การดำเนินนโยบายการค้าระหว่างราชอาณาจักรไทยและ ราชอาณาจักรกัมพูชา ภายใต้รัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557-2564

Main Article Content

ภาณุเกียรติ์ ไชยอุตร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) แนวทางการดำเนินนโยบายการค้าระหว่างราชอาณาจักรไทยและราชอาณาจักรกัมพูชา ภายใต้รัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557-2564 2) รูปแบบยุทธศาสตร์และวิธีการดำเนินนโยบายยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางการค้าระหว่างราชอาณาจักรไทยและราชอาณาจักรกัมพูชา ภายใต้รัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา และ 3) ปัญหาและอุปสรรคของการดำเนินนโยบายการค้าระหว่างราชอาณาจักรไทยและราชอาณาจักรกัมพูชา ภายใต้รัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่มีผลกระทบต่อการกำหนดแนวนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และความร่วมมือด้านการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของรัฐบาลไทยกับรัฐบาลกัมพูชา ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการเก็บข้อมูลจากการวิจัยเชิงเอกสาร และการสัมภาษณ์เจาะลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 ท่าน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ประกอบด้วย (1) เจ้าหน้าที่รัฐ จำนวน 4 ท่าน (2) นักการทูต จำนวน 1 ท่าน และ (3) ภาคเอกชน จำนวน 4 ท่าน โดยนำเอาแนวคิดนโยบายแห่งรัฐ แนวคิดและทฤษฎีโลกาภิวัตน์เสรีนิยมใหม่ แนวคิดและทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศ และแนวคิดผลประโยชน์แห่งชาติเป็นกรอบในการวิจัย


ผลการวิจัยพบว่า แม้ว่าราชอาณาจักรไทยและราชอาณาจักรกัมพูชาจะมีประเด็นข้อพิพาทในเรื่องของพื้นที่ทับซ้อน หรือความขัดแย้งกรณีเขาพระวิหารก็มิได้ส่งผลต่อการกำหนดยุทธศาสตร์การค้าของทั้งสองประเทศแต่อย่างใด รวมทั้งระบอบการเมืองที่ไม่เป็นประชาธิปไตย (เสรีนิยม) นั้น ก็มิได้ส่งผลต่อการดำเนินนโยบายการค้าระหว่างประเทศ เนื่องจากนโยบายการค้าระหว่างประเทศนั้นได้ถูกกำหนดโดยแนวคิดผลประโยชน์แห่งชาติโดยการเปิดการค้าเสรี อันจะก่อให้เกิดผลประโยชน์แห่งชาติมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณะกรรมาธิการการพาณิชย์และทรัพย์สินทางปัญญา. (2561). เขตการค้าเสรีอาเซียน: ผลกระทบต่อไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

ธนาคารกรุงเทพ. (2559). กัมพูชา โอกาสทางการค้าและการลงทุนที่ต้องรีบคว้า. ค้นเมื่อ 7 ธันวาคม 2563, จาก https://www.bangkokbank.com/th-TH/Business-Banking/Tips-and-Insights/Overseas-Trade-and-Investment-Advisory/Cambodia-is-emerging-as-a-key-destination

ปิยะศิริ เรืองศรีมั่น.(2559). ไทยในเศรษฐกิจโลก. นนทบุรี: สำนักพิมมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วิษณุ เครืองาม. (2523). กฎหมายรัฐธรรมนูญ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: นิติบรรณการ.

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2556). นโยบายการค้าระหว่างประเทศกับการเพิ่มขีดความสามารถภาคอุตสาหกรรมไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). การค้าชายแดนและการค้าผ่านแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน ปี 2563. กรุงเทพฯ: กองยุทธศาสตร์และการวางแผนพัฒนาพื้นที่.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). การค้าชายแดนและการค้าผ่านแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน ปี 2561. กรุงเทพฯ: สำนักยุทธศาสตร์และการวางแผนพัฒนาพื้นที่.

ศูนย์ข้อมูลข่าวสารอาเซียน กรมประชาสัมพันธ์. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกัมพูชา. ค้นเมื่อ 7 ธันวาคม 2563, จาก http://www.aseanthai.net/ewt_news.php?nid=3847&filename=index

Morgenthau, H. J. (2005). Politics Among Nations: The Struggle for Power and Peace (7th ed.).

New York: Alfred A. Knopf.

Harvey, D. (2007). A brief history of neoliberalism. England: Oxford University Press.