ สุธีวสินนนท์ และประสบชัย พสุนนท์. (2559). Sampling Strategies for Qualitative Research. วารสารปาริชาต, 29(2), 31-48.

ปริณา ลาปะ. (2558). พฤติกรรมการท่องเที่ยวจังหวัดนครราชสีมาของนักท่องเที่ยวชาวไทย. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.), 4(1), 30-45.

พยอม ธรรมบุตร. (2549). เอกสารประกอบการเรียนการสอนเรื่องหลักการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่ออนุรักษส์ สิ่งแวดล้อม, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พันชนะ วัฒนเสถียร. (2564). “เขาใหญ่” ยุคการ์ดไม่ตก. ค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2563, จาก https://www.btripnews.net/?p=63663

ยุทธศักดิ์ สุภสร. (2563). ‘ท่องเที่ยวจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป’ คุยเรื่องท่องเที่ยวไทยในโลกหลังโควิดกับ ผู้ว่า ททท. ค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2563 จาก, https://workpointtoday.com/tat-interview-tourism-future/

Booking.com. (2563). แนวโน้มพฤติกรรมนักท่องเที่ยวไทย หลังโควิด-19. ค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2563, จาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/909641

Krungthai Compass. (2563). เจาะพฤติกรรมท่องเที่ยวใน New Normal : เมื่อโควิดทำชีวิตเปลี่ยน. ค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2563, จาก https://krungthai.com/Download/economyresources/Economy ResourcesDownload_450

Mastercard. (2020). Global Destination Cities Index 2019. Retrieved 1 October 2020, from https://newsroom.mastercard.com/wp-content/uploads/2019/09/GDCI-Global-Report-FINAL-1.pdf.

Steven, P. (2008). Destination Marketing: anintegrated marketing communication napproach. Burlington, MA.: Butterworth-Heinmann.

Tourism Western Australia. (2008). 5A’s of Tourism. Retrieved 1 October 2020, from https://www.academia.edu/9370582/5_As_of_Tourism_Development_Nov08