การดำเนินนโยบายจำนำข้าวของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปี พ.ศ. 2555-2556

Main Article Content

มาโนช เพชรชู
เกรียงชัย ปึงประวัติ
สุรพล ราชภัณฑรารักษ์
นิพนธ์ โซะเฮง

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) นโยบายรับจำนำข้าวในสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ระหว่างปี พ.ศ. 2555-2556 2) กระบวนการดำเนินนโยบายจำนำข้าวไปปฏิบัติ 3) ผลการดำเนินนโยบายจำนำข้าวไปปฏิบัติ ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ จากการศึกษาข้อมูลเอกสาร และการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 12 คน ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้อง 3 คน ผู้ประกอบการโรงสี 4 คน นักวิชาการ 2 คน และผู้นำชาวนา 4 คน ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาเอกสาร ใช้วิธีการวิเคราะห์เอกสารเนื้อหา นำเสนอข้อมูลด้วยวิธีการพรรณนา ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ ใช้วิธีการวิเคราะห์แบบอุปนัย


ผลการวิจัย พบว่า 1) นโยบายจำนำข้าวเป็นนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลที่ได้แถลงและผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาจึงมีความชอบธรรมในกระบวนการนำไปสู่การปฏิบัติ มีเป้าหมายในการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ การสร้างความเป็นธรรมและต้องการยกระดับคุณภาพชีวิตชาวนา 2) ด้านกระบวนการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติในภาพรวมเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่รัฐบาลกำหนด หน่วยงานรับผิดชอบได้แก่ คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงมหาดไทย 3) ผลการนำโยบายไปปฏิบัติเป็นไปตามกรอบนโยบายที่กำหนด ได้แก่ ราคาผลผลิต รายได้ของชาวนา การยกระดับให้เกษตรกรมีต้นทุนการเพาะปลูก สินค้าเกษตรกร เกษตรกรยกระดับคุณภาพที่ดีขึ้น ทำให้เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศขยายเติบโตจากปัจจัยการบริโภคที่สูงขึ้น ขณะที่ปัญหาและอุปสรรค ประกอบด้วย (1) มิติทางการเมือง นำมาสู่ขัดแย้งทางการเมือง อันเนื่องจากความแตกต่างกันในด้านความคิดและความเชื่อในแนวทางการบริหารเศรษฐกิจของกลุ่มนักวิชาการภาคธุรกิจและประชาชนที่มีต่อรัฐบาล (2) มิติด้านการบริหารจัดการโครงการ ได้แก่ การขาดสภาพคล่องด้านงบประมาณ ปัญหาการควบคุมการส่งออกข้าวซึ่งรัฐบาลเข้ามาผูกขาดตลาดข้าวแทนบริษัทเอกชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติ บริสุทธิ์. (2556). ความพึงพอใจต่อการดำเนินนโยบายการรับจำนำข้าวเปลือกของชาวนา (วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

กิติยวดี สีดา และวนาพร พรมเผ่า. (2559). ผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคมจากโครงการรับจำนำข้าวของชาวนาตำบลดงมูลเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์. บทความนำเสนอในการประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ครั้งที่ 2 งานวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น, หน้า 541-547, มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แถลงต่อรัฐสภา วันอังคารที่ 23 สิงหาคม 2554. (2554, สิงหาคม 23). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 128 ตอนที่พิเศษ 94 ง, หน้า 1-52.

ธนพันธ์ ไล่ประกอบทรัพย์. (2564). การพัฒนากระบวนการและเครื่องมือการกำหนดนโยบายสาธารณะของพรรคการเมืองไทย (รายงานวิจัย). สถาบันพระปกเกล้า.

ธันวรัตน์ แจ่มใส. (2558). การศึกษาการวิเคราะห์นโยบายสาธารณะและการนำนโยบายรับจำนำข้าวของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ไปปฏิบัติในจังหวัดสุรินทร์ (ดุษฎีนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

รุ่งทิพย์ ละมุล. (2558). การนำโครงการรับจำนำข้าวเปลือกของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ไปสู่การปฏิบัติ: กรณีศึกษาตำบลนาแค อำเภอเขื่อนคำแก้ว จังหวัดยโสธร (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วัชระ บุญมี. (2539). การเมืองเรื่องข้าว: ศึกษากรณีพรีเมี่ยมข้าว (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สิริปรียา ทองเล็ก. (2556). ความพึงพอใจของเกษตรกรที่มีต่อการเข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวเปลือกของเกษตรกรในเขตอำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

อรรถสิทธิ พานแก้ว และณัชชาภัทร อมรกุล. (2564). โครงการศึกษาและพัฒนาระบบการเงินของพรรคการเมือง (รายงานวิจัย). สถาบันพระปกเกล้า.

Bosch, R. A. (1985). The Economics of Agricultural Subsidies. Retrieved March 10, 2022, from https://edepot.wur.nl/45800

Forssell, S. (2008). Rice Price Policy in Thailand – Policy Making and Recent Developments. (Master Thesis). University of Lund.