การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อทักษะการเรียนสำหรับนักศึกษาปริญญาตรีในศตวรรษที่ 21

Main Article Content

กัญญารัตน์ เอี่ยมวันทอง

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่องการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อทักษะการเรียนสำหรับนักศึกษาปริญญาตรีในศตวรรษที่ 21 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ
ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษด้านการฟังและการพูด กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษามหาวิทยาลัยชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจักรพงษภูวนารถ จำนวนนักศึกษา 165 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling)  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ค่าแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน
โดยใช้ t-test การวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนทางเดียว (One – Way ANOVA) และการทดสอบรายคู่โดยใช้ Least-Significant Difference (LSD)  ผลการศึกษา พบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านกิจกรรมเนื้อหาสาระ ด้านบรรยากาศ ด้านประโยชน์ กับความพึงพอใจของนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาอังกฤษเพื่อทักษะ
การเรียนทั้ง 6 ด้าน คือ ด้านเนื้อหาวิชาและหลักสูตร  ด้านผู้สอน ด้านแหล่งเรียนรู้และค้นคว้าข้อมูล ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านกิจกรรมเสริมหลักสูตร ด้านการวัดผลและประเมินผล มีความสัมพันธ์กันในเชิงบวก กล่าวคือ มีความพึงพอใจระดับมาก และเมื่อแยกพิจารณาในรายด้าน พบว่า ด้านเนื้อหาวิชาและหลักสูตรมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านผู้สอน ตามลำดับ ซึ่งเป็นสารสนเทศสำคัญในการนำไปประยุกต์ใช้ประกอบการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษให้มีประสิทธิภาพต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิรารัตน์ ประยูรวงษ์. (2562). DIGITAL LEARNING การเรียนรู้ภาษาอังกฤษบนโลกดิจิทัลในศตวรรษที่ 21. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 13(1), 210-223.

ฐิติกาญจน์ จันทรสมบัติ. (2552). การพัฒนาบทอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้บริบทท้องถิ่นด้านวัฒนธรรม จังหวัดมหาสารคาม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนมหาวิชานุกูล. วารสารการ บริหารและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,1(1), 76-85.

ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประไพ ฉลาดคิด. (2548). หลักการสอน. กรุงเทพฯ: เกษมศรี ซี.พี.

ปรัชญา บินหมัดหนี และอับดุลฆอนี อาบู. (2557). ภาษาอังกฤษบูรณาการอิสลาม: วาระท้าทายเพื่อการพัฒนาทักษะการอ่านของนักเรียนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดน ภาคใต้ของประเทศไทย. วารสาร อัล-ฮิกมะฮ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี, 4(8), 99-110.

พรพงศ์ ศิริสุขเจริญพร. (2560). การพัฒนาการเรียนการสอนผ่านเว็บ วิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในงานอุตสาหกรรม. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 11(26), 24-30.

แพรไหม คำดวง. (2562). การสอนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ สำหรับ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมมหาวิทยาลัยศิลปากร (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สมบัติ คชสิทธิ์ จันทนี อินทรสูต และธนกร สุวรรณพฤฒิ. (2560). การจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษให้กับ ผู้เรียนยุค THAILAND 4.0. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 7(2), 175-186.

อดิศา เตียว และคณะ. (2547). โครงการข้อมูลพื้นฐานเพื่อการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศระดับอุดมศึกษาในภาคใต้. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

อริยา คูหา, สรินฎา ปุติ และฮานานมูฮิบบะตุดดีน นอจิ. (2562). โลกที่เปลี่ยนแปลง การเรียนรู้ที่ผ่านสู่ Active Learning. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 30(2), 1-13.

อารีรักษ์ มีแจ้ง และ สิริพร ปาณาวงษ์. (2553). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูภาษาอังกฤษโดยใช้ปัญหาเป็นฐานสำหรับครูผู้สอนช่วงชั้นที่ 2. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 12(2), 17-3.

อารีรักษ์ มีแจ้ง, ดุษฎี รุ่งรัตนกุล, นันทวัน ชุมตันติ และ อภิชัย รุ่งเรือง. (2554). การวิจัยเพื่อประเมินผลการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาการเรียนการสอน ภาษาอังกฤษในประเทศไทย. วารสาร ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 13(2), 55-72.

Eggen, P. D. & Kauchak, D. P. (2006). Strategies and Models for Teachers: Teaching content and thinking Skills. Boston: Pearson.

Joyce, B. & Weil, M. (1996). Model of teaching. 5th ed. Boston : Allyn and Bacon.

Willis, J. (1996). A Framework for Task-Based Learning. Essex: Longman.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rdEd. New York: Harper and Row. Publications.