ความรู้ความเข้าใจ การรับรู้ประโยชน์ และการจัดการการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยี และโมเดลธุรกิจแบบใหม่ (Digital Disruption) ให้ธุรกิจมีประสิทธิภาพ

Main Article Content

ชุติมา เชยชุ่ม
ชาญเดช เจริญวิริยะกุล
อัครมณี สมใจ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษา 1) ระดับความรู้ความเข้าใจ การรับรู้ประโยชน์ และการจัดการการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยี และโมเดลธุรกิจแบบใหม่ (Digital Disruption) ให้ธุรกิจมีประสิทธิภาพ และ 2) ความสัมพันธ์ ความรู้ความเข้าใจ การรับรู้ประโยชน์ และการจัดการการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยี และโมเดลธุรกิจแบบใหม่ ให้ธุรกิจมีประสิทธิภาพ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนที่อาศัยในกรุงเทพมหานคร อายุระหว่าง 18-65 ปี และสามารถสื่อสารได้เข้าใจ จำนวน 312 คน สุ่มตัวอย่างด้วยตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับและแบบสำรวจรายการ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาในข้อมูลส่วนบุคคล ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานหาความสัมพันธ์ของข้อมูล สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับความรู้ความเข้าใจ การรับรู้ประโยชน์ และการจัดการการใช้เทคโนโลยี และโมเดลธุรกิจแบบใหม่ให้ธุรกิจมีประสิทธิภาพ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ความเข้าใจ การรับรู้ประโยชน์ และการจัดการการใช้เทคโนโลยี และโมเดลธุรกิจแบบใหม่ ให้ธุรกิจมีประสิทธิภาพ พบว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

โกศล จิตวิรัตน์. (2561). โมเดลการปรับตัวขององค์การธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการทำลายล้างของเทคโนโลยีดิจิทัลในศตวรรษที่ 21. วารสารสมาคมนักวิจัย, 23(2), 74-88.

กรุงเทพธุรกิจ. (2563). การ์ทเนอร์ ชี้ 10 แนวโน้มเทคโนโลยีปี 2020. ค้นเมื่อ 1 เมษายน 2564, จากhttps://www.bangkokbiznews.com/news/detail/853757

ชมพูนุช สุวรรณบุบผา. (2556). การใช้แนวคิดดีสรัปชั่น (Disruption) กับการรายงานข่าวของรายการข่าวสามมิติ ทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3. ค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2564, จากhttp://203.131.210.100/ejournal/ wp-content/uploads/2013/03/JCIS-5513.pdf

นนทวัฒน์ พุ่มชูศรี. (2562). “ เอไอ” ไม่ใช่ภัยคุกคาม. ค้นเมื่อ 1 เมษายน 2564, จากhttps://www.bangkok biznews.com/news/detail/856081

ถนัด แก้วเจริญไพศาล บุญอนันต์ พินัยทรัพย์และสมศักดิ์ ดำริชอบ. (2562). ความจำเป็นการพัฒนานักบริหาร ดิจิทัลเพื่อรองรับนโยบายประเทศไทย 4.0. วารสารการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน, 26(1), 145-169.

วิเชียร พันธ์เครือบุตร. (2562). การปรับรื้ออุดมศึกษาไทย. วารสารสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 25(1), 94-113.

ศิริวัฒน์ วงศ์จารุกร. (2562). เขย่าโครงสร้าง สร้างสมดุล. ค้นเมื่อ 1 เมษายน 2564, จากhttps://www.bangkok biznews.com/news/detail/856081

สุภัทรศักดิ์ คำสามารถ ศิรินทิพย์ กุลจิตรตรีและโกวิท จันทะปาละ. (2563). แนวทางการบริหารการศึกษาในยุคดิจิทัลดิสรัปชั่น. Journal of Modern Learning Development, 5(3), 245-59.

สำนักงานข้าราชการพลเรือน. (2560). ทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐเพื่อการปรับเปลี่ยนภาครัฐเป็นรัฐบาลดิจิทัล. ค้นเมื่อ 1 เมษายน 2564, จาก https://www.ocsc.go.th/sites/default/ files/attachment/circular/w6-2561-attachment_0.pdf

สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. (2564). สถิติประชากรและบ้าน. ค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2564, จาก https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statyear/#/TableTemplate/Area/statpop

สันติธาร เสถียรไทย. (2563). ดิสรัปชัน คือเสียงที่เราไม่ได้ยิน. ค้นเมื่อ 1เมษายน 2564, จากhttps://thestandard.co/disruption-sounds-that-we-cant-hear/

สรกล อดุลยานนท์. (2562). 6 วิธีรับมือการเปลี่ยนแปลง เมื่อโลกเปลี่ยนไปในยุค Technology Disruption. ค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2564, จาก http://www.impressionconsult.com/i/6-%9B/

อริญญา เถลิงศรี. (2563). 5 ความท้าทาย 5 วิธีรับมือ “เอสเอ็มอี” ต้องรู้ในยุคธุรกิจทำลายล้าง. ค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2564, จาก http://www.bizpromptinfo.com/

PeerPower Team. (2562). Digital Disruption การเปลี่ยนแปลงและการปรับตัว. ค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2564, จาก https://www.peerpower.co.th/blog/investor/analysis/digital-disruption/

Ribble, M. (2019). Digital Citizenship. Retrieved 31 March 2021, from http://www.digitalciti zenship.net/nine-elements.html