บทบาทของรัฐในการส่งเสริมความพร้อมของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม (SMEs) กลุ่มธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม พ.ศ. 2540-2563

Main Article Content

เบญจรงค์ สวัสดิ์พาณิชย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบทบาทของภาครัฐในการส่งเสริมผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมกลุ่มธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม พ.ศ. 2540-2563 2) เพื่อศึกษาอุปสรรคและปัญหาในการดำเนินธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมกลุ่มธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม พ.ศ. 2540-2563
3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองการปกครองไทยกับความพร้อมของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมกลุ่มธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาทางสังคม และเศรษฐกิจของประเทศ
พ.ศ. 2540-2563 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการวิจัยเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์แบบอุปนัย และการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า 1) บทบาทของภาครัฐในการพัฒนาและส่งเสริมผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) กลุ่มธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม พ.ศ. 2540-2563 เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องทุกยุคสมัย แต่ยังไม่เป็นรูปธรรมและเป็นบทบาทในเชิงรับเท่านั้น 2) อุปสรรคและปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นกับวิสาหกิจกลุ่มธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มไทยเสมอมา คือ วิสาหกิจส่วนใหญ่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ ปัญหาการพัฒนานวัตกรรมสินค้าและบริการ ความไม่แน่นอนของเทคโนโลยีเครื่องจักร และความปลอดภัยของอาหาร เป็นต้น 3) เสถียรภาพทางการเมืองการปกครองไทยจะมีความสัมพันธ์โดยตรงกับวิสาหกิจกลุ่มธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มที่เป็นไปในลักษณะการเชื่อมโยงระหว่างภาครัฐกับภาคธุรกิจยังมีความเข้มแข็งไม่เพียงพอ กล่าวคือ หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนไม่สามารถดำเนินงานร่วมกันได้อย่างเต็มศักยภาพ

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ทิบดี ทัฬหกรณ์ และธีรวัฒน์ จันทึก. (2560). การสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ในยุคไทยแลนด์ 4.0. RMUTT Global Business and Economics Review, 12(2), 106-122.

ธงพล พรหมสาขา ณ สกลนคร และอุทิศ สังขรัตน์.(2556).แนวทางการพัฒนาการดาเนินงานของวิสาหกิจชุมชนในเขตลุ่มทะเลสาบสงขลา (รายงานวิจัย). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ภัสนันท์ พ่วงเถื่อน. (2561). จุดจบหรือการกลายร่างของการจัดการภาครัฐแนวใหม่: บทสำรวจภาครัฐไทยวารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย, 10(2), 73-106.

มนตรี โสคติยานุรักษ์. (2550). การศึกษาศักยภาพการแข่งขันของรัฐวิสาหกิจไทยทั่วประเทศ. กรุงเทพมหานคร: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ศักดิ์ดา ศิริภัทรโสภณ. (2559). ศักยภาพในการแข่งขันและความพร้อมของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทยในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. วารสาร สมาคมนักวิจัย,21(1), 9-33.

ศุภริน เจริญพานิช. (2562). อุตสาหกรรมอาหาร SMEs: From farm to table. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม.

สมพงษ์ เกศานุช และคณะ. (2560). การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่: ทิศทางการกำหนดกระบวนทัศน์ในการบริหารจัดการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย วิทยาลเขตหนองคาย. ธรรมทรรศน์, 17(2), 173-185.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า. (2563). วิสาหกิจชุมชนกับการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากยุคโควิด 19. กรุงเทพฯ: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า.

สำนักงานฝ่ายนโยบายและแผนส่งเสริม SMEs. (2559). แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานฝ่ายนโยบายและแผนส่งเสริม SMEs.

สุชาติ อำนาจวิภาวี และคณะ. (2563). นโยบายของภาครัฐในการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้เกิดความยั่งยืน. วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ,8(3), 56-66.

สุเนตรา เล็กอุทัย. (2553). ความสำคัญของอุตสาหกรรมอาหารต่อระบบเศรษฐกิจไทย. TRF Policy Brief, 1(9), 1-8.

เสาวณี จันทะพงษ์ และขวัญรวี ยงต้นสกุล. (2559). นวัตกรรม:ทางออกจากกับดักรายได้ปานกลาง. กรุงเทพฯ: ธนาคารแห่งประเทศไทย.

Hood, C. (1991). A public management for all season?. Public Administration, 69(1), 3-19.

Porter, M. E. (1998). The Competitive advantage of nations. UK: Palgrave Macmillan.