การเพิ่มขีดความสามารถ และการบำรุงรักษาทรัพยากรบุคคลภาคธุรกิจเรือประมง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. ระดับการเพิ่มขีดความสามารถ และ 2. ระดับการบำรุงรักษาทรัพยากรบุคคล กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ พนักงานภาคธุรกิจเรือประมงท่าขึ้นปลาของการทำประมงพาณิชย์ ปี 2561 เขตประมง เขต 1-5 จำนวน 22 จังหวัด จำนวน 372 รายใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณเครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามพรรณนา โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (descriptive analysis) วิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า การเพิ่มขีดความสามารถของพนักงานภาคธุรกิจเรือประมง ด้านความรู้ที่เกี่ยวข้องภาคธุรกิจเรือประมง (= 3.66, S.D. = 0.422) ด้านทักษะเกี่ยวข้องภาคธุรกิจเรือประมง (= 3.68, S.D. = 0.043) ด้านบทบาทที่แสดงออกต่อสังคม (Social Role) (= 3.74,S.D. = 0.602) และ 2. การบำรุงรักษาทรัพยากรบุคคลของพนักงานภาคธุรกิจเรือประมง พบว่า ด้านองค์การให้คุณค่าความสำคัญพนักงาน ( = 3.22 , S.D. = 0.681) ด้านแผนพัฒนาความก้าวหน้าในงานอาชีพของพนักงานมีศักยภาพสูง ( = 2.14, S.D. = 0.242) ด้านการปลูกฝังทัศนคติต่อเนื่อง สร้างขวัญกำลังใจให้พนักงาน ( = 2.71 S.D. = 0.342) และด้านการจูงใจทุ่มเทกำลังกายและกำลังใจทำงานเต็มความสามารถ ( = 2.64 S.D. = 0.184)
Article Details
References
จรีพร จารุกรสกุล. (2562). เศรษฐกิจการประมง. คืนเมื่อ 1 มีนาคม 2564, จาก https://www.wha-group.com/th/news-media/company-news/
ชนินทร์ สัจจชญาพันธ์. (2563). การพัฒนาขีดความสามารถของอุตสาหกรรมพนักงานในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดจังหวัดระยอง. วารสารบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม, 2(2), 29-39.
ชาณินณัฐ สัจจพันธ์, เกศสุดา เพชรดี, ชัยนาจ ปั้นสันเทีย. (2562). การศึกษาแรงจูงใจในการพัฒนาขีดความสามารถของพนักงานในอุตสาหกรรมพลาสติกและพอลิเมอร์ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดจังหวัดระยอง. วารสารบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม, 1(1), 62-73.
ประคัลภ์ บัณฑพลังกูร. (2550). การว่าจ้างรักษาบุคลากร. กรุงเทพฯ: เอ็กซ์เปอร์เน็ท.
วันเพ็ญ เพ็ชรัตน์, พรรัตน์ แสดงหาญ, อธิพล เครือปอง. (2556). การธํารงรักษาและการคงอยู่ของคนเก่งในนิคมอุตสาหกรรมแห่งหนึ่ง จังหวัดชลบุรี. วารสารการจัดการ, 2(2), 59 – 70.
วาสิตา ฤทธิ์บำรุง. (2548). การบริหารจัดการคนเก่งเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันขององค์การ (สารนิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. การประมง. ค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/การประมง
ศิรภัสสรศ์ วงศ์ทองดี. (2559). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (พิมพ์ครั้งที่ 3) ฉบับปรับปรุง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมิต สัชฌุกร. (2007). การบำรุงรักษาพนักงานภาคธุรกิจเรือประมง. ค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2563, จากhttps://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?bookID=348&pageid=2&read=true&count=true
สุภาวดี ขุนทองจันทร์. (2559). การบริหารทรัพยากรมนุษยอยางบูรณาการ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
อาภรณ์ ภู่วิทยาพันธุ์. (2550). กลยุทธ์การบริหารและพัฒนาพนักงานดาวเด่น. กรุงเทพฯ: เอช อาร์ เซ็นเตอร์.
Brightside. (2020). 5 องค์ประกอบ เพิ่มขีดความสามารถ L&D ด้วย Superlearning. ค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2564, จาก https://www.brightsidepeople.com/3342-2/
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.
Michaels, E. J. (2001). The War for Talent. United States of America: McKinsey & Company. Inc.
DDproperty. (2563). EEC คืออะไรและเปลี่ยนวงการอสังหาริมทรัพย์อย่างไร. ค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2564, จากhttps://www.ddproperty.com/A2/EEC-8C-15168