บทบาทของผู้นำทหารในอนาคตเพื่อสร้างองค์กรแห่งความสุข ของกองบัญชาการช่วยรบที่ 1 อำเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี

Main Article Content

วีระยุทธ สมหมาย
ชยุต ภวภานันท์กุล

บทคัดย่อ

ผู้นำทหารของกองทัพบกไทยถูกถ่ายทอดมาจากคู่มือราชการสนาม ADP 6-22 ของกองทัพบกสหรัฐอเมริกา กองทัพบกไทยได้นำคู่มือดังกล่าวมาปรับใช้ให้สอดคล้องกับบทบาทหน้าที่ของผู้นำทหาร
ภายในประเทศ กองบัญชาการช่วยรบที่ 1 เป็นหน่วยงานหนึ่งในสังกัดกองทัพบก ที่ผู้นำยังใช้บทบาทในการสั่งการมากกว่าการแสดงความเมตตา การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบทบาทของผู้นำทหารในอนาคตที่จะสร้างองค์กรแห่งความสุขของกองบัญชาการช่วยรบที่ 1 อำเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี 2) สร้างรูปแบบของผู้นำทหารในอนาคตของกองบัญชาการช่วยรบที่ 1 อำเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี ให้มีแนวโน้มที่เป็นไปได้ในอนาคตในการศึกษาบทบาทผู้นำทหารในอนาคตที่จะสร้างองค์กรแห่งความสุข และสร้างรูปแบบของผู้นำทหารในอนาคต กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่ม ผู้บังคับบัญชาระดับวางนโยบายกลุ่ม ระดับนำนโยบายมาปฏิบัติ และกลุ่มผู้บังคับบัญชาที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามนโยบายและได้รับผลกระทบจากนโยบาย รวมทั้งสิ้น 17 คน คัดเลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ โดยการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจงดำเนินการวิจัยตามเกณฑ์เทคนิคเดลฟายของ Tomas, T. Macmillan ระดับความคลาดเคลื่อนที่ 0.04 เก็บรวบรวมข้อมูลจำนวน 3 รอบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ
เชิงพรรณนา


ผลการวิจัย พบว่า ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 3 กลุ่ม มีความคิดเห็นสอดคล้องเป็นฉันทามติ ผลที่ได้จะนำไปสร้างรูปแบบผู้นำทหารในอนาคตที่จะสร้างองค์กรแห่งความสุขของกองบัญชาการช่วยรบที่ 1 อำเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี เพื่อนำไปวางแผนปรับโครงสร้างองค์กรต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรวรรณ ปัญญาพูล และธนัช กนกเทศ. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุขเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในเครือข่ายบริการปฐมภูมิ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. การประชุมสัมมนาวิชาการ ราชภัฏนครสวรรค์วิจัย ครั้งที่ 1. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

กองยุทธศาสตร์บริหารจัดการ กรุงเทพมหานคร. (2562). แผนปฏิบัติราชการกรุงเทพมหานคร ประจำปี

พ.ศ. 2562. ค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2563, จาก https://webportal.bangkok.go.th/upload/user/ 00000130/planing/BMAPLAN/BMAplan62.pdf

วิไล ชัยสมภาร และเทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์. (2559). ผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติราชการของพนักงานเทศบาลในจังหวัดลำพูน. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 14(1), 153-168.

ศุภชัย ยาวะประภาษ และปิยากรณ์ หวังมหาพร. (2552). นโยบายสาธารณะไทย: กำเนิด พัฒนาการและสถานภาพของศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: จุดทอง.

สำนักนายกรัฐมนตรี. (2562). แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (20) ประเด็นการบริการประชาชน และประสิทธิภาพภาครัฐ พ.ศ. 2561 – 2580. ค้นเมื่อ 21 สิงหาคม 2563, จาก http://nscr.nesdb.go.th/wp-content/uploads/2019/04/20.pdf

สุรีย์พร น้อยมณ. (2560). ปัจจัยที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วน ตำบลคลองจินดา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจ

มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Dye, T. R. (1978). Understanding Public Policy. (3rd ed.). Engle wood Cliffs: Prentice-Hall.

Easton, D. (1971). The Political System: An Inquiry in to the State of Political. (2nd ed.). New York: Alfred A. Knopf.

Lasswell, H. & Kaplan, A. (1970). Power and Society. New Haven: Yale University Press. N.J.:Prentice Hall.

Sharkansky, I. (1970). Policy Analysis in Political Science. Chicago: Markham.