ความพึงพอใจของลูกค้าโครงการบ้านจัดสรรของบริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) ในเขตพื้นที่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

ธนัตย์ดนย์ ต้นพุ่ม
สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์
กนกวรรณ มีสุข

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความพึงพอใจของลูกค้าโครงการบ้านจัดสรรของบริษัทศุภาลัย จำกัด (มหาชน) ในเขตพื้นที่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี และ 2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความพึงพอใจของลูกค้าโครงการบ้านจัดสรรของบริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) ในเขตพื้นที่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี กลุ่มตัวอย่างได้จำนวน 200 คน จากจำนวนประชากรทั้งหมด 428 ครัวเรือน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์สมมติฐานด้วยสถิติอนุมาน ได้แก่ สถิติ t-test และ F-test


ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับความพึงพอใจต่อโครงการบ้านจัดสรรของบริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) ในเขตพื้นที่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านบริการสาธารณูปโภค ด้านทำเลที่ตั้ง ด้านผลิตภัณฑ์ และด้านส่งเสริมการตลาด ด้านราคา ตามลำดับ และ 2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความพึงพอใจของลูกค้าโครงการบ้านจัดสรรของบริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) ในเขตพื้นที่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี พบว่า ลูกค้าที่มีเพศ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนแตกต่างกัน มีความพึงพอใจต่อโครงการบ้านจัดสรรของบริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) ในเขตพื้นที่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และลูกค้าที่มีเหตุผลที่ทำให้เลือกซื้อโครงการบ้านจัดสรร ที่ตั้งและลักษณะของโครงการที่คำนึงถึงการเลือกซื้อ ตัวบ้านและการก่อสร้างที่คำนึงถึงการเลือกซื้อ สิ่งอำนวยความสะดวกภายในโครงการที่คำนึงถึงการเลือกซื้อ การส่งเสริมการขายที่คำนึงถึงการเลือกซื้อ และสื่อโฆษณาของโครงการบ้านจัดสรรที่ทำให้ตัดสินใจเลือกซื้อแตกต่างกัน มีความพึงพอใจต่อโครงการบ้านจัดสรรของบริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลป์ยกร วรกุลลัฎฐานีย์ และพรทิพย์ สัมปัตตะวนิช. (2553). การโฆษณาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

จรรยา กองสุก. (2561). รูปแบบกระบวนการตัดสินใจซื้อบ้านของ ผู้บริโภค กรณีศึกษา: บริษัท บี ซี คอนเนคชั่นจำกัด ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 7(1), 51-67.

ชูชัย สมิทธิไกร. (2554). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม ปี 2564-2566 : ธุรกิจที่อยู่อาศัยต่างจังหวัด (6 จังหวัดหลัก). ค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2564, จาก https://www.krungsri.com/th/research/industry/ industry-outlook/real-estate/housing-in-upcountry/IO/io-Housing-in-Upcountry-21

นวลอนงค์ วิเชียร. (2549). ความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อการให้บริการของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สาขาบางประกง จังหวัดฉะเชิงเทรา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ปณิศา มีจินดา. (2553). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

ราช ศิริวัฒน์. (2560). กระบวนการตัดสินใจซื้อระบบกล้องวงจรปิด. ค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2564, จากhttps://doctemple.wordpress.com

ลิขิตา เฉลิมพลโยธิน. (2561). การวิจัยแบบออกแบบแปลงรูป (The Research transformative design). วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11(2), 2610 – 2622.

วีณา ศรีเจริญ. (2558). ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อบ้านจัดสรรของข้าราชการ และพนักงานรัฐวิสาหกิจในเขตจังหวัดนนทบุรี (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์. (2564). วิเคราะห์ตลาดที่อยู่อาศัยภาคใต้ อุปสงค์ตอบรับที่อยู่อาศัยแนวราบ ชะลอโครงการใหม่ปรับสมดุลตลาด. ค้นเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/32215

Maslow, A. H. (1970). Motivation and Personality. New York: Harper and Row

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd Ed.). New York: Harper and Row Publications.