ความตระหนักต่อปัญหาน้ำเสียจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของเกษตรกร ในพื้นที่ตำบลหนองตีนนก อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา

Main Article Content

ศิฐิมา เจริญสุข

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพการดำเนินงานการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 2) ระดับความตระหนักต่อปัญหาน้ำเสีย และ 3) แนวทางในการป้องกันปัญหาน้ำเสียจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์ผู้นำชุมชนและเกษตรกร จำนวน 15 คน และเก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามกับเกษตรกรกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 277 คน จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์ประมวลผล สรุปผลวิจัยที่สำคัญดังนี้ ผลการศึกษาพบว่า 1) การดำเนินงานการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำส่วนใหญ่เกษตรกรเลี้ยงกุ้ง โดยเฉลี่ยแต่ละครัวเรือนมีบ่อเลี้ยงกุ้ง 4 บ่อ เกษตรกรใช้น้ำจากลำคลองสาธารณะ สภาพน้ำที่เกิดจากการเพาะเลี้ยงมีความแตกต่างกันเช่น มีสีเขียวเข้มใสไม่มีกลิ่นเหม็น มีสีเขียวเข้มขุ่นมีกลิ่นเหม็น น้ำใสไม่มีกลิ่นเหม็น น้ำขุ่นไม่มีกลิ่นเหม็น และน้ำขุ่นมีกลิ่นเหม็น 2) ระดับความตระหนักต่อปัญหาน้ำเสียจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ พบว่าในภาพรวมมีความตระหนักอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}=4.52), (SD=0.488) 3) แนวทางในป้องกันปัญหาน้ำเสียจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของเกษตรกร พบว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความรู้ความเข้าใจถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการปล่อยน้ำเสียลงคลองอย่างต่อเนื่องจัดกิจกรรมให้แก่เกษตรกรได้มีส่วนร่วมในการรณรงค์ช่วยกันทำบ่อพักน้ำ เก็บกักน้ำจากบ่อเพาะเลี้ยงให้คืนสภาพก่อนที่จะปล่อยสู่คลอง อีกทั้งให้ช่วยกันดูแลความสะอาดในลำคลอง จัดหากังหันสำหรับเติมอากาศระหว่างประตูระบายน้ำ จัดประกวดบ้านตัวอย่างของการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ตระหนักถึงสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เป็นต้นแบบในการดำเนินงานและให้รางวัลเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้กับเกษตรกรตัวอย่าง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการเกษตร กรมประมง. (2556). สถิติการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ. ค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 24563, จากwww.sittogroup.com

ชวนพิศ สิทธิมังค์. (2546). การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ. วารสารสัตว์น้ำ, 14(168),12-26.

ธีรวัธน์ วุนาพันธ์. (2545). ความตระหนักของประชาชนต่อการอนุรักษ์ลำคลองเบตง: ศึกษากรณีประชาชนในเขตเทศบาลตำบลเบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

นิวัติ เรืองพานิช. (2546). นิเวศวิทยา ทรัพยากรธรรมชาติ. ค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2563,จากhttps://library.mwit.ac.th/book/9786162782350/

บริษัท ซิตโต้. (ประเทศไทย) จำกัด. (2559). งานสานสัมพันธ์ผู้เลี้ยงกุ้งคุณภาพชุมพร ครั้งที่ 5. ค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2563, จาก https://www.sittogroup.com/newsroom/760/

สำนักงานจังหวัดฉะเชิงเทรา. (2559). ประวัติจังหวัดฉะเชิงเทรา. ค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2563, จาก http://www.chachoengsao.go.th/ccoprovince/index.php/2016-02-15-05-52-31/2016-02-15-07-02-14/2016-05-30-04-16-17

สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดฉะเชิงเทรา. (2563). ข้อมูลทั่วไปจังหวัดฉะเชิงเทรา. ค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2563, จาก http://www.chacheongsaolocal.go.th/content/generalinformation

องค์การบริการส่วนตำบลหนองตีนนก, (อบต.หนองตีนนก). (2563). ข้อมูลพื้นฐานประวัติและตราสัญลักษณ์. ค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2563, จาก http://nhongteennok.go.th

Breckler, R.L. (1986). The Social Work Dictation. ( 3rd.). WasHiton DC.: Nasw Press.

Good, C.V. (1973). Dictionary of Education. New York : McGraw-Hill.