การพัฒนาตนเองของบุคลากรการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

Main Article Content

ธรรมวรรธ วงศ์เจริญยศ
ชาญเดช เจริญวิริยะกุล
วราพร ดำรงกูลสมบัติ
ศักดิ์สิทธิ์ พรรัตนศรีกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับการพัฒนาตนเองของบุคลากรการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กลุ่มประชากรคือ บุคลากรการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จำนวน 348 ตัวอย่าง โดยใช้สูตรของทาโร่ยามาเน่ ที่ความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่, ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาตนเองของบุคลากร ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายละเอียดเป็นรายด้าน สามารถเรียงอันดับปัจจัยจากมากไปน้อย ได้แก่ การเรียนรู้ รองลงมาคือด้านการประเมินผล ด้านการกำหนดเป้าหมาย ด้านการ
หาเพื่อน ด้านการหาทรัพยากรที่เหมาะสม ด้านการวินิจฉัยตนเอง และด้านความอดทนและพยายาม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรฎาริน ตั้งสกุล. (2558). ความต้องการพัฒนาตนเองของพนักงานธนาคารเกียรตินาคินจำกัด (มหาชน) ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2563). รายงานประจำปี 2563. กรุงเทพฯ: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

มรกต ลิ้มวัฒนา. (2559). ผลของการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมต่อปฏิกิริยาตอบสนองทางด้านจิตใจผู้ป่วยผ่าตัดกล่องเสียง. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ลัทธิกาล ศรีวรมย์ และณรงศักดิ์ บุญเลิศ. (2558). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: วิสิทธ์พัฒนา.

วินัย เพชรช่วย. (2550). การจูงใจในการทำงาน. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพาณิชย์.

ศิริลักษณ์ เมษสังข์. (2556). ภาวะผู้นำและองค์การ. กรุงเทพฯ: พิมพ์ลักษณ์.

Megginson and Pedler .(1992). Self-development : A Facilitators Guide. Maidenhead, UK: McGraw-Hill.

Yamane, T. (1970). Statistic : an Introductory Analysis. 2nd ed. New York: Harper & Row.