บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ (กพศ.) ตามพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547

Main Article Content

ฑีธเนศน์ ฐิติปาละวัจน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ
(กพศ.) ตามพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 และศึกษาปัญหาในกระบวนการดำเนินการทางวินัย ปัญหาในการปฏิบัติไม่เลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีให้แก่พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ ตามมาตรา 37 (2) และ (3) แห่งพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 เรื่อง การใช้และการควบคุมตรวจสอบในงานบริหารบุคคลในการไม่เลื่อนเงินเดือนประจำปีของพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ และเรื่องการดำเนินการทางวินัย เท่านั้น โดยศึกษาแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องและเทียบเคียงกับองค์กรที่มีลักษณะคณะกรรมการใกล้เคียงกับคณะกรรมการที่มีในกรมสอบสวนคดีพิเศษ รวมถึงองค์กรในประเทศ และของต่างประเทศ เพื่อชี้ให้เห็นถึงรูปแบบและลักษณะที่เหมาะสมของโครงสร้างองค์กรสอบสวนคดีพิเศษ ตามพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ


จากการศึกษาพบว่า คณะกรรมการพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ (กพศ.) มีองค์ประกอบของคณะกรรมการส่วนมากเป็นบุคคลภายนอกหน่วยงาน และเป็นองค์คณะที่กฎหมายบัญญัติให้มีหน้าที่ในการพิจารณาก่อนให้ผู้มีอำนาจ ออกคำสั่งทางปกครอง แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากการบัญญัติตามมาตรา37 ไม่ได้ให้อำนาจจึงไม่มีผลเป็นการบังคับให้ผู้บังคับบัญชาจะต้องดำเนินการตามที่คณะกรรมการพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ (กพศ.) มีความเห็น และผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจในการออกคำสั่งทางปกครองก็จะต้องดำเนินการตามมติ อ.ก.พ. สามัญ
ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ซึ่งองค์ประกอบของคณะกรรมการเป็นบุคคลภายในหน่วยงานเป็นส่วนมาก จึงทำให้คณะกรรมการพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ (กพศ.) มิได้มีอำนาจหรือสามารถคุ้มครองพนักงานสอบสวนได้ตามเจตนารมณ์ ดังนั้น จึงควรมีการปรับปรุงกฎหมายในบทบัญญัติดังกล่าว โดยการกำหนดบทบัญญัติทางกฎหมายเพิ่มเติมองค์ประกอบของคณะกรรมการ และเพิ่มอำนาจให้แก่คณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษแทนอำนาจของ อ.ก.พ. สามัญ และแก้ไขบทบัญญัติลดขั้นตอนให้เหมาะสม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมสอบสวนคดีพิเศษ. (2559). ประวัติกรมสอบสวนคดีพิเศษ. ค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2564, จาก https://www.dsi.go.th/th/Detail/History-of-DSI

สถาบันพระปกเกล้า. (2564). บทวิเคราะห์ร่างพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. ....,” ฉบับที่ 5/2564 เพื่อประกอบการพิจารณา (การประชุมร่วมกันของรัฐสภา). กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

สุรพล ไตรเวทย์. (2549). การสอบสวนคดีพิเศษ ตาม พ.ร.บ.การสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

พระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547. (2547). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 121 ตอนที่ 8 ก.

พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547. (2547). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 121 ตอนที่ 18 ก.

พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551. (2551). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 125 ตอนที่ 22 ก.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 75. (2540). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม114 ตอนที่ 55 ก.