ปัจจัยการบริหารองค์กรที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท เอสซีจี แกรนด์ จำกัด

Main Article Content

ภารดา สวัสดิ์กรรณ
ชาญเดช เจริญวิริยะกุล
วิชิต สุรดินทร์กูร
กฤษณา ฟองธนกิจ
เสาวภาคย์ กระจ่างยุทธ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยการบริหารองค์กรและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท เอสซีจี แกรนด์ จำกัด 2) เปรียบเทียบประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานกับปัจจัยส่วนบุคคลของพนักงานบริษัท เอสซีจี แกรนด์ จำกัด และ 3) ศึกษาปัจจัยการบริหารองค์กรที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท เอสซีจี แกรนด์ จำกัด ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลกับพนักงานบริษัท เอสซีจี แกรนด์ จำกัด จำนวน 290 คน สถิติได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t- test, F-test และการวิเคราะห์ถดถอยพหุ ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยการบริหารองค์กรทั้งภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงอันดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ลักษณะทางสังคม มาเป็นอันดับแรก รองลงมาคือการติดต่อสื่อสารกับด้านผลตอบที่ได้จาการทำงาน ด้านการนิเทศงาน ด้านเพื่อนร่วมงานและการดำเนินการภายใน ด้านความมั่นคงในงาน ด้านค่าจ้าง ด้านลักษณะงาน ด้านสภาพการทำงาน และด้านความก้าวหน้าในงาน ตามลำดับ ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ทั้งภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านคุณภาพของงาน มาเป็นอันดับแรก รองลงมาคือด้านปริมาณงาน ด้านเวลา ด้านค่าใช้จ่าย และด้านวิธีการ ตามลำดับ 2) พนักงานที่มีระยะเวลาต่างกัน มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานแตกต่างกัน ส่วนพนักงานที่มีอายุ ระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยเฉลี่ยต่างกัน ไม่แตกต่างกัน และ 3) ปัจจัยการบริหารองค์กรได้แก่ ด้านลักษณะงานที่ทำงาน ด้านนิเทศงาน ด้านความมั่นคงในงาน ด้านเพื่อนร่วมงานและการดำเนินการภายใน ด้านสภาพการทำงาน ด้านความก้าวหน้าในการทำงาน ด้านลักษณะทางสังคม ด้านการติดต่อสื่อสารส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานและสามารถทำนายประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานได้ร้อยละ 79.96

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จินดาลักษณ์ วัฒนสินธุ์. (2556). ปัจจัยด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง กิจกรรมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และความพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงที่มีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานของบุคลากรในมหาวิทยาลัยในการกำกับของรัฐในประเทศไทย (วิทยานิพนธ์). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

คฑาวุธ พรหมาย. (2555). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจกองตรวจเข้าเมือง: ศึกษาเฉพาะกรณีข้าราชการตำรวจฝ่าย 1 ฝ่าย 2 (วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ณัฐวัตร เป็งวันปลูก. (2560). ปัจจัยจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของข้าราชการทหารประจำสังกัดกองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 7 (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

ธงชัย สันติวงษ์. (2550). การบริหารงานบุคคล. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

ทินพันธุ์ จงธนะภูมิพัฒนา. (2560). ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร ฝ่ายส่งเสริมการตลาดและพัฒนาธุรกิจสำนักบริหารการตลาดและการขาย องค์การค้าของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาเกริก.

บริษัท เอสซีจี แกรนด์ จำกัด. (2563). เกี่ยวกับบริษัท. ค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธุ์ 2564,จาก https://www.scggrand.com/

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2550). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.

สุภาวดี สินสายออ. (2560). ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเทศบาลตำบล

ท่าช้าง อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

Gilmer, V. B. (1971). Industrial Psychology. New York: McGraw-Hill Book.

Peterson, E. & Plowman, E. G. (1989). Business Organization and Management. Illinois: Irwin.

Yamane, T. (1967). Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harper and Row.