การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ข้าวเหนียวโพนงาม ตำบลโพนงาม อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

วสุธา อุยพิตัง

บทคัดย่อ

งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนาบรรจุภัณฑ์ข้าวเหนียวโพนงาม (2) เพื่อประเมินความคิดเห็นต่อรูปแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ของข้าวเหนียวโพนงามของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มส่งเสริมแปลงใหญ่ ราชินีข้าวเหนียวตำบลโพนงาม อำเภอหนองหาร จังหวัดอุดรธานี เป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ (Mixed Methods) มีเครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินผล โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้วิจัยในครั้งนี้คือ (1) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจำนวน 10 คน เก็บข้อมูลโดยการสนทนาแบบกลุ่ม (Focus Group Discussion) (2) ผู้เชี่ยวชาญและตัวแทนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มส่งเสริมแปลงใหญ่ราชินีข้าวเหนียวตำบลโพนงามจำนวน 10 คน โดยการใช้แบบประเมินในการเก็บข้อมูล (3) กลุ่มผู้บริโภคจำนวน 100 คน ได้มาจากการสุ่มโดยบังเอิญผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าโดยการใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)


ผลการวิจัยพบว่า (1) ความต้องการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มส่งเสริมแปลงใหญ่ราชินีข้าวเหนียวตำบลโพนงามเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ข้าวคือข้อมูลสินค้าต้องครบถ้วน มีความชัดเจนที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของกลุ่ม(โลโก้) มีข้อมูลการติดต่อ มีช่องทางในการจัดจำหน่าย บรรจุภัณฑ์ที่สวยงามที่ทำให้เกิดความน่าสนใจ มีขนาดกะทัดรัดสามารถถือหิ้วได้ (2) บรรจุภัณฑ์ข้าวเหนียวของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มส่งเสริมแปลงใหญ่ราชินีข้าวเหนียวตำบลโพนงาม อำเภอหนองหาร จังหวัดอุดรธานีในแบบที่ 3 โดยประเมินจากผู้เชี่ยวชาญและตัวแทนกลุ่มมีผลการประเมินสูงที่สุดอยู่ในเกณฑ์คุณภาพดี ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.48 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 0.51จึงเลือกมาเพื่อใช้กับสินค้าจริงและ (3) การทดสอบตลาดของผู้บริโภคเกี่ยวกับความคิดเห็นต่อบรรจุภัณฑ์ข้าวของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มส่งเสริมแปลงใหญ่ราชินีข้าวเหนียว ตำบลโพนงาม อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานีการประเมินของผู้บริโภคมีความคิดเห็นอยู่ในความเหมาะสมระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.50 และ ค่าเบนเบี่ยงมาตรฐานอยู่ที่ 0.48

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชัยรัตน์ อัศวางกูร. (2548). ออกแบบให้โดนใจ. กรุงเทพฯ: ฮั่วซิน.

ประชิด ทิณบุตร. (2555). ความสำคัญของการบรรจุภัณฑ์. สืบค้น 25 กุมภาพันธ์ 2565, จาก http://creativekanchanaburi.blogspot.com/2012/06/blog-post.html

ปุ่น คงเจริญเกียรติ และสมพร คงเจริญเกียรติ. (2542). บรรจุภัณฑ์อาหาร.กรุงเทพฯ: แพคเมทส์.

วัฒน์ พลอยศรี. (2562). การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ปลาตากแห้ง กลุ่มแม่บ้านตำบลท่าไร่ จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์,14(3), 245-254.

สิริพรรณ ดาราพงษ์ และทักษญา สง่าโยธิน (2559). แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ระกาผงกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเสม็ดโพธิ์ศรี จังหวัดจันทบุรี. สืบค้น 10 มีนาคม 2565, จาก http://www.ex- mba.buu.ac.th/ACADEMIC/Poster2015/poster003.pdf

สุภาวดี พนัสอำพน และศรีสุดา ลีลาสุวัฒน์. (2552). การพัฒนาบรรจุภัณฑ์สินค้าทางการเกษตรเพื่อการท่องเที่ยวจังหวัดนครปฐม. นครปฐม: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

ศรัฐ สิมศิริและคณะ. (2560). ปัจจัยด้านรูปแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อกรณีศึกษา: เขื่อนรัชชประภา อุทยานแห่งชาติเขาสก จังหวัดสุราษฏร์ธานี. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์,12(1),137-147.

Best, J. W. (1977). Research in Education. (3rd ed.). New Jersey: Prentice Hall, Inc.

Jam&Co Design. (2017). 7 step packaging design process. Retrieved May 16, 2022, From http://jamandco.com.au/7-step-packaging-design-process

Nicole, R. (2016). 4 Reasons Why Product Packaging Is Important. Retrieved May 20, 2022, From https://retailminded.com/4-reasons-why-product-packaging-is-important